TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกทรงตัวดีส่งสัญญาณว่าสมองทำงานดี

บทความ 5 นาที
ทารกทรงตัวดีส่งสัญญาณว่าสมองทำงานดี

การทรงตัวของลูกได้ดีส่งสัญญาณว่าสมองในส่วนที่ควบคุมทักษะการเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อทำงานได้ดี การที่เราเห็นว่าลูกน้อยทรงตัวได้ดีนั้น จุดกำเนิดก็มาจากการสั่งการของสมองนั่นเอง ติดตามอ่าน ทารกทรงตัวได้ดีส่งสัญญาณว่าสมองทำงานได้ดี

ทารกทรงตัวดี สมองทำงานดี

ทารกทรงตัวดี สมองทำงานดี

การทรงตัวได้ดีของทารกเป็นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ทารกที่มีอายุประมาณ 6 – 7 เดือนเริ่มมีการทรงตัวนั่งได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า การทรงตัวได้ดีของลูกนั้น แสดงถึงสมองของลูกในส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวทำงานได้ดีและมีพัฒนาการเป็นปกติ จะเป็นอย่างไร ติดตามอ่าน

การทรงตัวของมนุษย์

ทารกทรงตัวดี สมองทำงานดี

การทรงตัว คือ เมื่อมนุษย์สามารถยืนได้ด้วย 2 ขา และสามารถควบคุมร่างกายให้ตั้งตรงเรียกว่า มีการทรงตัวเกิดขึ้น การทรงตัวของมนุษย์ถูกควบคุมโดยหูชั้นกลางและหูชั้นใน ในส่วนของหูชั้นในนั้นจะมีเส้นใยประสาทที่เชื่อมโยงกับสายตา ทำหน้าที่สำคัญในการทรงตัว ไม่ว่าร่างกายจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด โอนเอนไปมา กระโดด โยกเยกไปมา

อย่างไรก็ตาม สายตาจะยังสามารถโฟกัสสิ่งต่าง ๆ ได้ การทรงตัวทำได้ดี เมื่อร่างกายมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีการสั่งการและการควบคุมกล้ามเนื้อที่ดี มีการประมวลผลการรับรู้ของสมองได้ดี

การทรงตัวมีความสำคัญสำหรับทารกเพราะการที่ทารกจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้นั้น หากเจ้าหนูมีการทรงตัวที่ไม่ดี ไม่นิ่งพอ จะไม่มีสมาธิจดจ่อ สายตาจะไม่เพ่งมอง โฟกัสสิ่งต่าง ๆรอบตัว แบบนี้ย่อมไม่ส่งผลดีต่อการเรียนรู้อย่างแน่นอน

สมองส่วนควบคุมการทรงตัว

ทารกทรงตัวดี สมองทำงานดี

สมองเล็กหรือซี รีเบลลัม (Cerebellum) มีหน้าที่หลัก ในการทำหน้าที่ประสานงาน ควบคุมการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการทรงตัวให้ทำงานอย่างราบรื่น โดยทำหน้าที่ ดังนี้

1. ส่งสัญญาณถึงมีการประมวลผลการรับรู้ของระบบประสาทสัมผัสที่ดีทั้งเรื่องการมองเห็น การรับรู้ข้อต่อหรือการเคลื่อนไหวของร่างกาย

2. ควบคุมการทำงานพื้นฐานด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในเด็กของแรกเกิด การสั่งการจะยังเป็นไปไม่ดีหรือไม่มีจุดประสงค์ เพราะทารกแรกเกิด – 2 เดือน จะยังไม่สามารถไขว่คว้า หยิบจับ หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้

3. เมื่อทารกเติบโตขึ้น สมองมีการเจริญเติบโตเช่นกัน การทำงานของสมองจะมีวัตถุประสงค์มากขึ้น สังเกตได้จากทารกอายุ 4-6 เดือน ในวัยนี้จะเริ่มไขว่คว้าของเล่น โดยอาศัยการประสานงานของประสาทการมองเห็นและการทำงานของกล้ามเนื้อ

4. สมองในส่วนของการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ จะมีลักษณะเช่นเดียวกับประสาทการรับรู้ความรู้สึก คือ สมองข้างซ้าย จะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อข้างขวา ส่วนสมองข้างขวาควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อข้างซ้าย รวมถึงกล้ามเนื้อใบหน้า การหลับตา การขยับปากและแขนขา

5. นอกจากนี้การทำงานของกล้ามเนื้อยังแบ่งออกเป็น การทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การขยับแขนขา การเดิน การวิ่ง การหยิบจับสิ่งของ เป็นต้น

พัฒนาการด้านการทรงตัวของทารกในแต่ละช่วงวัย

ทารกทรงตัวดี สมองทำงานดี

เมื่อทารกแรกเกิดมานั้น สมองของเจ้าหนูเรียกว่าเป็นห้องว่างที่รอการจัดสรรตกแต่งห้องให้สวยงามจากพ่อแม่ เปรียบเสมือนห้องโล่งที่ยังไม่มีเฟอร์นิเจอร์ใด ๆ เปรียบได้กับสมองที่ดูแลส่วนของความคิด ความจำ อารมณ์ รวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ก็ยังไม่ได้รับการพัฒนา ดังนั้น บุคคลสำคัญที่จะช่วยพัฒนาสมองของลูกได้ คือ คุณพ่อคุณแม่นั่นเอง การกระตุ้นสมองทำให้เกิดประจุกระแสไฟฟ้าเล็ก ๆ ขึ้นในเซลล์สมอง ส่งสัญญาณไปตามเส้นใยประสาท เชื่อมโยงถึงกัน ส่งผลให้เกิดการมองเห็น การได้ยิน การพูด และการเคลื่อนไหว เป็นต้น

แรกเกิด – 3 เดือน

ในช่วงวัยนี้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของทารกน้อยยังไม่แข็งแรง สังเกตได้จาก ลูกมักจะชอบเอียงหน้าไปด้านที่ถนัด ถ้าคุณแม่ไม่เอามือมารองรับศีรษะไว้ศีรษะจะแหงนหงายไปด้านหลัง ดังนั้น คุณแม่ต้องระวังศีรษะของลูกให้ดีนะคะ ในช่วงเดือนต่อไปลองจับลูกนอนคว่ำ ศีรษะของเจ้าหนูจะเงยขึ้นได้ แต่เพียงชั่วขณะเท่านั้นนะคะ จนเข้าเดือนที่ 3 นั่นแหละค่ะ ศีรษะของเจ้าหนูถึงจะตั้งตรงได้ เริ่มชันคอได้ ควบคุมศีรษะได้มากขึ้น

3 – 6 เดือน

ในระยะนี้การควบคุมกล้ามเนื้อหลังดีขึ้น แขน ขา ของลูกขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ทำท่าพลิกไปพลิกมา เริ่มคืบคลานไปข้างหน้าและจะสามารถพลิกคว่ำได้ในช่วง 6 เดือน กล้ามเนื้อหลังจะแข็งแรงมากขึ้น คุณแม่จะเห็นว่า ลูกเริ่มทรงตัวนั่งได้แต่ไม่นานนัก ดังนั้น ควรมีพนักให้ลูกพิงเพื่อไม่ให้ล้มหรือเอนตัวไปมา เป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น เช่น ศีรษะกระแทกพื้น

6 – 9 เดือน

ลูกเรียนรู้เรื่องการทรงตัว พลิกคว่ำได้ รู้จักการเคลื่อนไหวไปข้างหน้า ฝึกคลานไป คลานมาได้คล่องแคล่ว จนสามารถคืบตัวไปข้างหน้าข้างหลัง และการทรงตัวนั่งได้เอง แต่ควรมีหมอนมาช่วยพยุงบ้าง เพื่อป้องกันลูกล้มหน้าคว่ำหรือหงายหลัง การออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ส่วนแขน ลำตัว ขา ให้ลูกน้อย จะเป็นการเตรียมพร้อมสู่ทักษะการยืนที่มั่นคงต่อไป

9 – 12 เดือน

ทารกมีกล้ามเนื้อแขน ขา ที่แข็งแรงขึ้นมาก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ยังต้องช่วยเจ้าหนูพยุงตัวเพื่อเริ่มตั้งไข่ แต่เมื่อเจ้าหนูสามารถพยุงตัวขึ้นเองได้แล้ว ทารกบางคนสามารถก้าวเดินได้ตั้งแต่อายุ 11 -12 เดือนด้วยซ้ำ บางคนเดินได้แต่หนูชอบคลานมากกว่านี่คะแม่ ดังนั้น คุณแม่ต้องพยายามจูงใจให้ลูกฝึกเดินและออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่มากขึ้น

การกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการของลูกให้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวลูก เป็นพื้นฐานการสร้างการเจริญเติบโตให้กับร่างกาย และที่สำคัญยังช่วยพัฒนาศักยภาพสมองของลูกน้อยอีกด้วย

วิธีกระตุ้นให้ลูกน้อยทรงตัวดี

ทารกทรงตัวดี สมองทำงานดี

วิธีการกระตุ้นให้ลูกทรงตัวดี มีหลากหลายวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกฝนได้ค่ะ

1. ให้ลูกได้ออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อ เพราะตอนที่ลูกยังเป็นทารกนอนอยู๋ในท้องของคุณแม่ กล้ามเนื้อข้อต่อต่าง ๆ จะยึดเพราะต้องอยู๋ในที่แคบ ๆ ดังนั้น เมื่อเจ้าหนูคลอดออกมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงต้องช่วยทารกน้อยบริหารกล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อขาและกระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อ เช่น จับขาลูกสลับไปมา การนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้นะคะ

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

2. กระตุ้นให้ลูกน้อยมีการเคลื่อนไหว เช่น ทารกในวัย 2 – 3 เดือน คุณแม่หาของเล่นสีสันสดใสถือเอาไว้ในมือ ให้ลูกเห็นเจ้าหนูจะได้พยายามไขว่คว้า หรือโตขึ้นมาหน่อยจับให้ลูกนอนคว่ำบนที่นอนหรือบนพื้นที่ไม่ควรอ่อนนุ่มจนเกินไป หาของเล่นสีสันสดใส หรือมีเสียงเพื่อกระตุ้นความสนใจให้ลูกคืบคลานมาหยิบเอง ถ้าเจ้าหนูยังคืบไม่เป็น สามารถช่วยได้โดยจับขาลูกงอแล้วช่วยดันก้น ก็จะคืบคลานได้

บทความแนะนำ อข้อดีของการจับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ใช่แค่หัวทุยสวย

ข้อดีของการคืบคลาน การคืบคลานของทารกไม่ใช่ดีต่อพัฒนาการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เท่านั้นนะคะ แต่ข้อดีของการคืบคลานยังช่วยฝึกสมองทั้งสองซีก เพราะขณะที่เจ้าตัวเล็กคืบคลานอยู่นั้น ลูกต้องใช้มือซ้าย มือขวา สลับกัน เพื่อให้คลานไปข้างหน้า

4. การโยนรับ – ส่ง ของเล่น โดยจับให้ลูกนั่ง ส่งของเล่นไปมา ลูกจะมีสมาธิจดจ่อกับการเล่น สายตาต้องมองตามของเล่น กล้ามเนื้อแขนได้ขยับไปมา และที่สำคัญต้องพยุงร่างกายของตนเองให้ทรงตัวได้จึงเป็นการฝึกด้านการทรงตัวให้ลูกได้อย่างดี

บทความแนะนำ สมาธิจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ของลูก

5. อย่าอุ้มอย่างเดียวนะคะ ปล่อยให้ลูกเล่นหรือเคลื่อนไหวเป็นอิสระบ้าง เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหว เช่น จับขาลูกทั้งสองข้างทำท่าปั่นจักรยานในอากาศจะช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อขาได้อย่างดี

คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบแล้วนะคะว่า การทรงตัวกับสมองของลูกมีส่วนเกี่ยวข้องกสัมพันธ์กันอย่างไร และมีวิธีการกระตุ้นพัฒนาการการทรงตัวอย่างไร มาเริ่มต้นกันเลยค่ะ เพื่อลูกรักมีสมองที่ดีมีการทรงตัวและการเคลื่อนไหวเหมาะสมกับพัฒนาการ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

thaichilddevelopment.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เปลไกวกระตุ้นพัฒนาการด้านสมองและการทรงตัวของทารก

ฝึกกล้ามเนื้อให้พร้อมก่อนลูกหัดนั่ง

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทารกทรงตัวดีส่งสัญญาณว่าสมองทำงานดี
แชร์ :
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว