สุขภาพพ่อแม่ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากเจ็บป่วยขึ้นมาอาจจะทำให้ลูกน้อยติดอาการเหล่านั้นได้ เรามาดูเคล็ดลับดูแล สุขภาพพ่อแม่ กันเลยค่ะ
เคล็ดลับดูแลสุขภาพ
สุขภาพพ่อแม่
เริ่มต้นจากตอนตื่นนอนให้บิดขี้เกียจก่อน 1 ครั้ง การบิดขี้เกียจถือว่าเป็นกิจวัตรประจำวันที่จะกลายมาเป็นส่วนเสริมความสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่สุขภาพร่างกาย เป็นการบริหารร่างกายด้วยท่าที่ง่ายพร้อมกับการหายใจเข้า-ออกอย่างช้า ๆ ผสมผสานกับการยืดและคลายของกล้ามเนื้อทุกอิริยาบถ ทำให้จิตใจสงบเมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องประจำ
- การขับถ่ายของเสียจากร่างกาย
ทำให้เรารู้สึกปลอดโปร่ง เบาสบาย ผิวพรรณเปล่งปลั่ง จิตใจผ่องใส และช่วยป้องกันความเจ็บป่วยโดยตอนตื่นเราอาจจะบิดขี้เกียจ 1 ครั้งแล้วต่อด้วยการโยคะประมาณ 15 นาที เพียงเท่านี้ ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในวันทำงานแล้ว
แนะนำว่าให้ออกกำลังกายหนักประเภทเข้ายิมหรือฟิตเนส บริหารร่างกายให้สามารถเรียกเหงื่อได้ ประมาณ 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าในกรณีที่จะต้องเดินทางไปทำงานต่างที่ มีพื้นที่จำกัดและไม่สามารถเข้ายิมหรือฟิตเนสได้ ก็ควรจะออกกำลังกายแบบ Body Weight แทน คือ ยกดรัมเบลอยู่กับที่ ออกกำลังกายประเภทที่ใช้พื้นที่ไม่เยอะมาก ก็สามารถบริหารร่างกายได้ดีแม้มีพื้นที่จำกัด
นอกจากสุขภาพร่างกายแล้ว ให้ดูแลบำรุงสุขภาพใจด้วย แนะนำว่าให้ฝึกสมาธิ รับรู้ในทุกขณะจิต ฝึกการรับฟังให้มากเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างมีสติ เคล็ดลับ คือ การนำเอาหลักธรรมมะของพระพุทธศาสนาเข้ามาช่วยให้ เราสามารถคิดวิเคราะห์เรื่องต่างๆ ได้อย่างละเอียดอ่อนและมีหลักธรรม รู้จักปล่อยวาง ทั้งนี้นอกจากดูแลสุขภาพใจตนเองให้ดีแล้ว ก็ต้องหมั่นดูแลสุขภาพใจบุคคลรอบข้างด้วย สำหรับท่านที่อยู่ไกลกันหรือไม่ค่อยได้อยู่ด้วยกัน ก็ควรติดต่อสื่อสารหากันอย่างสม่ำเสมอ ใช้วิธีการแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ด้วยคำพูดดี ๆ เล่าสู่กันฟังจะสามารถก่อให้เกิดความรู้สึกด้านบวกมากยิ่งขึ้น
เน้นการรับประทานผักและผลไม้ให้มาก จะทำให้นอนหลับสบาย ขับถ่ายปกติ หรือทานวิตามินเสริมมาเป็นตัวช่วยก็ได้ เช่น วิตามินในส่วนที่เราขาดในการบำรุงต่างๆ วิตามินซี วิตาบี หรือ วิตามินรวม
เพราะการน้ำดื่มเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างสุขภาพที่ดีให้กับเราได้ นอกจากจะทำให้เรารู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าแล้ว ยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ช่วยบรรเทาความเมื่อยล้า ช่วยระบบการเผาผลาญและทำให้ผิวสุขภาพดียิ่งขึ้นด้วย
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
เช่น ไวน์ เหล้า แอลกอฮอล์ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง หัวใจ สมองฝ่อ น้ำหนักเกิน ไม่ดีกับตับ มีผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูกในระยะยาว
การนอนหลับถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เพราะช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังที่สึกหรอ ปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย การนอนหลับยังช่วยให้อวัยวะต่างๆได้หยุดพักหรือทำงานน้อยลง ลดการเกิดอนุมูลอิสระ ในขณะที่นอนหลับ ร่างกายยังมีการหลั่งเมลาโทนิน ซึ่งช่วยให้เราหลับสบาย ปรับสภาพอารมณ์ให้เป็นปกติ ชะลอความแก่
คุณพ่อ คุณแม่อาจเผลอใช้ช้อนส้อมตักอาหารให้กัน ซึ่งการทำเช่นนี้เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคต่างๆ ให้กัน ดังนั้นควรใช้ช้อนกลาง นอกจากเพื่อสุขอนามัย ยังเป็นการสอนนิสัยที่ดีให้แก่ลูกอีกด้วย
- ดูแลทำความสะอาดของเล่นลูก
เด็ก ๆ มักไม่ค่อยระวังตัวเอง หยิบจับสิ่งต่างๆ มาเล่นแล้วมักใช้มือมาสัมผัสใบหน้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดของเล่นให้ลูก
- ทำความสะอาดร่างกายก่อนจะกอดหรืออุ้มลูก
เวลาคุณพ่อคุณแม่ออกไปทำงาน มีความเป็นไปได้ที่เชื้อโรคต่าง ๆ อาจติดมาตามเสื้อผ้าและร่างกาย ดังนั้นเมื่อกลับถึงบ้านคุณพ่อคุณแม่ควรรีบไปล้างมือ ล้างหน้า เปลี่ยนเสื้อผ้า หรือทางที่ดีควรอาบน้ำก่อนไปสัมผัสใกล้ชิดลูกเพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคไปติดลูก
ไม่อยากให้ลูกติดหวัด ป้องกันอย่างไร
สุขภาพพ่อแม่
- ให้ใส่หน้ากากปิดปากปิดจมูกเพื่อป้องกันไม่ให้ไอจามใส่คนอื่น
โรคหวัดติดต่อทางอากาศหรือทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ ที่ออกจากตัวผู้ป่วย เช่น ไอจามใส่กัน คนอื่นที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอ อาจจะนอนน้อยพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย ก็จะติดเชื้อหวัดได้ง่าย เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นหวัด หรือถ้าไม่อยากติดเชื้อหวัดจากใคร เวลาที่ต้องอยู่ในสถานที่ที่มีคนเยอะ รถโดยสารสาธารณะ ห้องประชุม โดยเฉพาะเวลามาโรงพยาบาลที่เป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค ควรใส่หน้ากากป้องกันไม่ให้รับเชื้อ ล้างมือบ่อย ๆ โอกาสในการติดหวัดก็จะน้อยลง
- ปรึกษาแพทย์หากเป็นบ่อยครั้ง
ถ้าหากเป็นหวัดแบคทีเรียที่มีต่อมทอนซิลอักเสบเกิน 6 ครั้งต่อปี หรือเกิน 2 เดือนครั้ง ให้ลองปรึกษาแพทย์หู คอ จมูกเพื่อพิจารณาผ่าตัดต่อมทอนซิลออก อาจจะทำให้เป็นหวัดน้อยลง หากเป็นหวัดบ่อยมาก ๆ เป็นเกือบทุกเดือน หรือเป็นหวัดเชื้อดื้อยา ให้กลับมาพิจารณาตนเอง ว่าได้ดูแลสุขภาพตัวเองบ้างหรือยัง ปล่อยให้ร่างกายอ่อนแอจนป่วยบ่อยหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นให้ปรับสมดุลชีวิตตนเองบ้าง จัดสรรเวลาในการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ลดความเครียดลง หรือทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น รับประทานอาหารเสริมที่เสริมภูมิคุ้มกันบ้าง
ตจรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง
- Complete Blood Count (CBC) ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
คือ การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง รูปร่างของเม็ดเลือดแดงเพื่อบ่งชี้ภาวะของโลหิตจาง และการตรวจนับเม็ดเลือดขาวเพื่อดูการติดเชื้อและภูมิต้านทานของร่างกาย รวมถึงการตรวจเกล็ดเลือดเพื่อดูความสามารถในการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
- Glucose การตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด
เพื่อทำการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็น โรคเบาหวาน และประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้เป็นเบาหวาน
- Hemoglobin A1C การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด
ของเดือนที่ผ่านมาเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน และประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้เป็นเบาหวาน
- Uric Acid คือ การตรวจวัดระดับยูริคในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐานของโรคเก๊าท์ โรคนิ่วในไต
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ระดับยูริคสูงขึ้น อาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักบางชนิด เช่น แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง ยอดผัก
- Blood Urea Nitrogen (BUN) คือ ตรวจการทำงานของไต
วัดระดับปริมาณของเสียที่ร่างกายปกติจะสามารถขับออกไปได้ หากคุณมีโรคไตจะทำให้มีการคั่งของ Creatinine ในร่างกาย ซึ่งเป็นสารที่บ่งบอกถึงการทำงานของไต
- Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase (SGOT/AST) คือ ตรวจการทำงานของตับ
เอนไซม์ที่พบได้จากเนื้อเยื่อของอวัยวะหลายชนิดได้แก่ หัวใจ กล้ามเนื้อ สมอง ตับอ่อน ม้าม และไต ซึ่งจะสูงขึ้นผิดปกติเมื่อมีการบาดเจ็บหรือการอักเสบของอวัยวะอันเนื่องมาจากการรับประทานยาบางชนิด หรือการบาดเจ็บของกระดูก เป็นต้น
- การตรวจไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี
เพื่อตรวจหาความเสี่ยงหรือภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งตับในอนาคต
แม่ป่วยเป็นโควิด-19 ให้นมลูกได้หรือไม่
สุขภาพพ่อแม่
คนทุกกลุ่มมีความเสี่ยงในการติดโควิด-19 รวมไปถึงแม่ที่ยังต้องให้นมบุตร อย่างไรก็ตามศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยออกมาระบุว่า เชื้อโควิด-19 จากแม่จะไม่แพร่ผ่านทางน้ำนม ดังนั้นแม่ยังสามารถให้นมลูกได้ แต่ต้องป้องกัน
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. ให้ข้อมูลโดยศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ระบุว่าการติดเชื้อไวรัสจากแม่จะไม่แพร่ผ่านทางน้ำนมหากแม่ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ดังนั้นแม่ยังสามารถให้นมลูกได้ แต่ต้องป้องกัน เช่นปั๊มนมใส่ขวดให้ลูกดื่ม หรือจำเป็นต้องให้นมจากเต้า ควรสวมหน้ากากอนามัยล้างมือและทำความสะอาดร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ
ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้เปลี่ยนไปให้ลูกกินนมผงเพราะไม่มีความจำเป็นและจะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายเด็กก็จะขาดสารอาหารอีกด้วย
ที่มา : (bangkokhospital),(paolohospital),(สำนักงานกองทุนสนันสนุนสร้างเสริมสุขภาพ)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย
ผักผลไม้ ป้องกันโรค กล้ามเนื้ออ่อนเเรง
วิธีลดความเครียด คลายเครียดจากการทํางาน การจัดการความเครียด กินอะไรคลายเครียด อาหารลดความเครียด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!