X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์ ช่วยลูกคลอดมาแล้วเลี้ยงง่าย อารมณ์ดี มีความสุข

บทความ 3 นาที
วิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์ ช่วยลูกคลอดมาแล้วเลี้ยงง่าย อารมณ์ดี มีความสุข

อยากให้ลูกในครรภ์คลอดออกมาแล้วเลี้ยงง่าย อารมณ์ดี เรามีวิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์มาฝาก

วิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์

ในช่วงที่ลูกน้อยค่อยๆเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ไม่เพียงแต่ร่างกายเท่านั้น ที่มีการเจริญเติบโต แต่ลูกน้อยยังมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจควบคู่กันไปด้วย ซึ่งตลอด 9 เดือนในท้องของคุณแม่นั้น ลูกจะสามารถเรียนรู้ และซึมซับอารมณ์ของคุณแม่ และกลายเป็นพื้นฐานทางด้านจิตใจของลูกต่อไปในอนาคต ดังนั้น การกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เรามาดูกันครับว่า วิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์ มีอะไรบ้าง

6 วิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์

 

วิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์

#1. แม่ท้องต้องคิดบวก

ระหว่างตั้งครรภ์นั้น การที่แม่ท้องคิดบวก มองโลกในทางสร้างสรรค์ จะช่วยให้ความรู้สึกนึกคิดในเชิงบวก ส่งผ่านไปยังทารกน้อยในครรภ์ แต่ในทางตรงกันข้าม หากแม่ท้องคิดแต่ในแง่ลบ หงุดหงิดง่าย มีแต่ความเครียด อารมณ์ด้านลบนี้ก็จะส่งผ่านไปถึงลูกในท้องได้เช่นกัน ดังนั้น หากแม่ท้องมองโลกในแง่ดี คิดและพูดเรื่องดีๆ ลูกน้อยก็จะได้รับสิ่งดีๆ และมีความสุขเหมือนคุณแม่นะครับ

#2. แม่ท้องต้องไม่เครียด

Advertisement

แน่นอนครับว่า คนอารมณ์ดี ย่อมมีความสุขกว่าคนอารมณ์ไม่ดีอยู่แล้ว จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า คุณแม่ที่มีอารมณ์ดีอยู่เสมอ จะทำให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่า เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ออกมา และส่งผ่านไปยังลูกในท้อง ทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี ทั้งทางด้านสมอง (IQ) และทางอารมณ์ (EQ)

ในทางตรงกันข้าม หากแม่ท้องเครียดอยู่ตลอด ร่างกายก็จะหลั่งสารที่เรียกว่า อะดรีนาลีน (Adrenaline) ออกมา และส่งผ่านไปยังลูกน้อย ทำให้ลูกคลอดออกมาเป็นเด็กงอแง เลี้ยงยาก พัฒนาการช้า ดังนั้น ถ้าอยากให้ลูกฉลาด เลี้ยงง่าย พัฒนาการดี แม่ท้องต้องไม่เครียดนะครับ

#3. หายใจลึกๆ

การหายใจลึกๆ เป็นวิธีที่แสนง่าย แต่ได้ผลดี เพราะหากแม่ท้องค่อยๆหายใจลึกๆ จะทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งลูกน้อยสามารถสัมผัสได้ถึงความผ่อนคลายของคุณแม่ ทำให้สารเคมีในสมองลูกมีการพัฒนา ช่วยปกป้องลูกน้อยจากฮอร์โมนความเครียด และยังช่วยให้ลูกจัดการกับความเครียดได้ดีเมื่อเขาโตขึ้นอีกด้วย

#4. พูดกับลูกในท้อง

ลูกในท้องสามารถได้ยินเสียงของคุณแม่ได้นะครับ เพราะฉะนั้น การคุยกับลูก จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกน้อย การพูดคุยกับลูกในครรภ์บ่อยๆ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ของทารกน้อยได้ดี ทำให้ระบบประสาท และสมองส่วนที่ควบคุมการได้ยิน มีพัฒนาการที่ดี

คุณแม่ควรพูดกับลูกในท้องบ่อยๆ ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล โดยอาจจะเรียกชื่อลูก หรือพูดประโยคเดิมซ้ำๆ อย่างเช่น “แม่รักหนูนะลูก” เพื่อให้ลูกคุ้นเคย  แต่อย่าไปเล่าเรื่องที่คุณกำลังไม่สบายใจ เช่น ไม่มีเงินใช้หนี้ หรือ ส่งแชร์ไม่ทัน ให้ลูกฟังล่ะ เพราะแทนที่ลูกจะมีความสุข กลายเป็นว่าจะเครียดเสียตั้งแต่อยู่ในท้องนะครับ

วิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์

#5. เล่นกับลูกในท้อง

การเล่นกับลูกในท้อง เป็นการช่วยกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ แถมยังช่วยให้ลูกหัวดีเมื่อคลอดออกมาด้วยนะครับ สำหรับ วิธีเล่นกับลูกในท้อง ก็ไม่ยากเลย โดยคุณแม่สามารถติดตามอ่านได้ในบทความตาม Link ที่อยู่ด้านล่างนี้นะครับ

>> วิธีเล่นกับลูกในท้อง ยิ่งเล่น ลูกยิ่งฉลาดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ <<

#6. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมในช่วงตั้งครรภ์  จะช่วยให้ลูกในท้องสงบและผ่อนคลาย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้ออกซิเจนไหลผ่านกระแสเลือดของลูกน้อยได้ดีขึ้น ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย โดยเฉพาะด้านสมอง โดยแม่ท้องอาจจะออกกำลังกายโดยการเดิน วันละประมาณ 20 – 30 นาที และหากได้ออกไปเดินรับแสงแดดอ่อนๆตอนเช้า หรือตอนเย็น ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจากแสงแดดอีกด้วย นอกจากนี้ แม่ท้องอาจเลือกออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ หรือเล่นโยคะ ตามที่คุณหมอแนะนำก็ได้นะครับ

ทราบถึง วิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์ กันไปแล้ว ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ถ้าคุณแม่ทำได้ตามวิธีข้างต้น ก็มีโอกาสที่ลูกจะเกิดมาเป็นเด็กอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย ไม่งอแง และหากคุณแม่ท่านใดที่มีประสบการณ์การกระตุ้นลูกน้อยในแบบต่างๆ ก็สามารถร่วมแชร์ประสบการณ์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อแม่ท้องท่านอื่นๆได้ ในช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้เลยนะครับ

parenttown

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

อยากมีครรภ์คุณภาพ ลูกในท้องแข็งแรง ต้องดูแลแบบนี้ แท็กสามีได้เลย

วิธีทำให้คลอดง่าย ช่วยแม่ท้องสบายก่อนเบ่งเจ้าตัวน้อย

ข้อห้ามคนท้อง เรื่องไหนต้องหยุด เพื่อลูกรอดแม่ปลอดภัย

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • วิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์ ช่วยลูกคลอดมาแล้วเลี้ยงง่าย อารมณ์ดี มีความสุข
แชร์ :
  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว