ลูกดูดนิ้ว กัดเล็บ
ลูกดูดนิ้ว กัดเล็บ ทำไมทารกชอบดูดนิ้ว มีข้อดีอย่างไร พฤติกรรมดูดนิ้ว กัดเล็บ ของทารก มีประโยชน์หรือไม่
แม่จ๋าอย่าห้ามหนู! ทารกดูดนิ้ว ลูกชอบกัดเล็บ ผลวิจัยชี้โตไปไม่ค่อยเป็นภูมิแพ้
จากผลวิจัยในประเทศนิวซีแลนด์ พบว่า ทารกและเด็กที่มีพฤติกรรมดูดนิ้วหรือกัดเล็บ โตไปแล้วจะลดโอกาสการเป็นโรคภูมิแพ้
ผลการวิจัยนี้ทำการศึกษาจากเด็กกว่า 1,000 คน ตั้งแต่ช่วงวัยเพียง 5 ปี ไปจนถึง 32 ปี พบว่า เด็กที่ชอบดูดนิ้วหรือกัดเล็บ จะไม่ค่อยเป็นโรคภูมิแพ้เมื่อโตขึ้น ทั้งนี้ นักวิจัยได้บันทึกอายุของกลุ่มทดลอง โดยประเมินเมื่ออายุ ดังนี้
- เมื่อกลุ่มทดลองมีอายุ 5 ปี
- เมื่อกลุ่มทดลองมีอายุ 7 ปี
- เมื่อกลุ่มทดลองมีอายุ 9 ปี
- เมื่อกลุ่มทดลองมีอายุ 11 ปี
การจัดกลุ่มสำหรับกลุ่มทดลองจะจัดตามพฤติกรรมการดูดนิ้วและพฤติกรรมการกัดเล็บ และได้ทดสอบอาการภูมิแพ้ด้วยการตรวจตัวอย่างผิวหนัง เมื่อกลุ่มทดลองอายุ 13 ปี และติดตามผลเมื่ออายุ 32 ปี ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่มีนิสัยดูดนิ้วและกัดเล็บ จะมีภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่แพ้ง่าย เนื่องจากได้รับเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์เข้าไปในร่างกายบ้างในช่วงวัยเยาว์
การปล่อยให้ลูกดูดนิ้ว กัดเล็บ เป็นบางครั้งบางคราว ถึงจะเป็นประโยชน์ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าสนับสนุน เมื่อถึงวัยที่ลูกเริ่มโตขึ้น พ่อแม่ควรค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูดนิ้วและกัดเล็บ
ทารกดูดนิ้ว ลูกชอบกัดเล็บ ช่วยป้องกันภูมิแพ้
ลูกดูดนิ้ว กัดเล็บโตไปไม่ค่อยเป็นภูมิแพ้ ลดโอกาสเป็นโรคได้ ข้อดีของการดูดนิ้วของทารก
ทำไมลูกชอบกัดเล็บ ดูดนิ้ว ดึงผม
การที่ลูกชอบกัดเล็บ ดูดนิ้ว เป็นพัฒนาการทารก หรืออาจเป็นไปได้ว่าเจ้าตัวเล็กมีความกังวล จึงดูดนิ้ว อมมือ หรือกัดเล็บ เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งพฤติกรรมที่ชอบกัดเล็บอาจทำให้กลายเป็นนิสัยติดตัวลูกไปจนโตได้ และส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพรวมถึงข้อเสียอื่น ๆ ได้ เช่น เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อโรคที่ติดมากับซอกเล็บเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ก็ทำให้ลูกเกิดโรคท้องร่วง โรคมือเท้าปาก
ทันตแพทย์ศิริราชได้กล่าวถึง พฤติกรรมลูกที่มีนิสัยชอบดูดนิ้วหรือกัดเล็บตั้งแต่เด็ก ๆ ว่าควรจะได้รับการแก้ไข เพราะจะมีผลต่อการเรียงตัวของฟันด้วย
วิธีแก้ลูกดูดนิ้ว
การดูดนิ้วเป็นการแสดงออกถึงความต้องการของตนเอง เมื่อเลยอายุ 1 ขวบ การดูดนิ้วจะเป็นการทดแทนความต้องการของจิตใจเด็ก หรือเป็นนิสัยที่เกิดจากพฤติกรรมการเรียนรู้ และทำซ้ำจนเกิดความเคยชิน การดูดนิ้วจะช่วยสร้างความอุ่นใจให้ลูกต่อสิ่งที่ต้องเผชิญรอบตัว ทำให้รู้สึกมั่นคง เหมือนมีแม่อยู่ใกล้ ๆ และเด็กบางคนอาจดูดนิ้วไปจนถึง 3-5 ขวบ และส่วนใหญ่ก็จะเลิกไปในช่วงเวลานี้
- การช่วยให้ลูกเลิกดูดนิ้ว อาจทำได้ด้วยการเริ่มต้นคุยกับลูก แต่ไม่ใช่การทำให้ลูกกลัวด้วยการดุลูกเสียงดัง
- พ่อแม่ควรชี้ให้ลูกเห็นถึงผลเสียของการดูดนิ้ว เช่น ลูกดูดนิ้วทำให้มีเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย ทำให้นิ้วเหี่ยว ฟันไม่สวย
- เมื่อถึงเวลาที่ลูกทำได้ควรให้คำชมเชยลูก การฝึกให้ลูกเลิกดูดนิ้วอาจค่อย ๆ ทำให้เลิกในตอนกลางวันก่อน
วิธีแก้ลูกกัดเล็บ
เด็กเล็กมักจะชอบกัดเล็บเล่น และจะพบบ่อยในช่วง 3-6 ขวบ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง เมื่อโตก็มักจะเลิกหายไปเอง การช่วยให้ลูกเลิกกัดเล็บก็คล้ายกับการสอนให้ลูกเลิกดูดนิ้ว
- พ่อแม่ไม่ควรหงุดหงิด อย่าไปใช้วิธีบังคับหรือขู่เข็ญ เพราะอาจเจออาการดื้อต่อต้าน
- การแก้ไขลูกกัดเล็บ ต้องใช้ความอดทนและคอยฝึกลูกอย่างสม่ำเสมอ
- ตามทฤษฎีพัฒนาการเด็ก กล่าวว่าเมื่อเด็กมีวุฒิภาวะมากขึ้น เด็กร้อยละ 90 ก็จะเลิกนิสัยเหล่านี้ได้เอง
เมื่อพ่อแม่เห็นพฤติกรรมลูกดูดนิ้ว กัดเล็บ อย่าเพิ่งโมโหใส่นะคะ แค่ต้องดูแลเรื่องความสะอาด ล้างมือให้ลูกบ่อย ๆ อย่าให้ลูกไปจับสิ่งของ หรือเล่นของเล่น แล้วเอามาอม เพื่อป้องกันโรคร้ายแรงอื่น ๆ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทารกควรใส่ถุงมือถุงเท้า หรือไม่ ถุงมือถุงเท้าทารกใส่ถึงกี่เดือน การให้ทารกใส่ถุงมือ ถุงเท้า ปิดกั้นพัฒนาการลูกไหม
เรื่องที่แม่ต้องสอนลูก การเลี้ยงลูกที่ดี วิธีการสอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดี
ทำไมลูกถึงชอบกัด เดี๋ยวกัดแม่ กัดของเล่น เป็นเพราะอะไร โตไปลูกจะก้าวร้าวไหม
ลูกอยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่ายทำอย่างไรดี วิธีทำให้ลูกสงบนิ่ง ไม่ดื้อไม่ซนต้องทำยังไง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!