เย็บปากมดลูก
แม่ก้อย หรือครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ จากเพจ BabyandMom.co.th ภรรยาของเจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ เผยประสบการณ์ เย็บปากมดลูก หลังจากตั้งครรภ์ได้ราว ๆ 4 เดือน หรือตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์ โดยได้บอกเล่าเรื่องราวผ่านอินสตาแกรม หลังผ่าตัดเย็บปากมดลูก ว่า
“ฟื้นแล้วค่า 2 ชม. เต็มที่อยู่ในห้องผ่าตัด หมอให้ยาคลายกังวล และยานอนหลับ ก่อนฉีดบล็อคหลัง เลยไม่รู้สึกตัวตอนเย็บเลยค่ะ แต่ตอนนี้ท่อนล่างยังชา ยังขยับไม่ได้เลย อึดอัดมาก ต้องนอนรอสังเกตการณ์ที่ห้องคลอดทั้งคืนค่ะ เพื่อดูการเกร็งตัวของมดลูก ก่อนจะย้ายไปพักที่ห้องส่วนตัวได้ในวันพรุ่งนี้ คุณหมอยังไม่ให้ทานอาหารค่ะ เพราะลำไส้ยังทำงานไม่เต็มที่ เนื่องจากยาบล็อคหลัง หิวมากค่ะ เพราะงดน้ำงดอาหารมาตั้งแต่ บ่ายโมง ขอบคุณสามีที่อยู่เคียงข้างตลอด ไม่เคยโดดเดี่ยวเลย ไม่เคยกลัวเลย ขอบคุณที่สู้ไปด้วยกัน ขอบคุณที่รักก้อยและลูก”
www.instagram.com/p/BpKNwK6AtaR/?hl=en&taken-by=natcha_loychusak
“หลังออกจากห้องผ่าตัด คุณหมอให้นอนสังเกตการณ์ที่ห้องคลอดทั้งคืน คุณพยาบาลสลับกันมาฟังเสียงหัวใจน้องทุกๆ 2 ชม. เลยค่ะ
น้องยังอยู่ดี หัวใจเต้นประมาณ 150 ครั้ง/นาที เป็นปกติค่ะ แม่รับทั้งยาสวน ยาชา ยานอนหลับ ยาบล็อคหลัง ยาฆ่าเชื้อ และยาแก้ปวด แอบกังวลลูกมาก แต่คุณหมอก็บอกมาแล้วว่ายาที่ให้ไม่กระทบต่อน้อง ลูกสาวแม่แข็งแรงจะตาย จริงมั้ยลูก”
www.instagram.com/p/BpLXkLoBSGR/?hl=en&taken-by=natcha_loychusak
ประสบการณ์เย็บปากมดลูก
ทั้งนี้ คุณแม่ก้อย ได้ไลฟ์ในวันที่ 21 ต.ค. เล่าประสบการณ์เย็บปากมดลูก หลังผ่านช่วงผ่าตัดได้ไม่นาน พร้อมอัพเดตอาการหลังเย็บปากมดลูก (เย็บช่วงคืนวันที่ 20 ต.ค.) โดยทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ได้แยกประเด็น และเลือกคำถามต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งคุณแม่ก้อยได้ตอบเอาไว้ในไลฟ์ (หากต้องการชมคลิปเต็ม ๆ อยู่ท้ายบทความ)
ครูก้อยจากเพจ BabyandMom อัพเดตหลังเย็บปากมดลูกว่า คุณหมออนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว (21 ต.ค.) หลังจากผ่าตัดไม่มีอาการแทรกซ้อนเลย ไม่มีอาการไข้ มีแค่ปวดหน่วง ๆ เพราะใช้เครื่องมือเข้าไปเย็บ แต่ไม่มีเลือดซึมเลยแม้แต่นิดเดียว
การเย็บปากมดลูกคืออะไร
การเย็บปากมดลูกคือหัตถการทางการแพทย์ ที่ใช้ช่วยพยุงครรภ์
เมื่อไหร่ถึงจะมีการเย็บปากมดลูก คนท้องทุกคนต้องเย็บปากมดลูกหรือไม่
ไม่ เพราะปกติคนท้องก็คลอดได้ แต่คนที่เย็บปากมดลูกคือคนที่มีข้อบ่งชี้ว่าจะต้องเย็บ คือคุณหมอจะวินิจฉัยว่า กรณีไหนอาจมีการคลอดก่อนกำหนด หรืออาจเกิดการแท้งในไตรมาส 2 ได้ จึงป้องกันโดยวิธีการเย็บปากมดลูกเอาไว้ กรณีของแม่ก้อยคือการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ข้อห้ามหลังจากเย็บปากมดลูก
คุณหมอไม่ได้ห้ามอะไรเป็นพิเศษหลังจากนี้ แค่บอกว่า อย่าเพิ่งเดินเยอะ อย่ายกของหนักในช่วงนี้ นอกนั้นก็ใช้ชีวิตตามปกติ พอท้องเราก็ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังอยู่แล้ว ไม่ออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง แล้วพอแผลหายสักสัปดาห์หรือ 2 สัปดาห์ ให้พิจารณาความแข็งแรงจากร่างกายตัวเองได้เลย ก็สามารถเดินทางได้ตามปกติ
หลังจากเย็บปากมดลูก คลอดธรรมชาติได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องผ่าคลอด
คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอดก็ได้ เพราะการเย็บปากมดลูก ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับการคลอดเลย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตราย แค่ไหน จากดราม่า! หมอให้กินน้ำตาลก่อนตรวจเบาหวาน แม่ท้องควรน้ำหนักขึ้นกี่กิโลกรัม
