X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อย่ารอช้า!!!ปฏิบัติตนแบบนี้เมื่อเจ็บท้องคลอด

บทความ 3 นาที
อย่ารอช้า!!!ปฏิบัติตนแบบนี้เมื่อเจ็บท้องคลอด

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะในช่วงเดือนที่ 8 – 9 ต้องเฝ้าระวังในช่วงใกล้คลอด แม้คุณหมอจะกำหนดวันคลอดมาให้แล้วก็ตาม แต่โอกาสคลอดอาจเกิดขึ้นได้ แล้วถ้าเกิดอาการน้ำเดินหรือเกิดอาการต่าง ๆ ที่บ่งชี้ว่าจะคลอดแล้ว ทำยังไงดี อย่ารอช้า!!!ปฏิบัติตนแบบนี้เมื่อเจ็บท้องคลอดนะคะ ติดตามอ่าน

อาการเริ่มต้นที่คุณแม่ควรสังเกต

การปฏิบัติตนเมือ่เจ็บท้องคลอด

อาการเจ็บท้องคลอด  เกิดจากร่างกายหลังฮอร์โมนออกซีโตซินออกมากระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณมดลูกให้มีการหดรัดตัว  และผ่อนคลายเป็นจังหวะ ดังนั้น  มดลูกจะบีบตัวรุนแรงขึ้นขณะที่ศีรษะของเจ้าตัวน้อยเริ่มเคลื่อนต่ำลงมาบริเวณคอมดลูกรอคอยการออกมาดูโลกแล้วค่ะ

1. อาการเริ่มต้นเจ็บท้องคลอดในช่วงเริ่มต้น คล้ายกับการปวดท้องเวลาที่มีประจำเดือน อาจรู้สึกปวดท้อง ปวดหลัง

2. คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการท้องเสียหรือคลื่นไส้อาเจียน มีมูกไหลออกมาทางช่องคลอด น้ำคร่ำเดินและเริ่มเจ็บท้องคลอดเพราะมดลูกเกิดการหดตัว

3. สำหรับบางท่านอาจจะไม่มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดในระยะเริ่มต้นก็ได้นะคะ เพราะบางครั้งมูกจะออกมาในระยะอื่นของการเจ็บท้องคลอดก็ได้

4. สำหรับอาการน้ำเดิน คือ การมีน้ำคร่ำไหลออกมาทางช่องคลอด น้ำคร่ำทำหน้าที่รองรับตัวลูกน้อยในท้องคุณแม่  และเมื่อร่างกายคุณแม่พร้อมคลอดแล้ว ถุงน้ำคร่ำจะแตกออกและน้ำคร่ำจะไหลออกมาทางช่องคลอด  ซึ่งคุณแม่บางท่านจะไหลออกมามากบางท่านไหลออกมาน้อย

5. อาการเจ็บท้องคลอดเกิดจากการหดรัดตัวและผ่อนคลายเป็นจังหวะ ๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณท้องและหลังของคุณแม่ และคุณแม่จะรู้สึกเจ็บมากกว่าอาการท้องแข็งในช่วงตั้งครรภ์

Advertisement

6. หากเข้าสู่ระยะเจ็บท้องคลอดแล้ว มดลูกจะหดรัดตั้งรุนแรงขึ้น นานขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ

อย่ารอช้า!!!ปฏิบัติตนแบบนี้เมื่อเจ็บท้องคลอด

การปฏิบัติตนเมือ่เจ็บท้องคลอด

1. ให้คุณพ่อหรือคนในบ้าน หากอยู่ที่ทำงานให้เพื่อนร่วมงานโทรแจ้งไปยังโรงพยาบาลว่า กำลังเริ่มเจ็บท้องคลอดในช่วงเริ่มต้นแล้ว  ทางโรงพยาบาลซึ่งอาจจะเป็นนางพยาบาลแผนกสูติฯ จะสอบถามว่ามดลูกเริ่มบีบรัดตัวเป็นจังหวะทุก ๆ กี่นาที  และควรรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

2. แน่นอนว่าช่วงเวลานี้คุณพ่อและคุณแม่ต้องตื่นเต้นมาก ๆ แต่ต้องพยายามควบคุมตัวเองให้สงบและผ่อนคลาย เพื่อให้คุณแม่รู้สึกอุ่นใจ เก็บกระเป๋าสัมภาระสำหรับคลอดที่เตรียมไว้เพื่อไปโรงพยาบาล ระหว่างทางชวนคุณแม่พูดคุยเพื่อให้คุณแม่คลายความกังวล

3. เมื่อถึงโรงพยาบาล คุณพ่อจัดการติดต่อกับทางแผนกสูติฯ  ทางโรงพยาบาลจะดำเนินการเรื่องห้องเพื่อพาคุณแม่เข้าไปพักผ่อน คุณพ่อควรพูดคุยให้กำลังใจ  คอยชักชวนให้คุณแม่เปลี่ยนท่านอน และคอยเตือนคุณแม่ให้อยู่ในท่าตัวตรงตั้งฉากกับพื้นจะช่วยเร่งปากมดลูกให้เปิดเร็วขึ้น

4. เตรียมน้ำดื่มเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำที่อาจเกิดขึ้น เพราะมีอาการอ่อนเพลียจากการเจ็บท้อง ถ้ารู้สึกว่าลมหายใจคุณแม่มีกลิ่นแสดงว่าคุณแม่เริ่มขาดน้ำ  ควรเตือนให้คุณแม่จิบน้ำบ่อย ๆ

5. คอยเตือนให้คุณแม่ผ่อนคลาย ให้หายใจช้า ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่คุณแม่ปวดจนมีอาการเกร็ง

6. หากมีอาการปวดหลัง ให้คุณพ่อใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าขนหนูประคบบริเวณที่ปวด หรือใช้วิธีการนวด โดยกำมือหรือใช้สันมือกดนวดบริเวณที่ปวดและบริเวณใกล้เคียง

7. คุณพ่อควรควบคุมอารมณ์และความรู้สึก หากเวลาที่คุณแม่ร้องปวดท้องคลอด เพราะการร้องจะช่วยให้คุณแม่ระบายความเจ็บปวดได้

8. คอยบอกสถานการณ์ ความก้าวหน้าในการคลอดให้คุณแม่รู้เพื่อเป็นกำลังใจในการคลอด

9. ให้กำลังใจคุณแม่และชื่นชมคุณแม่เมื่อลูกคลอดแล้ว

บทความแนะนำ  ความภูมิใจของคนเป็นแม่ในวินาทีแรกคลอด

จากบทความขั้นตอนต่าง ๆดำเนินมาจนเสร็จเรียบร้อย  คราวนี้เหลือการปฏิบัติจริงที่คุณแม่จะต้องลงมือปฏิบัติ อย่ากังวลไปค่ะ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวแม้ว่าจะมีอาการเจ็บปวดบ้างแต่ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขนะคะ  นึกถึงหน้าเจ้าหนูเอาไว้ เดี๋ยวได้เจอกันแล้วค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ เตรียมตัวคลอดอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

ปากมดลูกเปิดเป็นยังไง สัญญาณใกล้คลอดที่ควรรู้

เชื่อไหมว่าฉันคลอดลูกเองที่บ้าน

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อย่ารอช้า!!!ปฏิบัติตนแบบนี้เมื่อเจ็บท้องคลอด
แชร์ :
  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว