ลูกไม่ยอมนอน เป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่หลายท่าน บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีรับมือกับปัญหา ลูกน้อยนอนหลับยาก
ลูกไม่ยอมนอน ลูกนอนยาก
ลูกไม่ยอมนอน ลูกนอนยาก เป็นเรื่องที่สร้างความลำบากใจให้กับคุณพ่อคุณแม่หลายต่อหลายท่าน ซึ่งการนอน เป็นเรื่องที่สำคัญกับเด็กทุกวัย เพราะหากลูกนอนหลับได้ดี เค้าก็จะตื่นขึ้นมาพร้อมรอยยิ้ม อารมณ์ดี ร่าเริง แจ่มใส มีความสุข แต่ในทางตรงกันข้าม หากลูกนอนหลับไม่ดี นอนไม่พอ ก็จะทำให้เค้าหงุดหงิด อารมณ์เสียได้ ซึ่งเด็กที่อดนอน มักจะมีปัญหาในเรื่องพัฒนาการ และพฤติกรรม เรามาดูกันว่าเมื่อลูกไม่ยอมนอน เราควรทำอย่างไรดี
ลูกไม่ยอมนอนกลางคืน
สาเหตุลูกไม่ยอมนอนกลางคืน
อาจเป็นเพราะลูกน้อยยังไม่คุ้นเคยกับเวลานอน ทารกแรกเกิดและทารกวัยอ่อนยังไม่คุ้นเคยกับวัฏจักรกลางวัน-กลางคืน หรือทารกอาจหิวในช่วงกลางคืน โดยเฉพาะทารกที่กินนมแม่ บางครั้งอากาศร้อนเกินไป เย็นเกินไป หรือเปียกผ้าอ้อมก็ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการไม่สบายตัวได้ การถูกกระตุ้นมากเกินไปก่อนนอน เช่น การเล่นหรือดูทีวีใกล้เวลานอน หรือบรรยากาศการนอนไม่เหมาะสม แสงสว่าง เสียงดัง อุณหภูมิไม่สบายตัวก็เป็นสาเหตุที่ ลูกไม่ยอมนอนได้เช่นกัน
วิธีรับมือลูกไม่ยอมนอนกลางคืน
คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างวินัยการนอนให้กับลูกน้อย กำหนดเวลานอนและตื่นนอนที่สม่ำเสมอ ทารกที่กินนมแม่อาจต้องกินนมเพิ่มมื้อดึก เพื่อไม่ให้หิวกลางดึก เตรียมบรรยากาศให้เหมาะกับการนอน ปิดไฟให้มืด เงียบ สบาย สร้างกิจวัตรก่อนนอน อาบน้ำ อ่านนิทาน ร้องเพลงกล่อมนอน รวมถึงอาจต้องปล่อยให้ร้องไห้บ้าง ทารกบางคนอาจร้องไห้ก่อนนอน และรอจนกว่าจะสงบ
ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน
สาเหตุลูกไม่ยอมนอนกลางวัน
ลูกไม่ยอมนอนกลางวันอาจเป็นได้จากหลายปัจจัย เช่น ไม่เหนื่อย ทารกไม่ได้ออกกำลังกายหรือเล่นมากพอ การกระตุ้นมากเกินไป เล่นหรือดูทีวีใกล้เวลานอนกลางวัน บรรยากาศการนอนไม่เหมาะสม แสงสว่าง เสียงดัง อุณหภูมิไม่สบายตัว ง่วงนอนตอนเช้า ทารกบางคนอาจง่วงนอนตอนเช้ามากกว่าตอนกลางวันจึงทำให้ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน
วิธีรับมือลูกไม่ยอมนอนกลางวัน
คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างวินัยการนอน กำหนดเวลานอนและตื่นนอนที่สม่ำเสมอ ให้ออกกำลังกาย พาลูกเล่นก่อนนอนกลางวันให้เหนื่อย เตรียมบรรยากาศการนอน ปิดไฟให้มืด เงียบ สบาย สร้างกิจวัตรก่อนนอน อาบน้ำ อ่านนิทาน ร้องเพลงกล่อม รวมถึง สังเกตสัญญาณง่วง เช่น ถูตา หาวนอน เป็นต้น
เด็กควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
ปกติแล้ว เด็กจะสามารถเรียนรู้ที่จะนอนหลับได้ยาว 9 ชั่วโมง โดยไม่ตื่นตอนกลางคืน ตั้งแต่เมื่ออายุได้ 6 เดือน ซึ่งแม้ว่าจำนวนชั่วโมงการนอนของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน อาจจะสั้น หรือยาวกว่า แต่เด็กส่วนใหญ่ก็จะสามารถนอนหลับได้ยาวนานตลอดคืน
