X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ซื้อยาปฏิชีวนะ มาให้ลูกกินเอง อันตรายถึงชีวิต!

บทความ 3 นาที
ซื้อยาปฏิชีวนะ มาให้ลูกกินเอง อันตรายถึงชีวิต!

เมื่อลูกมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก หรือท้องเสีย คุณพ่อคุณแม่หลายท่านมักจะไปหา ซื้อยาปฏิชีวนะ (ยาแก้อักเสบ, ยาฆ่าเชื้อ) มาให้ลูกกินเอง บ่อย ๆ ด้วยความเคยชิน แต่รู้หรือไม่คะว่า การกระทำเช่นนี้ อาจส่งผลเสียที่เป็นอันตรายร้ายแรงตามมาได้เพราะการ ซื้อยาปฏิชีวนะมาให้ลูกกินเอง นั้นอาจมีอันตรายถึงชีวิต เพราะสาเหตุอะไรมาดูกันเลยค่ะ

 

ยาปฏิชีวนะ คืออะไร? ใช้เพื่ออะไร?

ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “ยาแก้อักเสบ” หรือ “ยาฆ่าเชื้อ” เนื่องจากเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ร่างกายจะมีการตอบสนองเพื่อต่อต้านเชื้อโรค ด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงเกิดอาการต่าง ๆ เช่น มีไข้ คออักเสบแดง มีหนองบริเวณที่เป็นบาดแผล คนทั่วไปจึงเรียกว่า มี “การอักเสบ” เมื่อทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันจนครบตามระยะเวลาที่กำหนด เชื้อแบคทีเรียก็จะโดนกำจัด ทำให้อาการต่าง ๆ ที่แสดงถึงการอักเสบก็จะหายไป โดยที่ยาปฏิชีวนะเองไม่ได้มีฤทธิ์ไปต่อต้านการอักเสบโดยตรง

 

ซื้อยาปฏิชีวนะ มาให้ลูกกินเอง

 

เพราะอะไรจึงไม่ควรเรียกยาปฏิชีวนะว่า “ยาแก้อักเสบ”?

Advertisement

เนื่องจาก การอักเสบ ในร่างกายนั้นเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ

 

  • การอักเสบแบบมีการติดเชื้อโรค

การอักเสบแบบมีการติดเชื้อ เช่น คออักเสบ โพรงจมูกอักเสบ ปอดอักเสบ และ การอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ เช่น ข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบจากการใช้งานหนัก เป็นต้น

การรักษาอาการอักเสบแบบมีการติดเชื้อโรค ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคแก่ผู้ป่วย และต้องทานยาให้ครบ จนหมดตามระยะเวลาที่คุณหมอระบุ

 

  • การอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ

การรักษาอาการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อจะใช้ยาต้านการอักเสบ ที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาลดไข้ แก้ปวด พาราเซตามอล หรือ ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) เช่น ยาแอสไพริน เป็นต้น โดยยากลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องรับประทานติดต่อจนครบ หรือจนยาหมด

ดังนั้น เพื่อความไม่สับสน เราจึงไม่ควรเรียกยาปฏิชีวนะว่า “ยาแก้อักเสบ” นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : เช็คลิสต์ยาสามัญประจำบ้านที่ต้องมีไว้ สำหรับเจ้าตัวน้อย

 

ซื้อยาปฏิชีวนะ มาให้ลูกกินเอง

 

หากใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่ครบตามที่คุณหมอระบุ จะเกิดผลเสียอย่างไร?

หากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ทานยาไม่ครบตามที่คุณหมอสั่ง ไม่ว่าจะเป็นขนาดที่ไม่เหมาะสม น้อยเกินไป หรือ ทานเป็นระยะเวลาสั้นเกินไป ก็จะส่งผลเสีย คือ นอกจากจะไม่หายเจ็บป่วยแล้ว ยังจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้เพราะเชื้อแบคทีเรียปรับตัวให้ตัวเองสามารถทน และอยู่รอดต่อยาปฏิชีวนะ

เมื่อมีการเจ็บป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะนั้นในครั้งต่อไป ก็อาจจะไม่สามารถใช้ยานั้นรักษาอย่างได้ผลแล้ว ทำให้การรักษายากขึ้น และเป็นโรครุนแรงขึ้นจนอาจเกิดอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิต จากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาได้

 

 

เพราะเหตุใดจึงไม่ควร ซื้อยาปฏิชีวนะ มาให้ลูกกินเอง ?

เนื่องจาก การซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เอง โดยไม่ได้มีข้อบ่งชี้ในการใช้ จะก่อให้เกิดผลเสียมากมาย นอกจากจะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาซึ่งอันตรายมาก ดังได้กล่าวมาแล้ว ยังอาจเกิดการแพ้ยาปฏิชีวนะทั้ง ๆ ที่ใช้ยาโดยไม่จำเป็น

เนื่องจากยาปฏิชีวนะจัดเป็นกลุ่มยาที่มีรายงานการแพ้ได้บ่อย โดยบางครั้งอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงได้ อีกทั้งการซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เองยังเป็นการสิ้นเปลืองโดยเสียเปล่า เพราะอาจต้องเสียค่ายาไปโดยไม่หายจากโรคเนื่องจากโรคนั้น อาจเป็นการติดเชื้อไวรัสที่ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาเลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเก็บรักษายา สำหรับเด็กอย่างนี้แหละถูกวิธี

 

ซื้อยาปฏิชีวนะ มาให้ลูกกินเอง

 

อาการป่วยแบบใด ที่ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับยาปฏิชีวนะ?

ไข้หวัด และท้องเสีย เป็นการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในเด็ก ๆ เรามาดูกันว่า เมื่อไรที่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ

  • ไข้หวัด ที่มีหนองที่ต่อมทอนซิล มีน้ำมูกเขียวเหลืองทั้งวัน มีต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโต กดเจ็บและ ไข้สูง หรืออาการแย่ลง ใน 7 – 10 วัน
  • ท้องเสีย ที่มีการถ่ายอุจจาระมีมูกเลือดปน ไข้สูง

หากลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ สันนิษฐานว่าอาการป่วยจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ก็ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกายให้ชัดเจนว่ามีการติดเชื้อจริง จะได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรค และได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการใช้ยา

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

และเพื่อความปลอดภัยของลูก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เองนะคะ เพราะอาจส่งผลร้ายต่อเด็กได้ หากปริมาณยาไม่ถูกต้อง หรือเลือกใช้ยาที่ไม่ถูกกับโรคที่เด็กเป็น

 

ซื้อยาปฏิชีวนะ มาให้ลูกกินเอง

เพจ นานายาเด็ก โดย ณัฎฐา โมลีเศรษฐ์ (เภสัชกรกวาง)

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ยาสามัญประจำบ้านที่คนท้องควรมี ยาที่ปลอดภัยทั้งแม่และลูก

แม่เป็นไข้หวัดใหญ่ ให้นมลูกได้ไหม กินยาต้านไวรัสตัวไหนไม่อันตราย

ยาอันตรายห้ามใช้กับลูก 8 ยาอันตรายอย่าให้หนูกินเลยแม่!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ณัฎฐา โมลีเศรษฐ์ (เภสัชกรกวาง

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ซื้อยาปฏิชีวนะ มาให้ลูกกินเอง อันตรายถึงชีวิต!
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว