X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่แชร์ รถหัดเดิน ทำให้ลูกต้องทำกายภาพ

บทความ 3 นาที
แม่แชร์ รถหัดเดิน ทำให้ลูกต้องทำกายภาพ

เพราะประสบการณ์ของคุณแม่ที่เกิดขึ้นกับลูกหลังใช้รถหัดเดิน ทำให้คุณแม่อยากออกมาเตือนให้ทุกครอบครัวคอยสังเกตลูกให้ดี

รถหัดเดิน ทำให้ลูกต้องทำกายภาพ

คุณแม่ท่านนี้ได้แชร์ประสบการณ์ตรง ทีเกิดขึ้นกับลูกชายของคุณแม่ ผ่านเพจดังอย่าง “HerKid รวมพลคนเห่อลูก” เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกชาย ภายหลังจากการใช้ รถหัดเดิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

รถหัดเดิน

“อยากให้อ่านสักนิด อาจจะยาว แต่อาจจะช่วยให้ เป็นประสบการณ์ได้นะคะ น้อง 1.8 ขวบ ไม่คิดไม่ฝันว่า การที่ลูกเดินเขย่งปลายเท้ามาตลอดเกือบปี จะมีผลให้น้องต้องทำกายภาพบำบัด แล้วถ้าไม่หายก็ต้องผ่าตัดช่วย

สาเหตุที่เป็น ก็เพราะ ตอนเริ่มแรกหัดเดิน น้องใช้รถหัดเดินตลอด จนเริ่มเดินได้ ก็เห็นความผิดปกติ เพราะเห็นน้องเขย่งเท้าเดิน จนปรึกษาหมอ หมอเลยบอกให้เลิกใช้ เพราะการใช้รถหัดเดินทำให้น้องใช้เท้าลงไม่สุด แต่พอเลิกใช้น้องก็ยังไม่หาย แต่ก็ไม่เอะใจอะไร เพราะใครเห็นก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเดี๋ยวก็หาย คนเป็นแม่ก็คิดมาตลอด เพราะ ลูกเรานี้เดินก็เขย่ง ยืนเฉย ๆ ก็เขย่ง นั่งยอง ๆ ก็ไม่ได้ หงายหลังนั่งตลอด เดินแบบปกติเท้าติดผื้นนี้นับครั้งได้เลย

จนมาวันนี้ไปหาคุณหมอเพราะเริ่มไม่ไหว แล้วผลสรุปก็คือ เส้นเอ็นร้อยหวายน้องสั้น เกิดจาก การเดินเขย่งมานาน ทำให้เส้นเอ็นยึดหรือคดตัวนั่นเอง จนต้องทำกายภาพบำบัดทุกวันตั้งแต่วันนี้เลย แล้วถ้าอีก 3 เดือนน้องยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องผ่าตัดยืดเส้นเอ็น เพื่อให้น้องเดินได้แบบปกติ

อยากเตือนแม่ๆ บางเรื่องเราฟังเค้ามา เราอาจมองว่าไม่เป็นไร แต่ถ้าปล่อยไว้นาน อาจจะเป็นมากกว่านี้ ใครที่มีลูกเป็นอยู่ สังเกตน้องแล้วสอบถามหมอบ่อยๆนะคะ อยากเอามาแชร์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อแม่ ๆ อีกอย่างนะคะ ตัวที่นั่งแล้วเด้ง ๆ ก็มีส่วนด้วยนะคะ”

รถหัดเดิน อุบัติเหตุ อันตราย

คุณพ่อคุณแม่คะ จริงอยู่ที่คุณพ่อคุณแม่ อาจจะเกิดข้อโตเถียงในใจว่า ลูกหลานของเราใช้ แต่ไม่เห็นจะเป็นอะไร ซึ่งวัตถุประสงค์ที่คุณแม่ท่านนี้ต้องการนำเสนอก็คือ ต้องการให้ช่วยกันเฝ้าสังเกตอาการของลูกให้ดี หากมีพฤติกรรมที่แปลกไป อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบหาสาเหต และแก้ไขให้เร็วที่สุด

รถหัดเดิน

อย่างไรก็ดี ได้มีศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เก็บข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ทารก 12 ชนิด ในครอบครัวที่มีลูกอายุไม่เกิน 2 ขวบ ได้แก่ กรุ๊งกริ๊ง หัวนมหลอก รถเข็นเด็ก ยางกัด เตียงเด็ก เปลคอก เปลไกว รถพยุงตัว (หัดเดิน) เก้าอี้สูง เก้าอี้นั่งโยก เก้าอี้กระโดด และเป้อุ้มเด็ก พบสิ่งที่น่าตกใจว่า ในจำนวนเด็ก 245 ราย มีเด็กบาดเจ็บจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถึง 82 ราย  โดยบาดเจ็บจากรถหัดเดินสูงสุดถึง 47 ราย ตามติดด้วยของเล่นยอดฮิตในเด็กทารก  “กรุ๊งกริ๊ง” (24ราย)  เปลไกว (20ราย) รถเข็นเด็ก (10ราย) และอื่นๆ ตามลำดับ

รถหัดเดิน

สมาคมกุมารแพทย์สหรัฐฯ ประกาศเตือนบรรดาผู้ปกครองให้เลิกใช้รถหัดเดินสำหรับเด็กเป็นการถาวร  โดยระบุว่า รถหัดเดิน (Baby walker) ก่อให้เกิดความเสี่ยงในอันที่เด็กจะได้รับ บาดเจ็บ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตได้พยายามออกแบบรถหัดเดินใหม่ เพื่อป้องกันรถหัด เดินล้มคว่ำหรือเด็กไถรถหัดเดินจนตกบันได ยิ่งไปกว่านั้น ทางสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐฯ ระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานประกอบแน่ชัดที่รับรองว่า รถหัดเดินมีประโยชน์ต่อพัฒนาการเด็กอย่างแท้จริง  ในสหรัฐอเมริกาพบว่า เด็กบาดเจ็บจากรถหัดเดินต้องมารับการรักษาในห้องฉุกเฉินปีละกว่า 29,000 ราย เลยทีเดียว ซึ่งในประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และขณะนี้บางรัฐในสหรัฐอเมริกาได้มีกฎหมายห้าม มิให้จำหน่ายรถหัดเดินแล้ว ขณะที่บางรัฐยังคงให้จำหน่ายได้ แต่ต้องมีคำเตือนอันตรายแก่ผู้ซื้อ

รถหัดเดิน อุบัติเหตุ อันตราย

ที่มา: “HerKid รวมพลคนเห่อลูก”https://www.oknation.net/blog/ChudSiang/2011/07/04/entry-2

https://www.facebook.com/notes/164816336891784/

https://dev.thaihealth.or.th/node/9474

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

รวมเรื่องอันตรายที่มักเกิดกับลูกวัย 1-2 ขวบ

ระวัง! 9 ของใช้เด็กอ่อนที่ควรหลีกเลี่ยง

การเรียนรู้และการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ของเด็กวัยหัดเดิน มีความสำคัญอย่างไร

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
Advertisement

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • แม่แชร์ รถหัดเดิน ทำให้ลูกต้องทำกายภาพ
แชร์ :
  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว