อันตรายหน้าฝน ที่เหล่าคุณพ่อคุณแม่ต้องตรวจเช็กและดูแลบุตรหลานของตัวเองเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ยุงลายที่อาจจะทำให้เกิดโรคอันตรายอย่างไข้เลือดออก อีกทั้งยังรวมถึงแหล่งหลบซ่อนของสัตว์มีพิษทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นงู ตะขาบ แมงป่อง แมลงก้นดก และรวมไปถึง กิ้งกือ ใช่แล้วค่ะ คุณพ่อคุณแม่อาจจะงงว่ากิ้งกือมีพิษยังไง วันนี้ TheAsianparent Thailand ขอนำบทความดี ๆ เพื่อมาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ กิ้งกือสีเทา ที่มีพิษอาจทำอันตรายแก่ลูกน้อยได้
อัน ตราย หน้าฝน กิ้งกือสีเทา
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่ง ได้โพสต์เล่าเรื่องราวของลูกสาววัย 6 ขวบ ที่นิ้วเท้ากลายเป็นสีม่วงคล้ำดูช้ำเลือดช้ำหนอง เนื่องจากโดนพิษจาก “กิ้งกือ” ซึ่งผู้ใช้รายนี้จึงอยากนำเรื่องราวดังกล่าวมาโพสต์เตือนเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ปกครองหลาย ๆ ท่าน ให้ระวังเวลาลูกหลานเอาไว้ก่อนที่จะใส่รองเท้า ให้สังเกตในรองเท้าให้ดี เพราะอาจมีอันตรายที่คาดไม่ถึงซ่อนอยู่โดยไม่รู้ตัวก็ได้
โดยคุณแม่ได้โพสต์เนื้อหาดังกล่าวดังต่อไปนี้ #ฝากเป็นอุทาหรณ์ แม่ๆที่มีลูกเล็ก แล้วใส่รองเท้าผ้าใบ อย่ามองข้ามสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กๆนะคะ มันแอบอยู่ในรองเท้า ถอดรองเท้าคือตกใจมาก นึกว่าไปเหยียบอะไรมา ทั้งถูทั้งล้างก็ไม่ออก เลยไปดูในรองเท้า แม่เจ้า #กิ้งกือ แอบนอนอยู่ในรองเท้า #เกลียดกิ้งกือโว๊ยยย มาโรงพยาบาลก่อน พบแพทย์ด่วน
อัน ตราย หน้า ฝน กิ้งกือสีเทา
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า ช่วงฤดูฝน อาจพบเห็นกิ้งกือในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่อยู่อาศัย สวนสาธารณะ จึงขอให้คำแนะนำแก่ประชาชนว่า กิ้งกือไม่ใช่สัตว์อันตราย ไม่กัด แต่มีพิษ หากสัมผัสถูกตัว สารพิษของกิ้งกือจะถูกปล่อยออกมาจากบริเวณข้างลำตัว มีฤทธิ์ฆ่า สัตว์เล็ก ๆ เช่น มด แมลง และหากคนสัมผัสจะทำให้เกิดการอักเสบเป็นผื่นแดง หรือทำให้ตาระคายเคืองในกรณีถูกพิษกิ้งกือเข้าตา
กิ้งกือสีเทาเป็นกิ้งกือกระบอกสายพันธ์ุหนึ่ง มีโอกาสที่จะเจอกิ้งกือสีเทานี้ก็ต่อเมื่ออยู่ใกล้กับป่า โดยเหตุการณ์ดังกล่าว การที่เจ้ากิ้งกือปล่อยพิษออกมาจึงทำให้นิ้วเท้าของลูกสาวเจ้าของโพสต์ดังกล่าว อาจมาจากการปล่อยพิษเพื่อป้องกันตัวนั่นเอง
อันตรายหน้าฝนกิ้งกือสีเทา
ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำตอบกับเรื่องนี้ไว้ว่า กิ้งกือตัวสีเทานั้น เป็นกิ้งกือกระบอกสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งทั่วไปก็มีสารป้องกันตัวเอง โดยเป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่ชื่อว่า สารเบนโซคลินโนน ซึ่งสารตัวนี้จะคล้ายกับยาฆ่าเชื้อที่อยู่ตามโรงพยาบาล เมื่อโดนที่ผิวหนังบาง ๆ หรือโดนปริมาณมาก ๆ คนที่แพ้ก็จะทำใก้เกิดอาการบวมแดงได้
อันตราย หน้าฝนกิ้งกือ สีเทา
ในส่วนของคนที่ไม่แพ้ เมื่อโดนพิษผิวหนังก็จะเกิดเป็นสีเหลืองก่อน จากนั้นก็จะกลายเป็นสีเข้มติดอยู่ที่ผิวหนัง ประมาณ 2 – 3 วันก็ทำการล้างออกได้ แต่สารพิษดังกล่าวยังไม่มีการรายงานว่า มีประชาชนเสียชีวิตจากพิษกิ้งกือ อย่างมากก็จะมีอาการบวม พอง พอง พุพอง แต่ก็ถือว่าพบเจออาการสาหัสน้อยมาก
วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อโดนพิษกิ้งกือสีเทา
เมื่อโดนสารพิษจากกิ้งกือแล้ว อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า สารพิษนั้นคือสารเบนโซคลินโนน ซึ่งถือเป็นกรด แต่เป็นกรดอ่อน ๆ วิธีการรักษานั้นก็คือการลดกรดโดยการล้างน้ำสบู่ที่มีค่าเป็นด่างนั่นเอง โดยทำการล้างหลาย ๆ ครั้ง
กิ้งกือ (millipede) เป็นชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลำตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลำตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทำให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขาสองคู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่สองถึงสี่มีขาเพียงคู่เดียว จำนวนขาอาจมีได้ถึงสองร้อยสี่สิบคู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ อยู่ในสกุล Graphidostreptus ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Cylindroiulus ทั้งสองสกุลอยู่ในวงศ์ Julidae
อันตราย หน้าฝน กิ้งกือ สีเทา
กิ้งกือจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโปดา (Phylum Arthropoda) ชั้นดิพโพลโปดา (Class Diplopoda) ที่มีมากถึง 10,000 สปีชีส์ทั่วโลก และคาดว่าน่าจะมีมากถึง 80,000 สปีชีส์ โดยมีประวัติยาวนานกว่า 400 ล้านปี กิ้งกือทุกชนิดมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ ต้นไม้ในป่าเขตร้อนอาจไม่สามารถยืนต้นได้หากไม่มีกิ้งกือ ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืช ใบไม้ ลูกไม้ ให้กลายเป็นแร่ธาตุอาหารกลับคืนสู่ธรรมชาติโดยมีจุลินทรีย์คอยช่วยเหลือ กิ้งกือทำหน้าที่นี้มายาวนานหลายล้านปี ซากพืชที่กิ้งกือกินเข้าไป ก็จะถูกถ่ายออกมาเป็นมูลก้อนเล็ก ๆ คล้ายยาลูกกลอน ที่มีทั้งจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน เช่นเดียวกับมูลของไส้เดือนและหอยทาก
Source : youtube , sanook , wikipedia , facebook vena.phungwangthong
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
10 อาหารอันตรายหน้าโรงเรียน ภัยอันตรายจากอาหารหน้าโรงเรียน
10 โรคหน้าฝนในเด็ก 2020 โรคหน้าฝนสุดฮิตที่เด็กมักเป็น คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง
โรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน ฝนตก ลูกเสี่ยงป่วยง่าย โรคไหนที่ต้องระวังในหน้าฝน โรคหน้าฝนในเด็ก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!