TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีเล่นกับลูกทารก เสริมความฉลาด กระตุ้นพัฒนาการง่าย ๆ ไม่ต้องใช้เงิน

บทความ 5 นาที
วิธีเล่นกับลูกทารก เสริมความฉลาด กระตุ้นพัฒนาการง่าย ๆ ไม่ต้องใช้เงิน

เทคนิคการเล่นกับลูกน้อยวัยทารก ที่จะช่วยเพิ่มความฉลาด ฉับไว เก่งกาจได้ตั้งแต่เล็ก ๆ

วิธีเล่นกับลูกทารก ส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกน้อยได้ง่าย ๆ เทคนิคการเล่นกับลูก โดยไม่ต้องซื้อของเล่นราคาแพง เพราะพ่อแม่คือของเล่นชิ้นแรกของลูก

วิธีเล่นกับลูกทารก เสริมความฉลาดให้ลูกวัยทารกได้ง่าย ๆ

การเล่น ถือเป็นการเรียนรู้ที่มีคุณค่าอย่างมากของเด็กทุกวัย ทั้งด้านสติปัญญา และความสัมพันธ์กับผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยไม่จําเป็นที่ลูกจะต้องมีของเล่นมากมาย เพราะคุณพ่อคุณแม่ถือเป็นของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก การเล่นกับลูกวัยทารกเพื่อส่งเสริมพัฒนาการนั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยมีคำแนะนำดังนี้ค่ะ

วิธีเล่นกับลูกทารก

ลักษณะการเล่นของเด็กทารกเป็นอย่างไร?

  • อันดับแรก เราควรทราบถึงหลักการในการเล่นตามช่วงวัยของทารกว่าจะมีลักษณะการเล่นที่เน้นการตอบสนองของระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัส แบบตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อน ในช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น ไม่เกิน 5 นาที
  • ยกตัวอย่างเช่น การให้เด็กได้มองเห็นสิ่งของที่มีสีสันสดใส หรือสัมผัสของที่สามารถบีบ เคาะ แล้วมีเสียงดังเกิดขึ้นทันที หรือเล่นจั๊กจี๋ให้เด็กหัวเราะเสียงดัง เป็นต้น

เทคนิคการเล่นกับลูกวัยทารก แบ่งได้ตามอายุ และพัฒนาการแต่ละช่วงวัยดังนี้

1. ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน

ในช่วงวัยนี้ ควรเน้นการเล่นที่ส่งเสริมการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสเป็นหลัก เช่น การสัมผัสจากคุณพ่อคุณแม่ ของเล่นที่มีสีสันสดใส หรือมีเสียงดังชัดเจน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกได้อย่างง่ายดาย แม้ขณะกำลังเลี้ยงลูก เช่น เปลี่ยนผ้าอ้อม หรืออาบน้ำให้ลูกก็สามารถสัมผัสลูกอย่างนุ่มนวล นวดผ่อนคลายให้ลูก เล่นปูไต่ พูดคุยกับลูก และร้องเพลงให้ลูกฟัง

2. ทารกวัย 4 ถึง 6 เดือน

ในช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูก อย่างมีจุดมุ่งหมายมากขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มสนใจร่างกายของตน และสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น เช่น สนใจมองการเคลื่อนไหวของแขนขาตนเอง เริ่มคว้าสิ่งของ และชอบสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกได้โดยหาสิ่งของในบ้านที่มีลักษณะผิวสัมผัสต่าง ๆ กันทั้งนุ่ม แข็ง เรียบ ขรุขระ มาให้ได้คว้าจับโดยแกว่งของล่อให้ลูกยื่นมือมาคว้า หรือแขวนของสิ่งนั้นไว้เหนือเตียงให้ลูกมอง และคว้า อุ้มลูกแล้วร้องเพลงที่มีการเคลื่อนไหวโยกตัวไปมา พูดคำสั้น ๆ ซ้ำ ๆ กับลูกให้ออกเสียงตามวิธีเล่นกับลูกทารก

