X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เพราะครรภ์เป็นพิษ ทำให้เธอต้องคลอดลูกก่อนกำหนด

7 Nov, 2016
เพราะครรภ์เป็นพิษ ทำให้เธอต้องคลอดลูกก่อนกำหนด

คุณแม่ท่านนี้ ตรวจพบว่าตัวเองครรภืเป็นพิษตอนตั้งครรภ์ได้เพียง 20 สัปดาห์เท่านั้น!!

เพราะ ครรภ์ เป็นพิษ ทำให้เธอต้องคลอดลูก ก่อนกำหนด โรเดอริก้า มัวร์ คุณแม่วัย 25 ปี ต้องทำการผ่าคลอดก่อนกำหนด หลังคุณหมอตรวจพบ ครรภ์ เป็นพิษ ตอนมีอายุครรภ์ได้เพียงแค่ 20 สัปดาห์ แต่คุณหมอก็ยังไม่อนุญาตให้เธอผ่าตัด เพราะถ้าเกิดทำตอนนี้ อาจจะส่งผล ให้ทารกในครรภ์นั้น เสียชีวิตได้!

ครรภ์เป็นพิษ

คุณหมอ ขอร้องให้เธอดูแลตัวเองให้ดี และ จะต้องทำปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอทุกอย่าง จนกระทั่ง ครรภ์มีอายุ ครบ 24 สัปดาห์ คุณหมอก็ตัดสินใจให้ มัวร์ ผ่าท้องคลอดทันที เพราะอาการครรภ์เป็นพิษของเธอนั้น มีอาการที่แย่ลง “ตอนแรกที่ฉันรู้ว่าครรภ์เป็นพิษ ฉันรู้สึกตกใจมาก เพราะฉันไม่เคยคิดเลย ว่ามันจะเกิดขึ้นกับตัวฉัน แต่ฉันไม่ห่วงอะไร นอกจากห่วงชีวิตของลูก ฉันศึกษาว่า ทารกที่อยู่ในห้อง NICU นั้น เขาทำอย่างไรกับเด็กกันบ้าง ฉันเอาแต่ร้องไห้ และ ภาวนาให้อาการของฉันดีขึ้น แต่สุดท้ายแล้วมันกลับตรงกันข้าม”

ครรภ์เป็นพิษ

Advertisement

มัวร์ เข้าห้องผ่าตัดทำคลอดทันที เพราะคุณหมอ ต้องการช่วยชีวิตทารกในครรภ์ของเธอ ให้เร็วที่สุด ทารกคลอดออกมาด้วยน้ำหนักตัวเพียง 425 กรัม มัวร์ ตั้งชื่อลูกชายของเธอว่า “อมารี” “คุณหมอบอกว่า โอกาสที่เขาจะรอดนั้น มีเพียงแค่สิบเปอร์เซ็น แต่ตลอดเวลาที่ อมารี อยู่ในห้อง NICU ฉันก็สวดภาวนาขอพรทุก ๆ วัน ขอให้เขารอด ขอให้ปาฏิหาริย์มีจริง ด้วยแรงแห่งศรัทธาของ มัวร์ ประกอบกับความเข้มแข็งอดทนของ อมารี ทำให้เขารอด และ มีชีวิตอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งตอนนี้เขามีอายุได้แปดปีแล้ว และ เป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ร่าเริง สมตามวัย

มาทำความรู้จักกับครรภ์เป็นพิษกันค่ะ “ครรภ์เป็นพิษ” เป็นภาวะแทรกซ้อน ที่ผิดปกติที่สามารถพบได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งมีอยู่ 3 อาการที่เกิดร่วมกัน นั่นคือ อาการบวม ความดันโลหิตสูง และโปรตีนในปัสสาวะ ภาวะครรภ์เป็นพิษนั้น อาจเกิดแทรกซ้อนขึ้นได้ในระยะการตั้งครรรภ์ในไตรมาสที่ 2 และ 3″

ตั้งท้องลูกชาย

5 % ของคุณแม่ที่ตั้งท้องลูกชาย มีแนวโน้มที่จะประสบภาวะครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษเกิดจากอะไร

ครรภ์เป็นพิษในปัจจุบันจะเรียกว่า Pregnancy-induced  Hypertension  ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นโรคที่เชื่อว่าเกิดจากการตอบสนองอย่างผิดปกติของกลไกภูมิคุ้มกันของตัวคุณแม่ต่อการตั้งครรภ์

ครรภ์เป็นพิษมีอาการอย่างไร

อาการทั่วไปที่พบได้ในครรภ์เป็นพิษ คือ จะมีอาการปวดศีรษะ ตามัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดตรงใต้ลิ้นปี่ บวมตามมือตามเท้า และใบหน้า  ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการครรภ์เป็นพิษที่รุนแรงมาก(Severe Preeclampsia) คือ จะมีความดันขึ้นสูงกว่า 160/100 มิลลิเมตรปรอท ตรวจพบโปรตีนมากในปัสสาวะ มีอาการบวมที่รุนแรง และอาจมีอาการปวดศีรษะ ตามัว จุกแน่นหน้าอกอย่างมากร่วมด้วย หรือในคุณแม่บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นมีน้ำคั่งในปอด หรือมีเลือดออกในสมอง

ครรภ์เป็นพิษที่เกิดจากอาการชัก (Eclampsia) เป็นอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรงที่สุด มักเกิดตามหลังครรภ์เป็นพิษรุนแรงที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี  ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความดันขึ้นสูงมาก และมีอาการชักหมดสติร่วมด้วย ในกรณีที่มีความรุนแรงมาก มีเลือดออกในสมอง จะส่งผลอันตรายถึงชีวิตทั้งของคุณแม่เอง และก็ทารกในครรภ์ด้วย

การรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษ เมื่อเกิดครรภ์เป็นพิษที่รุนแรงขึ้น โดยส่วนมากคุณหมอจะทำการรักษา คือ การควบคุมความดันโลหิตไม่ให้ขึ้นสูง โดยการให้ยาลดความดันโลหิต การป้องกันการชักโดยใช้ยาแมกนีเซียมซัลเฟต และทำให้การคลอดเกิดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการหยุดกระบวนการของโรค สำหรับในกรณีที่คุณแม่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 30-32 สัปดาห์ คุณหมออาจต้องพยายามให้ยืดระยะเวลาการตั้งครรภ์ออกไปเท่าที่จะทำได้  เพื่อเป็นการลดภาวะแทรกซ้อนของการคลอดก่อนกำหนด แต่หากครรภ์เป็นพิษรุนแรงเกิดเมื่ออายุครรภ์เกิน 32 สัปดาห์ไปแล้ว ส่วนใหญ่คุณหมอจะพิจารณาให้มีการคลอดด้วยการผ่าตัดทันทีภายใน 4-6 ชั่วโมง

สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ และได้รับการดูแลจากคุณหมอเป็นอย่างดี จนถึงการคลอด ซึ่งภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษ จะค่อย ๆ ทุเลาลงจนหายไปในที่สุด ทั้งนี้คุณแม่ที่เคยเป็นครรภ์เป็นพิษมาแล้ว ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปได้อีก ซึ่งจะเป็นการดีที่สุดก่อนมีการตั้งครรภ์ ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกาย และรวมถึงให้ข้อมูลประวัติสุขภาพกับคุณหมอ เพื่อการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ และปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ค่ะ

ที่มา: People

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร เมื่อครรภ์เป็นพิษ เกือบคร่าชีวิตคุณแม่

ผลวิจัยเผย แม่ท้องอ้วนเกินไปอันตรายทั้งแม่ทั้งลูก

 

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • เพราะครรภ์เป็นพิษ ทำให้เธอต้องคลอดลูกก่อนกำหนด
แชร์ :
  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว