X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกเป็นโรคคาวาซากิ ไข้ไม่ลด ซึม ผื่นขึ้น ตาบวมแดง อาการแบบนี้ใช่เลย

บทความ 5 นาที
ลูกเป็นโรคคาวาซากิ ไข้ไม่ลด ซึม ผื่นขึ้น ตาบวมแดง อาการแบบนี้ใช่เลย

ลูกเป็นไข้หลายวันไม่ลด ลิ้นคล้ายสตรอว์เบอร์รี่ ซึม ผื่นขึ้น ตาบวมแดง อาการแบบนี้ใช่เลย

ลูกเป็นโรคคาวาซากิ

พ่อโพสต์อาการ ลูกเป็นโรคคาวาซากิ อัพเดตอาการรายวัน ภัยร้ายถึงชีวิตที่เกิดขึ้นในเด็ก เขียนบันทึกไว้ “ครั่งหนึ่งกับคาวาซากิบอย”

 

คุณพ่อท่านหนึ่งได้โพสต์ถึงลูกป่วยคาวาซากิ ว่า

สัปดาห์ระทึกกับ “โรคคาวาซากิ” ภัยร้ายถึงชีวิตที่เกิดขึ้นในเด็ก รายละเอียดและอาการของโรคนี้ลองเสิร์ชอ่านเอาในกูเกิลนะมีคนเขียนไว้มากมาย

คืนวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2018 เวลาประมาณ ตี 2 ลูกตื่นขึ้นมาพร้อมกับร้องไห้งอแงบอกว่า หายใจไม่ออก พอลุกขึ้นมาจับตัวดูปรากฏว่าตัวร้อนมาก พอลองวัดไข้วัดได้ 39.8 ก็รีบหายาลดไข้มาให้กิน พอกินเสร็จก็เช็ดตัว แต่ไข้ไม่ลงเลยแม้แต่น้อย จึงให้ลูกกินยาลดไข้สูง ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) พอกินเสร็จ ไข้ก็เริ่มลงจนเช้าพอยาใกล้หมดฤทธิ์ ไข้ก็เริ่มขึ้นอีก แต่ลูกไม่มีอาการซึมอะไรเล่นปกติ เลยให้กินยาลดไข้กับยาลดไข้สูงอีกรอบ

วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ ให้ลูกกินยาลดไข้ทุก 4 ชม. และไข้สูงคู่กันด้วย ตอนกลางวันเล่นปกติ ไม่ซึมไอหรือมีน้ำมูกใด ๆ ทั้งสิ้น พอตกกลางคืนไข้ขึ้นสูงอีกวัดได้ 40.0 เช็ดตัวกันทั้งคืน เริ่มรู้สึกไม่ปกติ แล้วก็ไม่กล้าให้กินลดไข้สูงต่อ เพราะกลัวจะเป็นไข้เลือดออก คนที่เป็นไข้เลือดออกเมื่อกินยาลดไข้สูงตัวนี้จะทำให้เลือดออกเยอะกว่าเดิม จึงหยุดยาให้กินแต่ลดไข้ธรรมดาแล้วเช็ดตัวเอากันทั้งคืน ไข้ก็ขึ้น ๆ ลง ๆ จนถึงเช้า

พอเช้าวันที่ 6 กุมภาพันธ์ จึงตัดสินใจไปหาหมอแต่เช้าที่โรงพยาบาล พอพบคุณหมอจึงขอคุณหมอแอดมิท เพราะลูกมีไข้สูงมากลอยตลอดไม่ลงเลย วันนี้ลูกยังไม่ซึมยังเล่นได้แต่เริ่มมีอาการงอแงหนักขึ้นเริ่มไม่อยากกินนม ไม่อยากอาหาร ไข้ยังคงขึ้นสูงอยู่ตลอดทั้งคืน

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ เช้าขึ้นมาลูกซึม ไม่เล่น ไม่ยอมกินข้าว พอหัวค่ำเริ่มมีอาการรอบตาบวมแดงขึ้นนิด ๆ ตอนแรกก็คิดว่าร้องไห้เยอะจนตาบวม พอผลเลือดออก ไม่เจอเชื้อไข้หวัดใหญ่ และไข้เลือดออก หมอยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเชื้ออะไร จึงได้ยาลดไข้สูงมากินต่อ ตกกลางคืนไข้ลงแต่พอหมดฤทธิ์ยาไข้ก็ขึ้นสูงอีกเป็นอย่างนี้ทั้งคืน

พอเช้ามาลูกตาบวมแดงมากขึ้นกว่าเดิม แต่คราวนี้เริ่มมีผื่นขึ้นตามตัว ลูกเริ่มมีอาการซึมลงไข้ยังคงขึ้นสูงตลอดจนตกเย็น คุณหมอแจ้งว่าลูกมีอาการคล้ายโรคคาวาซากิ แต่ผลเลือดยังบอกไม่ได้เพราะมาหาหมอเร็วต้องรออีกซัก 2-3 วัน ให้อาการเด่นชัดกว่านี้ก่อนถึงบอกได้ แต่อาจจะเป็นแค่เชื้อไวรัสก็สามารถทำให้มีอาการเช่นนี้ได้เหมือนกัน จึงยังไม่สามารถฟันธงได้ พอได้ยิน คาวาซากิ เราก็งงไม่เคยได้ยินเลยลองเสิร์ชหาข้อมูลดูมันอันตรายมากและเกี่ยวข้องกับหัวใจ ซึ่งลูกเป็นโรคหัวใจรั่ว VSD อยู่ด้วย คืนนั้นนอนไม่หลับกระวนกระวาย แต่อีกใจก็คิดว่า อาจจะไม่เป็นก็ได้ คืนนั้นลูกซึมหนัก ไม่กิน ไม่เล่น ร้องตลอด ไข้ก็ขึ้นตลอดทั้งคืน

เช้าวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ลูกตาบวมแดงหนัก ผื่นที่ขึ้นตามตัว เริ่มเยอะและขยายใหญ่ขึ้น เราจึงตัดสินใจขอย้ายไปอีกโรงพยาบาล เพราะลูกมีคุณหมอประจำตัวโรคหัวใจออกตรวจอยู่ที่นั่น ทางโรงพยาบาลเดิม จึงประสานกับอีกโรงพยาบาลให้ วันนั้นลูกต้องนั่งรถพยาบาลไปอย่างด่วน เพราะไข้ยังคงขึ้นสูงมาก พอไปถึงก็พบคุณหมออีกท่านเราก็แจ้งว่าเฝ้าระวัง คาวาซากิ คุณหมอดูแล้วก็บอกว่าเหมือน แต่ยังบอกไม่ได้ขอเจาะเลือดใหม่ แล้วให้คุณหมอหัวใจอีกท่านมาทำการแอคโค่หัวใจในตอนนั้นเลย พอทำการแอคโค่หัวใจและตรวจเลือดซ้ำอีกรอบ ผลที่ได้คือ ลูกเริ่มมีน้ำรอบหัวใจและค่าเม็ดเลือดขาวเริ่มขึ้นสูงแต่ไม่มากนัก จึงสรุปได้ว่า ลูกน่าจะเป็นโรคคาวาซากิแน่นอน คุณหมอจึงตัดสินใจให้ยา IVIG ในวันพรุ่งนี้ ในวันนี้ลูกก็ยังไข้สูงอยู่ตลอด อาการเริ่มทรุดไม่กินไม่เล่นร้องแล้วก็นอนแล้วก็ตื่นมาร้องอยู่แบบนี้อย่างเดียว

เช้าวันที่ 9 กุมภาพันธ์ คลังยาโทรมาแจ้งเรื่องค่ายา IVIG ราคา 138,000 บาท เราก็ตกลง ตอนนี้ตาลูกบวมแดงมาก ผื่นเริ่มขึ้นตามมือและเท้า ตามตัวและหลังเต็มไปหมด ใช้เวลาเตรียมยาสักพักจนได้ให้ยาตอนประมาณบ่าย 3 พอเริ่มให้ยาไปสักพัก ลูกก็มีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คุณหมอแจ้งว่าต้องติดตามอาการ 48 ชม. หลังจากให้ยาเสร็จ ยาตัวนี้ใช้เวลาให้ 12 ชม.

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ให้ยาครบ 24 ชม.แรก ลูกมีอาการดีขึ้น ผื่นเริ่มจาง ตาเริ่มยุบ ตอบสนองได้ดี เริ่มเล่นได้แต่ยังมีอาการงอแงไข้ยังมีอยู่ต่ำ ๆ

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ให้ยาครบ 48 ชม. ผื่นและตาหายบวมแดง เริ่มกลับมาเล่นซนได้ แต่ยังไม่ค่อยมีแรง เพราะยังไม่ยอมกินข้าวกินนม คุณหมอมาพบบอกขอดูอาการอีก 1 วัน ถ้าไข้สงบจะให้กลับบ้านได้

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ วันนี้นั่งเฝ้าดูว่าไข้จะกลับมามั๊ย สรุปว่าไข้ไม่กลับมาทั้งวัน

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ คุณหมอมาพบแล้วให้กลับบ้านได้ โดยยังคงต้องติดตามอาการและยังต้องนัดมาทำการแอคโค่หัวใจอีก และต้องกินแอสไพรินวันละ 4 รอบ รอบละ 4 เม็ด เพื่อป้องกันเลือดหนืดและแข็งตัวไป

เขียนบันทึกไว้ “ครั่งหนึ่งกับคาวาซากิบอย”

 

พบผู้ป่วยคาวาซากิ 300 รายต่อปี

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ บอกว่า โรคคาวาซากิของเราพบประมาณ 70-100 รายต่อปี พบผู้ป่วยทั่วประเทศประมาณ 300 รายต่อปี

 

โรคคาวาซากิคืออะไร

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายว่า คาวาซากิเป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย

กลุ่มเสี่ยงคือ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบบ่อยในช่วงอายุ 1-2 ปี ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง จึงพบว่า เด็กชายที่อายุน้อย จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าเด็กโตหรือผู้หญิง

 

สาเหตุของโรคคาวาซากิ

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง คาดว่าน่าจะเกี่ยวกับการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสบางชนิด เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองรุนแรงผิดปกติ

 

คาวาซากิ อาการ

  • ผู้ป่วยมักมีไข้สูงหลายวัน นานเกิน 5 วัน
  • มีอาการทางเยื่อบุตา ตาแดง
  • ปากแดง ริมฝีปากบวมแห้งแตก ลิ้นคล้ายกับผิวสตรอว์เบอร์รี่
  • เกิดผื่นแดงคล้ายลมพิษ เป็นปื้น ๆ ตามเนื้อตัว
  • ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต โดยเฉพาะเส้นผ่าศูนย์กลางโตมากกว่า 1.5 ซม. ไม่เจ็บ และมักจะเป็นข้างเดียว
  • อาจพบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ หลอดเลือดหัวใจโป่งพอง เป็นภาวะแทรกซ้อน

 

 โรคคาวาซากิ อันตรายไหม

สิ่งที่อันตรายคือ ภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจรุนแรงได้ตั้งแต่วันแรก ๆ ของโรค เช่น มีอาการช็อค เสียชีวิตได้ แต่พบน้อย

ภาวะแทรกซ้อนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ ต้องตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้วยเครื่องตรวจ Echocardiogram ว่ามีหลอดเลือดหัวใจผิดปกติหรือไม่ เพราะถ้าผิดปกติ จะมีโอกาสเกิดการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ เสียชีวิตเฉียบพลันได้ตั้งแต่อายุยังน้อย

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ หลอดเลือดหัวใจโป่งพอง เป็นภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายตั้งแต่อายุน้อยได้ ถ้าพบแพทย์เร็ว ให้การรักษาด้วยยาในระยะแรกๆ ของโรคจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ และหลอดเลือดเหล่านี้ได้

 

โรคคาวาซากิเป็นโรคติดต่อหรือไม่

แม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ก็ไม่อาจมีวิธีป้องกันโรคได้

 

วิธีรักษาโรคคาวาซากิ

ต้องใช้ยา ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันชนิดเข้มข้น ถ้าไม่ใช้ยาจะเกิดภาวะแทรกซ้อนเกินร้อยละ 30 แต่เมื่อให้ยาแล้วจะเหลือต่ำกว่าร้อยละ 5 ทั้งยังทำให้อาการไข้หายอย่างรวดเร็วด้วย

อย่างไรก็ตาม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เพิ่มรายการยาแพง ซึ่ง 1 ในนั้นก็คือ กลุ่มยาโรคคาวาซากิเข้าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเรียบร้อยแล้ว

เนื่องจากยาชนิดนี้ มีต้นทุนที่สูงเนื่องจากต้องใช้กระบวนการผลิตที่ยุ่งยาก ซับซ้อน จึงจะปลอดภัยในการนำมาใช้ แต่สิทธิในหลักประกันสุขภาพครอบคลุมการใช้ยานี้ได้

หากลูกมีอาการไข้ขึ้นหลายวัน พ่อแม่ต้องสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย หากพบว่า ผิดปกติ ให้รีบพาไปหาหมอ เพราะโรคนี้เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจในเด็ก ถ้าดูแลรักษาช้าเกินไป อาจมีผลต่อหัวใจลูกในระยะยาว

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แม่แชร์ลูกชายป่วยเป็นโรคคาวาซากิ โชคดีที่รักษาเร็ว ไม่งั้นลูกคงไม่รอด

ไม่อยากให้ลูกต้องป่วยบ่อย ต้องสอนลูกให้ทำแบบนี้

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการ เป็นยังไง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากอะไร

ที่มา : thairath

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกเป็นโรคคาวาซากิ ไข้ไม่ลด ซึม ผื่นขึ้น ตาบวมแดง อาการแบบนี้ใช่เลย
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว