ตั้งครรภ์ 2 เดือน อาการเป็นอย่างไร ตรวจครรภ์ได้แล้วหรือยัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่คนไหน ที่มีความกังวล หรือมีอาการคล้ายกับว่าตัวเองจะท้องรึเปล่า วันนี้ theAsianparent Thailand จะพามาดูกันว่า ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน ตรวจตั้งครรภ์ได้แล้วหรือยัง และอาการของคนท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน จะเป็นอย่างไร มีอาการแบบไหนบ้าง มาดูพร้อมกัน

 

ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน นับจากอะไร?

ตั้งครรภ์ 2 เดือน นับจากที่คุณแม่มีอายุครรภ์ 2 เดือนแล้ว โดยจะมีอายุครรภ์ระหว่าง 5-8 สัปดาห์ ซึ่งอายุครรภ์ของคุณแม่จะเริ่มนับจากวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งล่าสุด จากนั้นจะนับเพิ่มสัปดาห์ถัดไปเรื่อย ๆ เป็น 2 เดือน ไปจนถึง 9 เดือน ซึ่งจะเป็นช่วงไตรมาสสาม จนถึงช่วงคลอดนั่นเอง

 

อาการแม่ท้อง 2 เดือน เป็นอย่างไร?

  • แพ้ท้อง

การแพ้ท้อง อาเจียน คลื่นไส้ จะเกิดในช่วงที่แม่ท้อง ตั้งท้องอยู่ที่ประมาณ 2 เดือน (4-9 สัปดาห์) อาการแพ้ท้อง ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Morning Sickness ทำให้คนเข้าใจผิดไปว่า มันเกิดขึ้นได้ แค่ในเวลาตอนเช้าเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว อาการแพ้ท้อง สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยคุณแม่จะมีอาการแสบบริเวณลิ้นปี่ ทำให้คุณแม่จำเป็นต้องพักผ่อนมาก ๆ หรือรับประทานน้ำขิง ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

 

  • ไม่อยากอาหาร

ในช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มมีอาการเบื่ออาหาร ไม่อยากอาหาร ของกินบางชนิดที่ปกติไม่เคยได้กลิ่น ก็อาจจะส่งกลิ่นเหม็นออกมาได้ อาหารบางชนิดก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรสชาติ อาหารที่เหมาะที่สุดในช่วงนี้ ก็จะเป็นอาหารที่มีรสจืด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม น้ำเต้าหู้ และซุป เพราะเมื่อทานแล้ว ก็จะช่วยเรื่องอาการคลื่นไส้ แพ้ท้องได้อีกส่วนหนึ่ง

 

  • ท้องอืด และท้องผูก

เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงไป มีฮอร์โมนตัวหนึ่ง ซึ่งเมื่อถึงเวลาตอนท้อง จะทำให้การย่อย ของคุณแม่ทำงานได้ช้าลงจากปกติที่เคยเป็น ซึ่งจะส่งผลให้คุณแม่มีอาการท้องอืด และท้องผูก ดังนั้นการดื่มน้ำเยอะ ๆ รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง และเดินออกกำลังกาย จะช่วยให้คุณแม่หายจากอาการดังกล่าวได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 16

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ตกขาว หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด

คุณแม่อาจมีอาการปวดท้องน้อย และมีเลือดออกมาก บางรายอาจมีอาการตกขาวร่วมด้วยซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากคุณแม่มีอาการตกขาวที่ส่งกลิ่นเหม็น เปลี่ยนจากสีใสเป็นสีขาวหรือสีเหลือง และปวดท้องอย่างรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไป

 

  • เหนื่อยล้า

การตั้งครรภ์ใช้กำลัง และใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก ถือเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในระยะ 2 เดือน จะรู้สึกเหนื่อยล้า ง่วงนอน และอ่อนเพลียง่ายมากกว่าที่ปกติเคยเป็น ซึ่งบางครั้งก็อาจทำให้คุณแม่ทำงานได้ช้าลง เวียนศีรษะ และหน้ามืดได้ง่าย ๆ เพราะฉะนั้นถ้าเวลาไหนงีบได้ งีบเลยค่ะคุณแม่ เพื่อที่เราจะได้มีแรงมากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • อารมณ์แปรปรวน

ในช่วงนี้คุณแม่จะมีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย เดี๋ยวยิ้ม เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนไป แต่หากคุณแม่มีอารมณ์แปรปรวนอย่างหนัก ก็อาจส่งผลถึงลูกในครรภ์ได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรพักผ่อนมาก ๆ และหากิจกรรมผ่อนคลายทำ เพื่อช่วยคลายความเครียด

 

  • คัดเต้านม

เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ จะมีอาการเจ็บหน้าอก และคัดตึงเต้านม เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจน ที่จะเพิ่มระดับขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บหน้าอก และคัดตึงเต้านมนั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตั้งครรภ์ 2 เดือนตรวจครรภ์ได้หรือยัง?

คุณแม่สามารถตรวจครรภ์ได้ตั้งแต่ 5 วัน เป็นต้นไป เพราะในปัจจุบันมีเครื่องตรวจครรภ์ที่สามารถตรวจรู้ผลได้ภายใน 5 วัน แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรรอให้แน่ใจสัก 7-10 วัน เพื่อให้ผลการตรวจแม่นยำมากขึ้น เพราะเวลาตรวจครรภ์ที่คุณแม่จะตรวจนั้น ควรเป็นช่วงที่ตัวเองจะมีประจำเดือน เพราะจะทำให้ผลการตรวจดี และแม่นยำมากขึ้นไป นอกจากนี้คุณแม่สามารถตรวจครรภ์ได้ง่าย ๆ ด้วยการซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจเองที่บ้าน เพราะเป็นวิธีที่สะดวกสบาย และรู้ผลได้รวดเร็วสุด อีกวิธีหนึ่งคือการตรวจโดยใช้เลือด ซึ่งจะเป็นการตรวจที่แม่นยำกว่า ทั้งนี้คุณแม่ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาล และอาจต้องใช้เวลาในการประมวลผลยาวนานกว่าการใช้ที่ตรวจครรภ์

 

การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง 2 เดือน

เมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ 2 เดือน คุณแม่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายต่าง ๆ ดังนี้

  • หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น

คุณแม่จะมีเต้านม และหัวนมขยายใหญ่ขึ้น เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ซึ่งจะทำให้ต่อมผลิตน้ำนมขยายตัว จนส่งผลให้เต้านม และลานนมใหญ่ขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้คุณแม่อาจมีอาการเจ็บ และคัดตึงเต้านมได้ง่ายอีกด้วย

 

  • หน้าท้องหนาขึ้น

จากการที่มดลูกของคุณแม่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ช่วงท้องเริ่มพองขึ้น จนทำให้คุณแม่รู้สึกตัวหนากว่าเดิม คุณแม่จึงควรใส่ชุด และกางเกงที่หลวม ๆ ใส่สบาย เพื่อทำให้ไม่รู้สึกอึดอัด และรัดหน้าท้อง

 

  • มดลูกขยายตัว

ในช่วงนี้มดลูกของคุณแม่เริ่มขยายตัวมากขึ้น จนทำให้มีอาการหน่วงบริเวณท้องน้อย ทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บท้องน้อยได้ง่าย ๆ และรู้สึกเสียวแปลก ๆ เวลาเคลื่อนไหว ส่งผลให้ทำงานช้ากว่าปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง? นัดตรวจครรภ์ทุกไตรมาส

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์ 2 เดือน

พัฒนาการของทารกในช่วง 2 เดือน (5-8 สัปดาห์) จะมีอวัยวะบนหน้า ที่ชัดเจนมากขึ้น โดยจะมีรอยเว้าบริเวณศีรษะทั้งสองข้าง ซึ่งจะพัฒนาเป็นหูในช่วงต่อไป คุณแม่จะเริ่มเห็นส่วนที่จะพัฒนาเป็นปาก ตา จมูก แขน และขาชัดเจนขึ้น ในขณะที่ส่วนนิ้วมือ และนิ้วเท้า จะมีลักษณะคล้ายพังผืด นอกจากนี้ระบบการทำงานของลูกน้อย อย่างเช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบย่อยอาหาร ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบปัสสาวะจะพัฒนาต่อเนื่อง และกระดูกจะเริ่มแข็งแรง ถึงแม้ทารกจะเริ่มมีการเคลื่อนไหว แต่คุณแม่ก็จะยังไม่รู้สึกอะไรค่ะ

 

วิธีดูแลสุขภาพของแม่ท้อง 2 เดือน

  • ไปตรวจครรภ์ตามกำหนด

คุณแม่ควรไปตรวจครรภ์ตามที่แพทย์กำหนด เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติ และลูกน้อยในครรภ์ หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ ปวดศีรษะ และอาเจียน ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อให้ที่แพทย์จะได้ให้คำแนะนำ และจัดยาให้คุณแม่อย่างเหมาะสม

 

  • รับประอาหารที่มีประโยชน์

ช่วงตั้งครรภ์ 2 เดือน คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของทารกในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ธัญพืช และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ นอกจากนี้คุณแม่ควรเลือกทานอาหารที่มีสารอาหารสำคัญอย่าง ธาตุเหล็ก โฟลิก และแคลเซียม เพื่อเป็นการบำรุงร่างกายตัวคุณแม่เอง และลูกในท้องด้วย

 

  • ดื่มน้ำมาก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ

แน่นอนว่าการดื่มน้ำช่วยให้ร่างกายของเราได้รับประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการท้องผูก นอกจากนี้คุณแม่ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะในช่วงนี้อาจรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกตินั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารบำรุงครรภ์ 3 เดือนแรก บํารุงครรภ์ไตรมาสแรก แม่ท้องอ่อน ต้องกินอะไร

 

 

  • ออกกำลังกาย

คุณแม่ควรออกกำลังกายเพื่อปรับสมดุลร่างกาย และอารมณ์ และยังช่วยป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน โดยคุณแม่สามารถออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การเดิน ว่ายน้ำ โยคะ และพิลาทิส อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เพื่อการนอนหลับที่ดี ลดอาการปวดหลัง และช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดได้

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน

การดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนในช่วงตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านร่างกาย และระบบประสาทของทารกในครรภ์ได้ พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตรได้

 

  • งดการสูบบุหรี่

อย่างที่รู้กันว่าการสูบบุหรี่อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์ พิการแต่กำเนิด น้ำหนักแรกเกิดน้อย และมีปัญหาในด้านการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังเสี่ยงที่จะนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด และเสียชีวิตเฉียบพลันได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการคนท้องที่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 15

อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 3 เดือน เป็นอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 17

อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 4 เดือน มีอาการอะไรบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 18

ที่มา : pampers, enfababy, hellokhunmor, mamastory

บทความโดย

Jitawat Jansuwan