3. ทารกวัย 7 ถึง 9 เดือน

เด็กวัยนี้จะเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง เข้าใจภาษามากขึ้น เข้าใจการหายไปของวัตถุ ที่เคยเห็นในสายตา สามารถหยิบของชิ้นเล็กได้ ด้วยนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นจ๊ะเอ๋กับลูก ร้องเพลงที่มีการตอบสนอง พร้อมท่าทางประกอบช่วยจับลูกให้เคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง ทำท่าต่าง ๆ ให้ลูกหัดทำตาม เช่น ปรบมือ บ๊ายบาย กระตุ้นให้ลูกคลาน หรือคืบ โดยเอาของเล่นมาวางตรงหน้า  เมื่อลูกเข้ามาใกล้ ก็จับของเล่นให้ห่างออกไป ใส่ของชิ้นเล็กที่ไม่อันตรายเช่น ลูกเกดในถ้วยเล็ก ๆ แล้วคว่ำปากถ้วยลง ให้ลูกหัดหยิบลูกเกดใส่ถ้วยเองทีละชิ้นด้วยนิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือ หรือให้ลูกกินสิ่งของต่าง ๆ ที่ออกจากกล่อง

4. ทารกวัย 10-12 เดือน

สำหรับวัยนี้ ทารกสามารถเข้าใจภาษา และสื่อสารได้ดีขึ้น เริ่มเคลื่อนไหวได้เองมากขึ้น โดยการเกาะยืน หรือเกาะเดินจนเดินก้าวแรกได้ คุณพ่อ คุณแม่สามารถเล่นกับลูกได้ โดยการพูดคุยเล่าเรื่องต่าง ๆ เล่านิทาน หรืออ่านหนังสือนิทานภาพสั้น ๆ ทําเสียงสัตว์ต่าง ๆ ให้ลูกทำตาม เช่นแมวร้อง เหมียว เหมียว ให้ลูกดูภาพต่าง ๆ แล้วชี้บอกว่า สิ่งนั้นคืออะไรซ้ำ ๆ ให้ลูกทำตามคำสั่งง่าย ๆ เช่น บ๊ายบาย หากลูกทำได้ ก็ให้รางวัลเช่น กอด เหมือนเป็นการเล่นเกม หาของที่ลูกสนใจมาตั้ง และชี้ชวนให้ลูกยืน และเกาะเดินไปหยิบเอง ให้ลูกรู้จักการหยิบผลไม้ชิ้นเล็ก ๆ ขึ้นมาทานเอง โดยเมื่อทำได้ก็ชมเชยและให้รางวัลอย่างสนุกสนาน เพียงเท่านี้ก็เป็นการเล่นง่าย ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกได้

วิธีเล่นกับลูกทารก

จะเห็นได้ว่า การเล่นกับลูกน้อยวัยทารกนั้น ไม่มีความจำเป็น ที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องอาศัยตัวช่วยเป็นของเล่นราคาแพงแต่อย่างใด สิ่งที่สำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ควรจะเล่นกับลูกด้วยความรัก ให้เวลาแก่ลูก และใช้เพียงสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวในบ้านที่ไม่เป็นอันตราย มาเล่นกับลูก เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้อย่างมีความสุขนะคะ

อ้างอิง : www.parents.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการสมองทารก พ่อแม่กระตุ้นดี ลูกได้ความฉลาดติดตัว

6 วิธีเล่นกับลูก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ

ทารกจํากลิ่นแม่ได้ ลูกที่ได้ดมกลิ่นแม่จะทำให้หลับง่ายและนอนนานขึ้น

หยุด!!! ก่อนทำร้ายลูกน้อย 6 เรื่องอันตราย ที่พ่อแม่ทุกคนต้องระวัง

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • วิธีเล่นกับลูกทารก เสริมความฉลาด กระตุ้นพัฒนาการง่าย ๆ ไม่ต้องใช้เงิน
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว