แม่ท้องหลายคนมักสงสัยว่า เป็นสิวตอนท้อง เกิดจากอะไร สาเหตุหลักของการเป็นสิวตอนท้องส่วนใหญ่ปัญหามาจากฮอร์โมนค่ะ เนื่องจากขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นไปกระตุ้นไขผิวหนังจึงทำให้คุณรู้สึกว่าผิวมันขึ้น นอกจากนี้ร่างกายยังมีระดับของเหลวเพิ่มขึ้น จึงอาจส่งผลให้เป็นสิวจากการเกิดปฏิกิริยาระหว่างแบคทีเรียในผิวหนังนั่นเอง แต่ก็ยังมีคุณแม่บางคนที่โชคดีไม่เป็นสิวตอนท้อง ซึ่งอาการเหล่านี้เราไม่สามารถระบุได้ว่าใครจะเป็นสิวตอนท้อง หรือใครจะท้องแล้วสิวขึ้น แม้ว่าคุณจะมีสิวจนเป็นเรื่องปกติก็ตาม อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนก็ไม่ได้รับรองว่าคุณจะเป็นสิวตอนท้องไปด้วย
วิธีการรับมือเมื่อเป็นสิวตอนท้อง
การรักษาสิวตอนท้อง ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เนื่องจากยาที่ใช้รักษาสิวทุก ๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นตัวยาที่แพทย์สั่ง หรือ ซื้อตามร้านขายยาล้วนมีส่วนประกอบของ สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์ทั้งสิ้น โดยวิธีการอยากจะแนะนำ มีดังนี้
- ปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามว่า ยารักษาสิวชนิดใดที่ปลอดภัย สำหรับผิวคุณ
- ดูแลผิวหน้าเพิ่มขึ้น คุณอาจจะลองล้างหน้าวันละ 2 ครั้งด้วยสบู่ หรือ เจลล้างหน้าที่อ่อนโยนต่อสุขภาพผิวหน้าของคุณ
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีสารเคมีรุนแรง
- ทำให้หน้าของ คุณแห้งหลังจากการล้างหน้า เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง ต่อผิวหน้าและเป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้
- ลดการรับประทานอาหาร ที่มีไขมันสูง และ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ กับผิวของคุณอีกด้วย
- เลือกหายารักษาสิว ที่มีส่วนประกอบจากสาร สกัดธรรมชาติ หรือยาทาสิวที่ทำมา เพื่อคนท้องโดยเฉพาะ
- ไม่ควรนอนดึกจนเกินไป โดยคุณแม่ควรนอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงนะคะ
- ทานผัก และ ผลไม้เยอะ ๆ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่ อุดมไปด้วยวิตามินซีสูง
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องเป็นสิว ทำยังไงดี? มีวิธีรักษาไหม แม่ท้องคนไหนเป็นสิวเข้ามาอ่านกัน
อาหารที่ก่อให้เกิดสิว มีอะไรบ้าง
ในขณะที่อาหารบางชนิดโดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี โอเมก้า 3 และสังกะสีจะช่วยป้องกันการอักเสบ ลดโอกาสการเกิดสิวใหม่ และช่วยให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้น แต่อาหารบางชนิดก็อาจไปกระตุ้นให้เกิดสิวได้เช่นกัน โดยผู้ที่กำลังเผชิญปัญหาสิวหรือมีผิวหนังที่ระคายเคืองได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดังต่อไปนี้
-
อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง (Glycemic Index)
เช่น ขนมปังขาว พาสต้า มันฝรั่ง ช็อกโกแลต เครื่องดื่มและขนมที่มีรสหวานมาก เป็นต้น โดยงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงอาจกระตุ้นให้เกิดสิวได้ เนื่องจากจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาจำนวนมาก โดยระดับอินซูลินที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสิว และอาจนำไปสู่ภาวะอ่อนเพลียโดยฉับพลัน (Insulin Crash) ที่ส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยและทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นได้อีกด้วย
การรับประทานอาหารขยะอย่างเบอร์เกอร์ นักเก็ต เฟรนช์ฟรายส์ และมิลก์เชก อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิวได้ โดยมีงานวิจัยหนึ่งศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารของวัยรุ่นและผู้ใหญ่ชาวจีนกว่า 5,000 คน พบว่าผู้ที่รับประทานอาหารไขมันสูงอาจเสี่ยงเกิดสิวได้ถึง 43 เปอร์เซ็นต์ และผู้ที่รับประทานอาหารขยะเป็นประจำอาจเสี่ยงเป็นสิว 17 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดสิวและการรับประทานอาหารขยะยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่นักวิจัยบางรายสันนิษฐานว่าการรับประทานอาหารขยะอาจส่งผลกระทบต่อการแสดงออกของยีน (Gene Expression) และระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสิวได้
-
อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 6
การรับประทานอาหารแบบตะวันตกอาจเสี่ยงทำให้เกิดสิวและการอักเสบได้ เนื่องจากอาหารประเภทนี้มักประกอบไปด้วยข้าวโพดและน้ำมันถั่วเหลืองที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 6 ในขณะที่มีอาหารเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ประกอบด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลา และวอลนัต เป็นต้น ซึ่งหากร่างกายมีอัตราส่วนของกรดไขมันโอเมก้า 6 และกรดไขมันโอเมก้า 3 ไม่สมดุลกัน อาจทำให้เกิดการอักเสบและส่งผลให้อาการของสิวรุนแรงขึ้น โดยการรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 เสริมอาจช่วยลดการอักเสบและบรรเทาสิวได้ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดสิวกับการได้รับกรดไขมันโอเมก้า 6 ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก
เช่น นม โยเกิร์ต และชีส เป็นต้น เพราะอาหารเหล่านี้อาจมีส่วนประกอบของฮอร์โมนต่าง ๆ โกรทฮอร์โมน และสเตอรอยด์บางชนิด ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดสิวได้ นอกจากนี้ ผงโปรตีนที่มีส่วนประกอบของเวย์ (Whey) และเคซีน (Casein) ก็อาจทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาสิวไม่ควรบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากจนเกินไป โดยอาจรับประทานแคลเซียมเสริม หรืออาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมอย่างน้ำส้มคั้น ซีเรียล เต้าหู้ และนมถั่วเหลือง เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารควรระวังถ้าไม่อยากเป็นสิว 7 สิ่งที่ควรงดกินสิ่งนี้หน้าใสไร้สิว
อาหารบำรุงสุขภาพผิว ที่อาจช่วยป้องกันสิวได้
แม้ว่าอาหารที่กล่าวไปข้างต้นอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิว แต่การรับประทานอาหารหรือสารอาหารบางชนิดก็อาจช่วยทำให้ผิวสวยสุขภาพดีและห่างไกลจากสิวได้ ดังนี้
- วิตามินเอ ดี อี และสังกะสี วิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อสุขภาพผิวและระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทั้งยังอาจช่วยป้องกันการเกิดสิวได้
- โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ โดยช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานเป็นปกติ และยังมีส่วนช่วยลดการอักเสบและการเกิดสิวด้วย
- กรดไขมันโอเมก้า 3 มีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ซึ่งการบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นประจำอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดสิวได้
- ชาเขียว สารโพลีฟีนอล (Polyphenols) ในชาเขียวอาจช่วยลดการอักเสบและการผลิตไขมันผิวหนัง ส่วนการทาสารสกัดจากชาเขียวลงบนผิวหน้าก็อาจช่วยบรรเทาอาการสิวที่รุนแรงได้
- ขมิ้น ประกอบด้วยสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ที่มีสรรพคุณช่วยต้านการอักเสบ ควบคุมน้ำตาลในเลือด ส่งเสริมความไวต่ออินซูลิน และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว
- เมดิเตอร์เรเนียน ไดเอต (Mediterranean Diet) เป็นการเน้นรับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เนื้อปลา และน้ำมันมะกอก โดยจำกัดการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมและไขมันอิ่มตัว ซึ่งการรับประทานอาหารลักษณะนี้อาจช่วยบรรเทาความรุนแรงของสิวได้
- เพลีโอ ไดเอต (Paleo Diet) เป็นการเน้นรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน ผัก ผลไม้ และหลีกเลี่ยงการรับประทานธัญพืช ถั่ว รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและฮอร์โมนอินซูลินได้
ยารักษาสิวที่ห้ามใช้ระหว่างตั้งครรภ์
- เรตินอยด์ (วิตามินเอ) คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของวิตามินเอขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากจะทำให้ร่างกายของคุณมีการสะสมวิตามินเอมากขึ้น
- ยารักษาสิวหรือยาปฏิชีวนะ Accutane เป็นยารักษาสิวที่อันตรายที่สุด เคยมีการพิสูจน์แล้วว่าก่อให้เกิดการตายคลอด ส่วนยาปฏิชีวนะคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ หากใช้แต้มสิวอาจจะมีอันตรายน้อยกว่าวิธีรับประทาน
- ยารักษาสิว Benzoyl peroxide หมอบางคนเชื่อว่าการใช้ยาชนิดนี้ในปริมาณน้อยไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไร แต่หมอบางคนก็แนะนำว่าห้ามใช้จะดีที่สุด ทางที่ดีคุณควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับคำแนะนำเป็นกรณีของคุณ
- กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) คำแนะนำของการใช้ผลิตที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิกเป็นแบบเดียวกับตัวยา Benzoyl Peroxide หากคุณต้องทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ ครีมทาผิวหรือแม้กระทั่งแชมพูที่มีส่วนผสมของยารักษาสิว คุณควรทำด้วยความระมัดระวัง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาแต้มสิวคนท้อง ยารักษาสิวแบบไหนที่คนท้องใช้ได้ หรือห้ามใช้
ยารักษาสิวที่ใช้ได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
หากคุณแม่เป็นสิวเยอะ รู้สึกว่าไม่มั่นใจเอามาก ๆ สิ่งแรกที่คุณแม่ควรทำคือการหยุดเกาหรือแกะสิวค่ะ จากนั้นใช้ยาทาแต้มสิวในกลุ่มของ Benzyl Peroxide (BP) ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มฆ่าเชื้อสิว ที่คนท้องสามารถใช้ได้ วิธีใช้คือ ให้ทายาก่อนล้างหน้า โดยทิ้งไว้สักครู่จากนั้นค่อยล้างออกค่ะ ที่สำคัญคุณแม่ไม่ควรซื้อยามาทาเองเด็ดขาด เพราะยาอาจมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้งเพื่อดูว่ายาชนิดไหนใช้ได้ ยาชนิดไหนห้ามใช้ตอนตั้งครรภ์
เป็นสิวตอนท้อง คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะปกติแล้วอาการสิวจะทุเลาลงหลังคลอด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ผิวของคุณแม่จะค่อย ๆ ดีขึ้นตามระดับฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางคนมักมีปัญหาสิวอักเสบตอนให้นมลูก ดังนั้น อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาสิวค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
จริงแค่ไหน!! กับความเชื่อ ท้องลูกสาวหน้าใส ท้องลูกชายสิวบุก
ท้องแล้วสิวขึ้นหน้า คาง หน้าผาก หลัง เป็นสิวตอนท้องควรรักษาอย่างไร
แนะนำ ชีทมาส์กหน้า สำหรับแม่ท้อง กู้หน้าพังเป็นสิว ผิวแพ้ง่าย ใช้อะไรดี?
ที่มา : thairath, 2
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!