เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า เมื่อเรามีอาการเจ็บ ป่วย หรือ เป็นโรคต่าง ๆ อาการเหล่านั้นเกิดจากอะไร? เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ การติดเชื้อไวรัสหรือไม่ มาดูว่า ติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส มีความแตกต่างกันอย่างไร และมีวิธีป้องกันการติดเชื้อเหล่านี้หรือไม่
การติดเชื้อแบคทีเรีย และ ติดเชื้อไวรัส แตกต่างกันอย่างไร?
การติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อแบคทีเรีย มีความคล้ายกันหลายอย่าง เพราะการติดเชื้อทั้ง 2 ชนืด เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ ที่แพร่กระจายผ่านการไอ จาม จูบ การสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือ มีเพศสัมพันธ์ร่วมกับผู้ป่วย รวมถึงการสัมผัสวัตถุรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อ และโรคต่าง ๆ แต่การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ก็มีความแตกต่างกันหลายประการเช่นกัน
ความแตกต่างระหว่างแบคทีเรียและไวรัส
แบคทีเรีย
แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่มีความซับซ้อน จะมีผนังแข็งอยู่ด้านนอกสุด และชั้นถัดมาจะเป็นเยื่อหุ้มบาง ๆ ที่ล้อมรอบของเหลวภายในเซลล์เอาไว้ ซึ่งจะสามารถเพิ่มจำนวนได้ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในเซลล์ร่างกายของมนุษย์ หรือ สิ่งมีชีวิต และยังสามารถอยู่รอดได้ ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป เช่น อากาศเย็นจัด หรือ ร่างกายสิ่งมีชีวิต ร่างกายมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งแบคทีเรียส่วนใหญ่มักมีประโยชน์ และไม่ก่อให้เกิดอันตราย โดยจะช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหาร ทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค และช่วยต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง รวมถึงให้สารอาหารดี ๆ มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่แบคทีเรียบางส่วน ก็สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และการเจ็บป่วยต่าง ๆ ของเราได้
ไวรัส
ไวรัส เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก และมีรูปร่างหลากหลาย ไวรัสมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก ที่เคลือบอยู่ที่ชั้นผิวภายนอก และเป็นศูนย์กลางของสารพันธุกรรมอย่างดีเอ็นเอ (DNA) หรือ อาร์เอ็นเอ (RNA) ของไวรัส โดยไวรัส จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต อย่าง มนุษย์ สัตว์ หรือ พื้ช เพื่อเพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งไวรัสจะมีขนาดเล็กมาก ๆ หนึ่งในชนิดของไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีขนาดเพียง 450 นาโนเมตร เท่านั้น หรือเทียบเท่ากับแบคทีเรียขนาดเล็ก
การติดเชื้อแบคทีเรีย และการติดเชื้อไวรัส
การติดเชื้อแบคทีเรีย
แบคทีเรียสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำให้เกิดพิษ ซึ่งเป็นการทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายได้ ถึงแม้ว่าแบคทีเรียส่วนใหญ่จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ แต่แบคทีเรียบางชนิด ก็สามารถทำให้เกิดอาการป่วย และเป็นสาเหตุของโรคได้ เช่น สเตร็ปโทโคคัส นิวโมเนีย เป็นสาเหตุของโรคปอดบวม บอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส เป็นสาเหตุของโรคบาดทะยัก เป็นต้น
การติดเชื้อไวรัส
ไวรัสจะเข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เพื่อทำการแพร่กระจาย ขยายจำนวน ทำให้เซลล์ปกติเกิดการติดเชื้อ และสร้างความเสียหาย แต่เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายของสิ่งมีชีวิต อาจไม่ได้สร้างอาการเจ็บป่วยเสมอไป เพราะระบบภูมิคุ้มกัน จะเป็นด่านแรกที่เป็นตัวทำลาย และกำจัดเชื้อไวรัส ซึ่งไวรัสแต่ละชนิด จะเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ เดงกี่ไวรัส เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก ไวรัสอาร์เอสวี เป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
การวินิจฉัยการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น โรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ โรคท้องร่วง อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และดูประวัติต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุของอาการเจ็บป่วย แต่ผู้ป่วยบางราย อาจจำเป็นต้องรับการวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ หรือ การตัดชิ้นเนื้อตรวจ เป็นต้น เพื่อเป็นการหาสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโณค เพื่อผู้ป่วยจะได้เข้ารับการรักษาต่อไป
วิธีรักษาการติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย
การติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จะต้องทำการรักษาตามอาการ ในช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันกำลังทำงาน กำจัดเชื้อโรคที่เข้ามา ซึ่งอาจต้องใช้ยาต้านเชื้อไวรัส เพื่อช่วยชะลอความรุนแรงของโรค และยังสาารถใช้วัคซีน เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไวรันตับอักเสบ โรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยปกติแล้ว จะทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวัง และปฏิบัติตามคำแนะนำ คำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะอาจทำให้เกิดการดื้อยา และทำให้การติดเช้อแพร่กระจายได้ง่าย ซึ่งอาจทำให้ยาปฏิชีวนะชนิดดังกล่าว ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียต่อไป
ติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส มีความแตกต่างกันในแง่ของการติดเชื้อ การเติบโตของโรค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยรู้สึกมีอาการผิดปกติ ไม่สบาย เหนื่อยง่าย หรือมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง และทันท่วงที
ที่มาข้อมูล pobpad.com
บทความที่น่าสนใจ
ไวรัสคืออะไร มาจากไหน รวมเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัส
บิฟิโดแบคทีเรีย และ แล็คโตบาซิลัส จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อลูกรัก
แพทย์เตือน เชื้อไวรัสและแบคทีเรียระบาด เด็กเล็กเสี่ยงปอดบวม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!