ลูทีนในนมแม่เกราะป้องกันดวงตาของทารก
ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส
ตามปกติแล้วพัฒนาการของทารก ส่วนใหญ่มักจะพูดถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา ทำอย่างไรให้ลูกคลาน เดิน วิ่ง หรือกระตุ้นสมองให้พร้อมสู่การเรียนรู้ แต่ในวันนี้จะชวนคุณพ่อคุณแม่มาพูดคุย (ผ่านบทความ) เกี่ยวกับการปกป้องสายตาและจอประสาทตาของทารกกันค่ะ
คำว่า “ลูทีน” ในนมแม่อาจจะไม่คุ้นหูเท่าใดนัก เมื่อเทียบกับการได้ยินคำว่าลูทีนจากนมผสมที่โฆษณาทั่วไป จนดูเหมือนกับว่าทารกจะได้รับสารลูทีนเพราะมาจากนมผสมเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วจุดเริ่มต้นของลูทีนสำหรับทารกเพื่อปกป้องสายตานั้นบอกได้เลยว่า มาจาก “นมแม่” ค่ะ มาทำความรู้จักลูทีน เกราะป้องกันดวงตาทารกกันดีกว่าค่ะ
รู้จัก & เข้าใจ “ลูทีน”
ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส
ลูทีน (Lutein) เป็นสารอาหารในกลุ่มที่เรียกว่า แซนโทฟิลส์ (Xanthophylls) มีลักษณะเป็นสารสีเหลือง อยู่ในจำพวกแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) มีประโยชน์ต่อดวงตาของคนเรา ซึ่งในต่างประเทศนั้น เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการจักษุแพทย์ นักโภชนาการและนักวิจัยทั่วโลก ในฐานะของสารอาหารที่ช่วยชะลออาการจอประสาทตาเสื่อม และประโยชน์ของลูทีนที่มีต่อการปกป้องจอประสาทตาในทารกและเด็กเล็ก
สำหรับในประเทศไทยยังมีการพูดถึงสารลูทีนในนมแม่กันน้อยมาก แต่ความจริงแล้วลูทีนกลับมีความสำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสารอื่นใดในนมแม่เลย เพราะเป็นส่วนสำคัญในการปกป้องจอประสาทตาของทารก
จักษุแพทย์เผย : ความสำคัญของลูทีนต่อดวงตา
ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส
1. จอประสาทตาของคนเราตั้งแต่แรกเกิดมีร่องเล็ก ๆ อยู่จุดหนึ่งที่มี เซลล์รับภาพในจอประสาทตา ซึ่งเป็นจุดที่แสงตกประทบ และทำให้คนเราสามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนในแต่ละวัน
2. บริเวณเซลล์รับภาพนี้มีสารสีเหลืองหรือลูทีนอยู่หนาแน่นมากที่สุด โดยจะพบได้ตรงชั้นเนื้อเยื่อที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาท ถือเป็นจุดที่สำคัญมากต่อการมองเห็น หากบริเวณดังกล่าวเสื่อม หรือเสียไป อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดได้
3. สารลูทีนในเซลล์รับภาพในจอประสาทตา ทำหน้าที่สำคัญ คือ คอยกรองแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา และเป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะมีอยู่ทั่วไปรอบๆ ตัวเรา ทั้ง แสงแดดจากดวงอาทิตย์ แสงจากโทรทัศน์ แสงจากจอคอมพิวเตอร์ แสงจากหลอดไฟ เป็นต้น
4. ลูทีน ยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนตี้ออกซิแดนซ์ (antioxidant) ในดวงตาของคนเราอีกด้วย เพราะในดวงตาของเราจะมีสารอนุมูลอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นตัวทำลายเซลล์รับภาพและทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับจอประสาทตาทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้
ลูทีนพบได้ในนมแม่
ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส
รศ. นพ.สรายุทธ สุภาพพรรณชาติ กรรมการชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย กล่าวถึง คุณค่าของสารลูทีนในนมแม่ไว้ว่า
1. ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์สารลูทีนขึ้นมาใช้ได้เอง ต้องอาศัยจากการรับประทานอาหารเข้าไปเท่านั้น
2. ลูทีนสารอาหารเพื่อปกป้องจอประสาทตา พบมากใน “นมแม่” เด็กแรกเกิดที่ได้ดื่มนมแม่นั้นจะได้รับลูทีนผ่านทางน้ำนมโดยตรง ซึ่งจะส่งผลเรื่องพัฒนาการทางสายตาที่สมบูรณ์ของลูกน้อยได้ในระยะยาว
3. ลูทีนจะทำหน้าที่กรองแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตาและเป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะมีอยู่ทั่วไปรอบๆ ตัวเรา กล่าวได้ว่า เพียงให้ลูกน้อยได้ดื่มนมแม่ก็สามารถลดความเสี่ยงในโรคจอประสาทตาเสื่อมได้แล้ว
4. ลูทีนถือเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในการปกป้องจอประสาทตา โดยลูทีนจะทำงานร่วมกันกับกรดไขมัน DHA และ AA ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านการมองเห็นของเด็ก โดย DHA และ AA จะทำหน้าที่เหมือนเป็นหลอดไฟ ส่วนลูทีนจะทำหน้าที่เหมือนเป็นสารเคลือบหลอดไฟไม่ให้เสื่อมเร็ว
ความน่าสนใจของลูทีนอีกอย่างหนึ่ง คือ นอกจากลูทีนจะพบมากในดวงตาของคนเราแล้ว ยังพบได้ในสมองในส่วนที่เกี่ยวกับการมองเห็นถึง 66% จึงเชื่อว่าลูทีนมีส่วนช่วยในการรับภาพและส่งต่อไปยังสมองได้ดีขึ้นอีกด้วย
พัฒนาการทางสายตาและวิธีกระตุ้นพัฒนาการทางสายตา
ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส
การพัฒนาสายตาและการมองเห็นเริ่มต้นตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ สำหรับทารกแรกเกิดจนถึง 1 เดือน การมองเห็นยังไม่ชัดเจนเท่าไรนัก แต่จะค่อย ๆ เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถมองเห็นสิ่งรอบตัวได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นในช่วงอายุ 6 เดือน ดังนั้น จึงเป็นโอกาสทองของคุณพ่อคุณแม่ที่จะส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของทารก นอกจากการที่ทารกได้รับสารลูทีนจากน้ำนมแม่แล้ว มีวิธีการกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของทารกสามารถทำได้ ดังนี้
วัยแรกเกิด
พัฒนาการทางสายตา : มองเห็นได้ในระยะ 8 – 12 นิ้วฟุต แต่ยังไม่ชัดเจน ยังไม่สามารถทนต่อแสงจ้ามาก ๆ ได้
วิธีกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น : จ้องมอง สบตาลูก พูดคุยหยอกล้อเพื่อกระตุ้นการมองเห็น คุณแม่ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้มีแสงสว่างพอเหมาะ ไม่จ้ามากจนเกินไปนะคะ
2 สัปดาห์
ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส
พัฒนาการทางสายตา : ชอบมองภาพที่มีสีต่างกันชัดเจน และชอบมองใบหน้าของคุณแม่
วิธีกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น : แขวนโมบายส์ที่มีสีสันสดใสหรือลวดลายตัดกันให้ลูกมองหรือมองหน้าและพูดคุยกับลูก ในระยะห่าง 8 – 12 นิ้วฟุต
2 เดือน
ลูทีน แปลว่า สีเหลือง ลูทีน แคโรทีนอยด์ มาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส
พัฒนาการทางสายตา : สามารถมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวได้ มองหน้าแม่ได้อย่างมีความหมายมากขึ้น เมื่อมองเห็นคนยิ้มในระยะใกล้ ๆ ทารกจะสามารถเลียนแบบและยิ้มตอบได้
วิธีกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น : หยิบจับของเล่นที่มีสีสันสดใสและหลากหลาย แล้วเคลื่อนที่ไป – มา อย่างช้า ๆ เพื่อให้ลูกมองตาม รวมทั้งยิ้มและพูดคุยกับลูกเสมอ ๆ นะคะ
4 เดือน
พัฒนาการทางสายตา : มองตามได้ไกลมากขึ้นเช่น ทารกน้อยสามารถมองตามแม่ เมื่อแม่เดินจากมุมห้องหนึ่งไปอีกมุมหนึ่งได้ทันที รู้จักเลียนแบบสีหน้า และสามารถแยกสีต่าง ๆ ได้
วิธีกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น : เลือกของเล่นที่มีสีแตกต่างกัน หรือจะเป็นของเล่นที่เคลื่อนไหวได้ ให้ลูกหัดมองตามและเอื้อมมือคว้าจับ ขณะเดียวกันก็พูดหยอกล้อและทำสีหน้าท่าทางต่าง ๆ เล่นกับลูก
6 เดือน
พัฒนาการทางสายตา : ทารกสามารถมองเห็นในลักษณะ 3 มิติ ได้ชัดเจนแล้วค่ะ สามารถกะระยะเพื่อการคว้าจับสิ่งของได้ถูกทิศและแม่นยำ
วิธีกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น : เลือกของเล่นที่มีสีสันสดใส มีรูปทรง และพื้นผิวสัมผัสที่หลากหลายหรือเขย่าแล้วเกิดเสียง ชี้ชวนให้ดูภาพในหนังสือนิทานง่าย ๆ
พัฒนาการทางด้านสายตาและการมองเห็นของทารกจะทำงานเป็นปกติในช่วง 6 เดือนแรก นั่นแสดงว่า 6 เดือนหลังพัฒนาการของทารกน้อยก็จะดำเนินไปตามปกติแล้ว ช่วงนี้แม่อาจจะเปลี่ยนวิธีการกระตุ้นการมองเห็นมาเป็นกระตุ้นการเคลื่อนไหว เพราะในช่วงนี้หนูจะอยากคว่ำ คืบคลาน ปีนป่าย จับยึด กลอกตามองโลกกว้าง สำรวจสิ่งรอบตัว ซึ่งเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางสายตาของหนูไปโดยไปโดยอัตโนมัติค่ะ
ได้ทราบถึงประโยชน์ของลูทีนในนมแม่แล้วนะคะ นมแม่ยังคงเป็นอาหารมหัศจรรย์สำหรับทารกจริง ๆ ค่ะ คุณแม่อย่าพลาดโอกาสสำคัญในการให้ลูกได้ทานนมแม่นะคะ เพราะนมแม่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ และยังเป็นเกราะปกป้องดวงตาให้ลูกอีกด้วย
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูลจาก
หนังสือ คัมภีร์การดูแลทารกและเด็กเล็ก ผศ. ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์ ผู้แปล
https://www.toy2home.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุณแม่แชร์ประสบการณ์ เมื่อดวงตาลูกเปลี่ยนไปเพราะมะเร็ง
สลดใจ! เด็กวัยขวบเศษต้องสูญเสียดวงตาขวา เพราะโดรน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!