และการที่จะรู้ได้ว่าลูกมีปัญหาในด้านการนอนหลับหรือไม่นั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเบื้องต้น ดังนี้
- คุณใช้เวลามากเกินไปในการ “ช่วย” ให้ลูกของคุณนอนหลับ
- ลูกตื่นบ่อย ๆ ตลอดทั้งคืน
- พฤติกรรมและอารมณ์ของลูกเป็นลบ หงุดหงิด โมโหง่าย
- คุณอดนอน เนื่องจากปัญหาด้านการนอนหลับของลูก
ลูกไม่ยอมนอน ลูกนอนยาก ทำอย่างไรดี
ลูกไม่ยอมนอน 1 เดือน
ทารกแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) ควรนอนหลับประมาณ 14-17 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นนอนกลางวัน 7-9 ชั่วโมง และนอนกลางคืน 8-9 ชั่วโมง สาเหตุที่ทำให้เด็กทารกไม่ยอมนอนอาจเกิดจากเจ็บป่วย เช่น โรคหวัด ไข้ หูชั้นกลางอักเสบ ลูกน้อยอาจรู้สึกไม่สบายตัวเมื่อมีการเจริญเติบโต อาจรู้สึกเจ็บปวดเมื่อฟันงอก หรืออาจรู้สึกวิตกกังวลเมื่ออยู่คนเดียว
สำหรับวิธีรับมือ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด อุ้ม กอด ปลอบโยน สร้างบรรยากาศที่ปลอดภัย เปิดไฟสลัวๆ สร้างวินัยการนอน กำหนดเวลานอนและตื่นนอนที่สม่ำเสมอ หากเป็นกังวลควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง
ลูกไม่ยอมนอน 2 เดือน
สำหรับเด็กทารก 2 เดือน สาเหตุเดียวกับเด็กวัย 1 เดือน หรืออาจร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่ควรตอบสนองอย่างเหมาะสม อุ้ม กอด ปลอบโยน เมื่อลูกน้อยร้องไห้ กระตุ้นพัฒนาการโดยเล่นกับลูกบ่อยๆ พาลูกออกไปข้างนอก เป็นต้น
ทารกไม่ยอมนอน ลูกนอนยาก ทำอย่างไรดี
- กำหนดกิจวัตรการนอนหลับให้สม่ำเสมอ
- ควรให้เด็กนอนอยู่บนเตียงเมื่อเริ่มง่วงนอน แม้จะยังตื่นอยู่
- สร้างบรรยากาศผ่อนคลายในช่วงก่อนเข้านอน
- ไม่ควรให้ลูกดูโทรทัศน์ หรือสื่อเคลื่อนไหว แต่ควรใช้การพูดคุย หรือการเล่านิทานในช่วงก่อนนอนแทน
- ไม่ควรให้ลูกหลับไปพร้อมขวดนม หรือการอุ้มกล่อม
- หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจมีส่วนผสมของคาเฟอีก หรือสารกระตุ้นอื่น ๆ ในช่วงที่ให้นมลูกก่อนนอน
ตัวอย่าง ตารางการนอนของทารก
|
เวลา |
กิจกรรม |
7:00 น. |
ตื่นนอน |
8:00 น. |
กินนม |
9:00 น. |
เล่น |
10:00 น. |
งีบหลับ |
12:00 น. |
กินนม |
13:00 น. |
เล่น |
14:00 น. |
งีบหลับ |
16:00 น. |
กินนม |
17:00 น. |
เล่น |
18:00 น. |
อาบน้ำ |
19:00 น. |
กินนม |
20:00 น. |
เข้านอน |
หากคุณพ่อคุณแม่ทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว แต่ก็ยังพบว่าลูกยังมีปัญหาการนอนหลับ ควรพาลูกไปพบคุณหมอจะดีที่สุด
ที่มา : enfababy , hdmall
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทำไมเด็กทารกถึงตื่นบ่อย ตื่นมาก็ต้องอุ้ม วางก็ไม่ได้ ร้องไห้ตลอด
ข้อดีของการพาลูกเข้านอนไว ช่วยลูกฉลาดขึ้นไหม วิธีพาลูกเข้านอนไวทำอย่างไร
ทารกไม่อุจจาระ ทารกท้องผูก วิธีแก้ ทำอย่างไรถึงจะช่วยทารกถ่ายได้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!