X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

6 เรื่องที่ห้ามทำเด็ดขาด ในการเลี้ยงลูกขวบปีแรก

บทความ 3 นาที
6 เรื่องที่ห้ามทำเด็ดขาด ในการเลี้ยงลูกขวบปีแรก

6 เรื่องที่ควรเลี่ยง ในการเลี้ยงลูกขวบปีแรก

เลี้ยงลูกขวบปีแรก พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยง 6 เรื่องนี้

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ อาจจะยังตื่นเต้น สับสน หรืออาจจะยังสงสัยว่าอะไรดีไม่ดี ในการ เลี้ยงลูกขวบปีแรก เราจึงได้รวบรวมสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยง ในการเลี้ยงลูกขวบปีแรกมาฝากครับ

1. ใช้เครื่องนอนมากชิ้นเกินไป

คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่าน มักจะเตรียมข้าวของเครื่องใช้ ของลูกน้อยไว้ตั้งแต่ตอนที่เค้ายังไม่เกิด อีกทั้งยังมีตุ๊กตานุ่มนิ่ม ที่บรรดาเพื่อนๆ หรือญาติๆ ให้มาเพื่อเป็นของขวัญให้หลาน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่าน ก็มักจะวางตุ๊กตานุ่มนิ่มน่ารักเหล่านั้นไว้ที่เตียงนอนของลูก

จริงอยู่ว่าทารกตัวน้อยๆนั้น ยิ่งมีความน่ารักน่าเอ็นดู เมื่อนอนอยู่ท่ามกลางหมอน ผ้าห่ม และตุ๊กตาน่ารักๆ เต็มเปลไปหมด แต่การให้ลูกนอนในสภาพแวดล้อมเช่นนั้น อาจทำให้ลูกเสี่ยงกับภาวะไหลตายในทารก หรือ SIDS ได้

ติดตามอ่าน : โรคไหลตายในทารก ภัยเงียบคร่าชีวิตลูก

2. กังวลเรื่องการพูดของลูกเกินกว่าเหตุ

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนมักจะวิตกกังวลเรื่องที่ว่า ทำไมลูกยังไม่พูดเสียที มิหนำซ้ำ ญาติๆยังชอบถามกันไม่หยุด ว่าลูกของคุณเริ่มพูดหรือยัง

ซึ่งจริงๆแล้ว เด็กทารกจะเริ่มหัดออกเสียงต่าง ๆ จากนั้นจะค่อย ๆ หัดพูดเป็นคำ (อาจพูดคำว่า “พ่อ” หรือ “แม่” ได้ตั้งแต่อายุ 9-10 เดือน) เมื่ออายุครบหนึ่งขวบ เด็กจะเริ่มเลียนแบบเสียงที่เขาได้ยินรอบ ๆ ตัว คุณอาจจะได้ยินลูกเริ่มพูดภาษาของตัวเอง (ที่เด็กหนึ่งขวบคนอื่น ๆ อาจจะเข้าใจ)

หลังจากนั้นก็จะเป็นช่วงที่เด็กเติบโตอย่างรวดเร็ว เด็กจะเริ่มจากพูดคำง่าย ๆ ไม่กี่คำ และพัฒนาขึ้นเป็นการถามคำถาม บอกวิธีการ และเล่าเรื่องที่เขาแต่งขึ้นเอง นี่คือพัฒนาการการพูดของเด็กโดยทั่วไปครับ

เลี้ยงลูกขวบปีแรก

3. ไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากของลูก

Advertisement

การที่ลูกน้อยยังไม่มีฟัน ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเพิกเฉยต่อสุขภาพในช่องปากของลูกได้นะครับ คุณควรหมั่นใช้ผ้าก๊อชชุบน้ำ เช็ดทำความสะอาดเหงือกและลิ้นของลูก และเมื่อฟันซี่แรกของลูกเริ่มโผล่ขึ้นมา ก็ควรใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม แปรงให้ลูกด้วยนะครับ

ติดตามอ่าน : วิธีทำความสะอาดลิ้นลูก แบบง่ายๆ พร้อมวีดีโอสาธิต

4. คาดหวังว่าลูกจะนอนเป็นเวลาในทันที

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ต่างก็คาดหวังที่จะให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทตลอดคืน แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่จะไม่ได้เป็นเช่นนั้น ในขณะที่ทารกบางคน อาจจะมีการนอนสลับเวลา กลางวันหลับ กลางคืนตื่น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องอาศัยความอดทนให้มากๆนะครับ

ติดตามอ่าน : ลูกนอนสลับเวลา กลางวันหลับ กลางคืนตื่น ทำอย่างไรดี

5. ใช้รถเข็นหัดเดิน

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะคิดว่า รถหัดเดินจะช่วยสอนให้ลูกเดินได้เร็วขึ้น คล่องขึ้น แต่ความจริงแล้ว การใช้รถหัดเดินอาจจะมีผลเสีย มากกว่าผลดี เพราะอันตรายที่สุดของรถหัดเดิน คือรถอาจจะพลิกคว่ำ และทำให้ลูกน้อยบาดเจ็บได้

อย่างไรก็ตาม เด็กโดยทั่วไปจะเริ่มเดินในช่วงอายุประมาณ 1 ขวบ อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้ไม่กี่เดือน เพราะเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการเร็วหรือช้าต่างกัน คุณพ่อคุณแม่อย่ากังวลใจไปเลยครับ ถ้าเห็นลูกบ้านอื่นเดินได้ แต่ลูกเราเพิ่งจะเกาะยืน

ติดตามอ่าน : แม่แชร์ รถหัดเดินทำให้ลูกต้องทำกายภาพ

เลี้ยงลูกขวบปีแรก

6. ละเลยอาการไข้ในเด็กทารก

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะเห็นว่า ลูกน้อยมีไข้ไม่สูงนัก จึงละเลย ไม่ได้สนใจ และไม่คิดว่าจะเป็นอันตรายมากนัก แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญกว่าที่คิดนะครับ หากลูกน้อยวัยแรกเกิดของคุณตัวรุมๆ แม่แต่เพียงเล็กน้อย ก็ขอให้รีบพาลูกไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยของลูกนะครับ

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

เล่นอย่างไร ให้ลูกหัวไว ในช่วงขวบปีแรก

6 วิธีจัดการเจ้าตัวเล็กเอาแต่ใจ

แม่ลูกอ่อนกินอะไรดี ถึงจะมีน้ำนมให้ลูกกินยาวๆ

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 6 เรื่องที่ห้ามทำเด็ดขาด ในการเลี้ยงลูกขวบปีแรก
แชร์ :
  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว