อาการคนท้องที่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก 100 สิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้ ตอนที่ 15

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงแรกของ การตั้งครรภ์ ถือว่าเป็นเวลาที่สำคัญมากสำหรับแม่ตั้งท้อง นั้นเพราะมันเป็นเวลาที่หลาย ๆ อย่างมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและอารมณ์ แถมยังเป็นช่วงระยะเวลาที่ตัวอ่อนในครรภ์เริ่มมีการเจริญเติบโต ซึ่งวันนี้ theAsianparent Thaland พามาเช็ค อาการคนท้องที่ตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 15  ท้องได้หนึ่งเดือน ควรรู้อะไรบ้าง มีอาการไหนที่แสดงให้เห็นในช่วงนี้ มาเช็คไปพร้อมกัน

 

 

ประจำเดือนขาด

โดยปกติแล้วประจำเดือนของผู้หญิงจะมีระยะเวลา 21-35 วัน และจะมาใกล้เคียงกันทุกเดือน แต่หากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 10 วัน ก็สามารถเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่า “กำลังตั้งครรภ์” เนื่องจากไข่กับตัวอสุจินั้นมีการปฏิสนธิกัน โดยร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จำนวนมากออกมา นั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ผนังมดลูกหลุดออกมาเป็นประจำเดือน อย่างไรก็ตามการที่ประจำเดือนขาด บางครั้งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนหรือภายในมดลูกได้ ดังนั้น ควรทำการตรวจเพื่อความแน่ใจอีกครั้งจะดีที่สุด

 

อ่อนเพลีย

เนื่องจากร่างกายต้องใช้พลังงาน มากขึ้นเพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ จึงทำให้แม่ท้องรู้สึกว่ามีแรงน้อยลง เมื่อยล้า และ มีอาการอ่อนเพลียได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 วิธีรับมือลดอาการอ่อนเพลียระหว่างตั้งครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีตกขาวมากผิดปกติ

ในช่วงการตั้งครรภ์ สรีระและฮอร์โมนในร่างกายจะมีการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้มีการตกขาว ในปริมาณที่มากขึ้นกว่าปกติ แต่อย่าเพิ่งตกใจถ้าลักษณะของการตกขาวเป็นมูกเหลวสีขาวขุ่นหรือครีมเพราะนั่นก็ถือเป็นสภาวะปกติไม่มีอันตรายแต่อย่างใด เนื่องจากบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดจะมีการสร้างของเหลวออกมาเพื่อหล่อลื่นบริเวณปากช่องคลอด แต่ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ก็ควรดูแลรักษาทำความสะอาดช่องคลอด เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้น

 

มีเลือดซึมออกมาจากช่องคลอด

หากแม่เห็นเลือดซึมออกมาจากช่องคลอด แต่ไม่ใช่ประจำเดือนอย่าเพิ่งตกใจ เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ในระยะแรก เนื่องจากร่างกายอยู่ในสภาวะปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการปฏิสนธิภายในมดลูก ในช่วง 11-12 วันหลังปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะฝังในเยื่อบุโพรงมดลูก อาจทำให้คุณแม่บางคนมีเลือดสีแดงจาง ๆ หรือ ชมพู ปริมาณไม่มาไหลออกมาจากช่องคลอดได้ และเลือดนี้จะหยุดไหลไปเองใน 1-2 วัน หากไม่มีอาการปวดเกร็งก็ไม่น่าเป็นห่วง แต่หากเลือดไหลไม่หยุดและมีอาการปวดเกร็งท้องร่วมด้วยควรไปพบแพทย์ทันที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หน้าอกขยาย

แม่ท้องหลายคนหน้าอกจะเริ่มขยายในช่วงตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้นทำให้หน้าอกอ่อนนุ่ม เพื่อรองรับการให้นมลูกในอนาคต อีกทั้งบริเวณหัวนมจะเริ่มมีสีคล้ำขึ้น หน้าอกจะเริ่มขยาย และ ไวต่อการสัมผัส รวมถึงบางครั้งอาจจะมีอาการเจ็บตึงด้วย

 

ปวดหัว เวียนศีรษะ

อาการปวดหัว เป็นหนึ่งในสัญญาณของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในร่างกาย และการปรับตัวตามธรรมชาติในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งการปวดหัวในระยะสัปดาห์แรกนั้น บางคนอาจจะมีการปวดบ่อยขึ้น เพราะอาจจะมาจากความเครียด หรือมีอาการภูมิแพ้ทำให้ปวดหัวจากการตั้งครรภ์รุนแรงกว่าปกติ ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตัวเองท้อง ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตัวเอง ทั้งเรื่องอาหารการกิน และการดื่มน้ำ รวมถึงต้องพักผ่อนให้เยอะ ๆ ทำจิตใจให้สบาย และงดเล่นโทรศัพท์บ่อย ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมรู้สึกเวียนหัวตอนตั้งครรภ์ เวียนหัวบ่อย มีสาเหตุที่เเตกต่างกันออกไปอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คัดเต้าและเจ็บหัวนม

อาการตึงคัดเต้านมเป็นอาการที่แสดงออกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์กำลังเกิดขึ้น คุณแม่บางคนจะเริ่มรู้สึกตึงคัดหรือเจ็บบริเวณหัวนมเล็กน้อย สามารถรับรู้ความรู้สึกนี้ได้ตั้งแต่ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์แรก เต้านมจะขยายขนาดขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส แต่บางคนกลับขยายไม่ใหญ่มากนัก ในการตั้งครรภ์ท้องแรกเต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ในท้องต่อ ๆ ไป การเปลี่ยนแปลงจะไม่ชัดเจนมากนัก อาการคันหรือแตกลายอาจเกิดจากเต้านมมีการขยายรวดเร็ว ดังนั้น คุณแม่ควรใช้โลชั่นทาบริเวณเต้านมด้วย โดยสาเหตุที่คัดเต้าเพราะฮอร์โมนมีการทำงาน โดยบริเวณลานนมจะกว้างขึ้นและมีเส้นเลือดดำสีเขียว ๆ กระจายอยู่รอบ

 

ปวดหลัง

ปวดหลังตอนท้อง เป็นอาการที่แม่ท้องส่วนใหญ่ต้องเผชิญ ซึ่งการปวดหลังตอนท้องนั้น จะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยส่วนใหญ่จะมาจากการขยายตัวของกล้ามเนื้อส่วนกลาง ที่เป็นผลมาจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับทารกตัวน้อยที่กำลังเติบโตภายในร่างกาย รวมถึงอาจจะมีอาการตะคริวร่วมด้วย โดยอาการเหล่านี้นับว่าเป็นอาการปกติของคนท้อง และอาการปวดหลังสามารถเกิดได้ตลอดเวลาในการตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักตัวที่มากขึ้นทำให้ศูนย์กลางของการทรงตัวเปลี่ยนไป วิธีการรับมือคือปรับเปลี่ยนด้วยท่านอน เป็นตะแคง ใช้หมอนข้างสำหรับวางขา เลือกที่นอนที่แข็งพอดี และไม่นุ่มจนเกินไป

 

 

เข้าห้องน้ำบ่อย

อาการเข้าห้องน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย เป็นสัญญาณที่แสดงว่าร่างกายกำลังมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โหมดการตั้งครรภ์แล้ว โดยในช่วงนี้แม่ท้องอาจจะต้องลุกเข้าไปเข้าห้องน้ำบ่อย เนื่องจากในระหว่างการตั้งครรภ์ใหม่หรือในช่วง 3 เดือนแรก ร่างกายจะสร้างของเหลวในร่างกายมากขึ้น มดลูกที่ขยายขนาดจากการตั้งครรภ์ต้องการเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากกว่าปกติ จึงทำให้ไตทำงานหนักมากกว่าปกติ เพราะปริมาณของเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น มีเลือดผ่านไตมากกว่าเดิม ทำให้ไตกลั่นกรองเอาปัสสาวะมามากขึ้น ในขณะเดียวกันมดลูกที่อยู่ติดกับด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เบียดและกดทับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้แม่ท้องปัสสาวะบ่อยมากขึ้น แต่เมื่อถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์มดลูกจะอยู่สูงขึ้น

 

อยากทานอาหารแปลก ๆ

ในช่วงแรกของ การตั้งครรภ์ แม่ท้องอาจมีการรับรู้ รสชาติอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป จนอาจทำให้รู้สึกว่า ทานอะไรก็ไม่อร่อย บางทีก็อยากทานของแปลก ๆ อย่างเช่นอาหารที่มีรสเปรี้ยว หรือ อาหารที่แม่ท้องอาจไม่ได้รู้สึกว่าอยากกินมาก่อน

ท้องผูก ท้องอืดมากกว่าปกติ

อาการท้องผูก ท้องอืด รู้สึกไม่สบายท้อง เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อเข้าสู่สภาวะการตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนโปสเจสเตอโรน (Progesterone) ที่สูงขึ้น ทำให้ระบบย่อยอาหารเปลี่ยนแปลง และยังทำให้เกิดการขยายตัวของมดลูกที่ไปเบียดเข้ากับลำไส้ใหญ่ส่งผลให้การบีบตัวของลำไส้ลดลง ทำให้อาการย่อยยาก ย่อยได้ช้าลง มีลมในกระเพาะมาก ซึ่งอาการนี้นับเป็นสภาวะปกติของคนท้อง ซึ่งแม่ท้องสามารถบรรเทาอาการท้องอืด ท้องผูก ได้ด้วยการกินอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ดื่มน้ำให้เพียงพอ ลดเครื่องดื่มอัดลม และเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนม เน้นออกกำลังกายเบา ๆ ก็จะช่วยแก้ไขอาการได้

หายใจถี่

เมื่อรู้สึกมีอาการหายใจถี่ เหนื่อยง่ายในขณะทำงานที่ต้องใช้แรงงาน เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตในครรภ์ มีความต้องการออกซิเจนจากคุณแม่ และเมื่อทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตมากขึ้นจะมีแรงกดดันต่อปอดและกะบังลม ส่งผลทำให้แม่ท้องมีอาการหายใจถี่แบบนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอดการตั้งครรภ์

จมูกไวต่อกลิ่น

เมื่อเข้าสู่ช่วงตั้งครรภ์ มีอาการที่จมูก ของแม่ท้องจะไวต่อกลิ่นทุกชนิดมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Super Smell เป็นพิเศษ บางครั้งก็อาจทำให้แม่ท้องรู้สึก เหม็น หรือจู่ ๆ ก็ไม่ชอบกลิ่นที่คุ้นเคย จนเกิด อาการคลื่นไส้อาเจียนได้ บางครั้งก็เหม็นน้ำหอม เหม็นอาการ เหม็นตัวสามี ก็เป็นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

ถ้ารู้สึกถึงอารมณ์แปรปรวน แกว่ง ๆ ขึ้น ๆ ลง ๆ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย มีอาการหงุดหงิดง่าย อารมณ์อ่อนไหว ขี้น้อยใจ หรือ ห้องไห้เก่ง ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อาการเหล่านี้อาจจะบ่งบอกถึงสภาวะของการตั้งครรภ์ในระยะแรกของคุณแม่มือใหม่ โดยภาวะอารมณ์นี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งร่างกายของคุณแม่กำลังปรับสมดุลอยู่จึงทำให้สภาวะอารมณ์ไม่คงที่ หากผ่านช่วงนี้ไปอารมณ์ก็จะเข้าสู่สภาวะปกติ หากเครียดและไม่รู้จะทำอะไร แนะนำให้แม่ท้องทำอะไรให้เกิดความผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง นั่งสมาธิ

 

ความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง

อาการคนท้องในช่วงแรกนั้นมีผลทำให้กระทบสภาวะอารมณ์ ทำให้แม่ท้องบางคนอาจจะมีการแปรปรวนในเรื่องของทางเพศ เช่น บางคนอาจจะมีความต้องการทางเพศที่ลดลง ในขณะบางคนก็สูงขึ้น ซึ่งอาการนี้จะกลับสู่สภาวะปกติในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์

 

กรดไหลย้อน

คนท้องส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคนี้โดยเฉพาะคุณแม่ที่ทานอาหารเสร็จแล้วนอนเลย เนื่องจากว่ากรดในกระเพาะอาหารไหลเข้าสู่หลอดอาหารทำให้เกิดอาการแน่น จุกเสียดท้อง วิธีป้องกัน คือ คุณแม่ต้องแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ หลีกเลี่ยงอาหารทอด ผลไม้รสเปรี้ยว ช็อกโกแลต และอาหารที่มีรสเผ็ด

 

การดูแลตัวเองของคนท้องในเดือนแรก

เข้าฝากครรภ์กับแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านหรือที่ทำงาน ทำการตรวจประเมินสุขภาพของคุณแม่และครรภ์ เพื่อให้คุณหมอตรวจหาความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ ดูอายุครรภ์ของทารก ตรวจหาความผิดปกติอื่น ๆ และรับยาบำรุงครรภ์ เพื่อที่ลูกน้อยในครรภ์จะได้เติบโตอย่างสมบูรณ์ และปลอดภัย

 

อาการแพ้ท้องในเดือนแรกของแต่ละคนมีมากน้อยไม่เท่ากันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว คุณแม่ไม่ต้องตกใจหากยังไม่มีอาการตามข้อความข้างต้นที่ได้ระบุไป ส่วนท่านใดที่รู้สึกว่าอาการแพ้ของตัวเองหนักหน่วงเกินไปจนเกินรับมือ แนะนำให้เข้าปรึกษาคุณหมอด่วนเลยนะคะ บางครั้งร่างกายอาจส่งสัญญาณการขาดโปรตีนชนิดใดชนิดหนึ่งหรือวิตามินอยู่ก็ได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์ที่ควรมาพบแพทย์ ถ้ามีอาการ 8 ข้อนี้ ไปหาหมอด่วน

อาการคนเริ่มท้อง เป็นยังไง ดูยังไงว่าตัวเองท้องหรือไม่ ภาวะตั้งครรภ์ปกติหรือเปล่า

อาการตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ที่มา : bccgroup-thailand.com

บทความโดย

bossblink