เย็บปาก มดลูก เพื่อป้องกันคลอดก่อนกำหนด ทำไมต้องเย็บปากมดลูก
การแท้งในไตรมาสแรก
คนท้องทุกคนต้องกังวลเรื่องแท้ง ตัวก้อยเคยแท้งมาแล้ว 1 ครั้ง เป็นการแท้งในไตรมาสแรกคือ ก่อน 3 เดือน และก็มีการแท้งหรือการหลุดธรรมชาติ ซึ่งการแท้งในไตรมาสแรก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครโมโซมของตัวอ่อนเอง การแท้งในไตรมาสแรกมักจะเป็นความผิดปกติข้างในโครโมโซม ในร่างกายของตัวอ่อนเอง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนา พูดง่าย ๆ ว่า เจริญเติบโตถึง 1-2 เดือน จากนั้นก็หยุดการเจริญเติบโต
การแท้งในไตรมาสสอง
การแท้งในไตรมาสสอง เกี่ยวข้องกับการเย็บปากมดลูก ในไตรมาสสอง ถ้าใครเคยแท้งจะรู้ว่ามันเจ็บปวดหัวใจมาก เพราะเด็กมีหัวใจแล้ว ดิ้นแล้ว มีแขนขา สมอง มีตา มีอวัยวะทุกอย่างครบเหมือนมนุษย์แล้ว เรียกว่า ระยะฟีตัส หมายความว่า รูปร่างหน้าตาเป็นมนุษย์แล้ว เพียงแค่ขนาดของตัวยังเล็กอยู่ เด็กที่ผ่านไตรมาสสองมาได้ ไม่ผิดปกติทางโครโมโซม ตัวเด็กสมบูรณ์ดี แต่ถ้าลูกหลุดหรือแท้งในไตรมาสสอง มักจะเป็นตัวแม่ที่ไม่สมบูรณ์ เช่น มดลูกไม่แข็งแรง ฝังตัวได้ไม่ดี มดลูกบาง พยุงเด็กไม่ได้ กรณีที่เป็นกันเยอะคือ ปากมดลูกสั้น ลักษณะปากมดลูกสั้น หรือคอมดลูกสั้น ไม่สามารถพยุงครรภ์ที่เริ่มจะหนักได้ในไตรมาสสอง ทำให้หลุด แท้ง หรือคลอดก่อนกำหนด
ปากมดลูกที่เหมาะสมในการพยุงครรภ์จนปลอดภัยจนคลอด คือ ปากมดลูกที่มีความยาวเกิน 3 เซนติเมตร แต่ถ้าผู้หญิงคนไหนมีลักษณะปากมดลูกหรือคอมดลูกสั้นกว่า 3 เซนติเมตร จะมีความเสี่ยงเด็กคลอดก่อนกำหนด ถ้าฝากครรภ์กับคุณหมอที่ละเอียดในการตรวจเช็คร่างกาย หมอจะตรวจเช็คปากมดลูกเมื่ออายุครรภ์เข้าสู่ไตรมาสสองว่าจะต้องมีการเย็บปากมดลูกหรือไม่ (หมออัลตร้าซาวด์แล้วจะรู้) บางคนปากมดลูกไม่ได้สั้น แต่มีกล้ามเนื้อปากมดลูกไม่แข็งแรง (ส่วนใหญ่เป็นมาแต่กำเนิด) แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ปากมดลูกสั้นจะต้องเย็บ เป็นเพียงข้อบ่งชี้เท่านั้น ซึ่งการเย็บปากมดลูกจะมีการบล็อคหลัง และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
การเย็บปากมดลูกมี 2 แบบ
บางคนไม่ได้เย็บโดยการใช้ไหม ใช้เป็นห่วงแล้วไปรูดปิดปากก็ได้ แต่ของก้อยคือสอดเครื่องมือเข้าไปทางช่องคลอด เข้าไปเย็บเหมือนเย็บแผล เย็บไหม ผูกปากมดลูกปิดเอาไว้เลย เบบี๋ห้ามออกจนถึงอายุครรภ์ที่ควรจะออก พอถึงอายุครรภ์ที่ควรจะออก เมื่อถึงเวลา คุณหมอจะตัดไหมให้เราเอง สมมติว่าก้อยจะผ่าคลอด ก็จะมีการบล็อคหลังซึ่งไม่เจ็บปวดท่อนล่าง ขาจะชาอยู่แล้ว หมอก็จะตัดไหมเลยแล้วผ่าคลอดเลย สำหรับคนที่คลอดธรรมชาติ เมื่อขึ้นขาหยั่งจะคลอด หมอก็จะตัดไหม ให้ลูกออกทางช่องคลอด
www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/videos/128176464732373/?t=1253
ไลฟ์ประสบการณ์เย็บปากมดลูก ครูก้อย ภรรยาเจมส์ เรืองศักดิ์
ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ก็ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้แม่ก้อยและพ่อเจมส์ด้วยนะคะ
รู้กันไปแล้วว่าการเย็บปากมดลูกคืออะไร มาโหวตกันหน่อยว่า ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่กล้วหน้าท้องลายหรือไม่ ถ้ากดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ร่างกายคนท้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง 11 เรื่องจริงที่คนท้องไม่เคยรู้มาก่อน!
แม่ท้องกลัวแท้ง! ไม่อยากเสียลูก ต้องรู้จัก ยากันแท้ง ป้องการแท้งบุตร ยานี้คืออะไร
วิธีดูแลตัวเองของคนท้องแต่ละไตรมาส แม่ท้องต้องปฎิบัติตัวอย่างไรให้ปลอดภัย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!