X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อยากให้ลูกในท้องเกิดมาฉลาด หัวไว สมองดี ทำอย่างไร?

บทความ 3 นาที
อยากให้ลูกในท้องเกิดมาฉลาด หัวไว สมองดี ทำอย่างไร?

อยากให้ลูกในท้องเกิดมาฉลาด อยากกระตุ้นให้ลูกฉลาดตั้งแต่อยู่ในท้อง เสริมสร้างสมองตั้งแต่ยังไม่คลอด ลองทำตามวิธีง่ายๆเหล่านี้ดู

อยากให้ลูกในท้องเกิดมาฉลาด หัวไว สมองดี ทำอย่างไร?

คุณพ่อคุณแม่ทุกคน ต่างก็ อยากให้ลูกในท้องเกิดมาฉลาด หัวไว สมองดี ด้วยกันทั้งนั้น ซึ่ง การกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของลูก ตั้งแต่อยู่ในท้องของคุณแม่นั้น สามารถทำได้หลายวิธี เรามาดูกันว่ามีวิธีอะไรบ้าง

#1. ลูบหน้าท้อง

การลูบท้อง จะช่วยในการกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกของลูกน้อย ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ในเวลาที่คุณแม่หรือคุณพ่อ ลูบ หรือสัมผัสทารกในครรภ์ผ่านทางหน้าท้องนั้น ผิวของทารกจะสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก โดยคุณแม่จะสังเกตได้ว่า ทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวโต้ตอบ เช่น รู้สึกว่าลูกน้อยขยับตัวไปตามมือของคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ลูบท้อง หรือรู้สึกเหมือนลูกเตะขาเพื่อตอบโต้ เหมือนกำลังเล่นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่

การลูบหน้าท้อง เป็นการส่งผ่านความรู้สึกไปยังลูกในท้อง โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะลูบเป็นวงกลม จากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบน บริเวณไหนก่อนก็ได้ ที่สำคัญ อย่าลืมใช้หัวใจและความรู้สึกส่งผ่านมือตอนที่ลูบไปด้วยนะครับ

#2. ส่องไฟที่หน้าท้อง

คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มส่องไฟที่หน้าท้อง เพื่อกระตุ้นสมองและการมองเห็นของลูกในครรภ์ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 7 เดือน เพราะในช่วงนี้ เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์สามารถกะพริบตา  เพื่อตอบสนองต่อแสงไฟได้แล้ว

การส่องไฟที่หน้าท้องจะทำให้เซลล์สมองและประสาทส่วนรับภาพและการมองเห็นมีพัฒนาการที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการมองเห็นหลังจากที่คลอดออกมาแล้ว แต่การส่องไฟฉายที่ท้อง ไม่จำเป็นต้องเล็งให้แสงเข้าตรงกับนัยน์ตาของลูก  เพียงแค่ให้ลูกรู้ว่ามีแสงส่องเข้ามาก็น่าจะพอแล้วละครับ

สำหรับไฟฉายที่จะนำมาใช้สำหรับส่องท้องนั้น ควรเป็นแบบ 2 ท่อน 3 ท่อน หลอดธรรมดา ห้ามใช้แบบหลอดแรงสูงเด็ดขาด เพราะแสงที่จ้าเกินไปแทนที่จะเป็นผลดี แต่กลับจะทำให้เกิดอันตรายต่อจอประสาทตาของทารกได้นะครับ และหากใช้ไฟฉายส่องที่หน้าท้องแล้วทารกในครรภ์มีการตอบสนอง เช่น เตะ ถีบหน้าท้อง หรือ ลูกดิ้น นั่นก็หมายความว่าลูกน้อยสามารถรับรู้ได้และเกิดการตอบสนองนั่นเอง

อยากให้ลูกในท้องเกิดมาฉลาด

#3. พูดกับลูกในท้อง

ทราบหรือไม่ครับว่าลูกในท้องนั้น สามารถได้ยินเสียงของคุณได้ เพราะฉะนั้น การคุยกับลูก จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกน้อย การพูดคุยกับลูกในครรภ์บ่อยๆ จะช่วยให้ระบบประสาท และสมองส่วนที่ควบคุมการได้ยิน มีพัฒนาการที่ดี อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองได้อีกด้วยครับ

คุณแม่ควรพูดกับลูกในท้องบ่อยๆ ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล โดยอาจจะเรียกชื่อลูก หรือพูดประโยคเดิมซ้ำๆ อย่างเช่น “แม่รักหนูนะลูก” เพื่อให้ลูกคุ้นเคย  แต่อย่าไปเล่าเรื่องที่คุณกำลังไม่สบายใจ เช่น ไม่มีเงินใช้หนี้ หรือ ส่งแชร์ไม่ทัน ให้ลูกฟังนะครับ เพราะแทนที่ลูกจะมีความสุข กลายเป็นว่าจะเครียดเสียตั้งแต่อยู่ในท้อง

#4. ฟังเพลง

ระบบประสาทการรับฟังของลูกในท้อง จะเริ่มทำงานตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 5 เดือน การใช้เสียงกระตุ้นจะทำให้เครือข่ายใยประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการได้ยินของลูก มีพัฒนาการดีขึ้น

คุณสามารถเปิดเพลงปกติที่คุณฟัง เพื่อให้ลูกฟังได้ ไม่ใช่แค่เพียงเพลงกล่อมเด็กหรือเพลงคลาสสิกเท่านั้นนะครับ

เวลาคุณแม่ฟังเพลง ควรจะเปิดเสียงให้ดังพอประมาณ และให้ห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต การเปิดเพลงให้ลูกฟัง จะทำให้คลื่นเสียงไปกระตุ้นให้ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน มีการพัฒนาระบบการทำงานได้เร็วขึ้น เมื่อลูกคลอดออกมา จะทำให้เขามีความสามารถในการจัดลำดับความคิดในสมอง รู้สึกผ่อนคลาย และจดจำสิ่งต่างๆได้ดี นอกจากนี้ คุณยังสามารถร้องเพลงให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงคุณได้เช่นกันนะครับ

อยากให้ลูกในท้องเกิดมาฉลาด

#5. คุณแม่ต้องอารมณ์ดีอยู่เสมอ

แน่นอนครับว่า คนอารมณ์ดี ย่อมมีความสุขกว่าคนอารมณ์ไม่ดีอยู่แล้ว จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า คุณแม่ที่อารมณ์ดีอยู่เสมอ จะทำให้ร่างกายมีการหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่า เอ็นดอร์ฟิน ( Endorphin ) ออกมา และส่งผ่านทางสายสะดือไปยังลูกในท้อง ทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี ทั้งทางด้านสมอง ( IQ ) และทางอารมณ์ ( EQ )

ในทางตรงกันข้าม หากแม่ท้องชอบมีอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย ร่างกายก็จะหลั่งสารแห่งความเครียด ที่เรียกว่า อะดรีนาลีน ( Adrenaline ) ออกมา และส่งผ่านไปยังลูกในท้อง ซึ่งจะทำให้ลูกคลอดออกมาเป็นเด็กงอแง เลี้ยงยาก พัฒนาการช้า ดังนั้น ถ้าอยากให้ลูกฉลาด พัฒนาการดี แม่ท้องต้องไม่เครียดนะครับ

#6. เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม

ทราบหรือไม่ครับว่า เนื้อสมองของทารกในครรภ์นั้น มีองค์ประกอบเป็นไขมันโดยเฉพาะไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 60 ซึ่งกรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่สำคัญต่อพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ก็คือ กรดไขมันที่มีชื่อว่า ดีเอชเอ ( DHA ) ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ประเภทปลา โดยเฉพาะปลาทะเลและสาหร่ายทะเล แต่ควรเลือกทานปลาที่มีสารปรอทเจือปนน้อย เช่น แซลมอน ปลาดุก ส่วนปลาที่มีสารปรอทเจือปนเยอะและควรเลี่ยงนั้น ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง กระโทง ปลาอินทรีย์ เป็นต้น

กรดไขมันไม่อิ่มตัวอีกชนิด มีชื่อว่า เออาร์เอ ( ARA ) ซึ่งมีมากในอาหารจำพวกน้ำมันพืช เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเม็ดทานตะวัน และน้ำมันข้าวโพด และนอกจากอาหารที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว แม่ท้องควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อสุขภาพที่ดี และพัฒนาการรอบด้าน ของลูกน้อยในครรภ์นะครับ


อ้างอิงข้อมูลจาก

รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

si.mahidol.ac.th

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อยากให้ลูกในท้องเกิดมาฉลาด หัวไว สมองดี ทำอย่างไร?
แชร์ :
  • อาหารบำรุงสมองทารกในครรภ์ 7 อย่าง กินอะไรให้ลูกในท้องฉลาด

    อาหารบำรุงสมองทารกในครรภ์ 7 อย่าง กินอะไรให้ลูกในท้องฉลาด

  • ไม่อยากให้ลูกในท้องพิการ ต้องอ่านนะ ลูกพิการแต่กำเนิด สาเหตุเพราะอะไร?

    ไม่อยากให้ลูกในท้องพิการ ต้องอ่านนะ ลูกพิการแต่กำเนิด สาเหตุเพราะอะไร?

  • อาหารบำรุงสมองทารกในครรภ์ 7 อย่าง กินอะไรให้ลูกในท้องฉลาด

    อาหารบำรุงสมองทารกในครรภ์ 7 อย่าง กินอะไรให้ลูกในท้องฉลาด

  • ไม่อยากให้ลูกในท้องพิการ ต้องอ่านนะ ลูกพิการแต่กำเนิด สาเหตุเพราะอะไร?

    ไม่อยากให้ลูกในท้องพิการ ต้องอ่านนะ ลูกพิการแต่กำเนิด สาเหตุเพราะอะไร?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