ลูกกินแต่นม ไม่ยอมกินข้าว เมื่อลูกเข้าสู่เดือนที่ 9 ซึ่งเป็นทารกวัยอาหารเสริม แต่ลูกกลับกินแต่นม ไม่ยอมกินข้าว แล้วแม่อย่างเรา จะต้องทำอย่างไรดี เพราะคงจะไม่ดีถ้าลูกไม่สามารถทานสารอาหารที่หลากหลายเพื่อสุขภาพที่ดีของเขาเอง
ลูกกินแต่นม ไม่ยอมกินข้าว ปัญหาใหญ่ของคุณแม่
สำหรับลูกน้อยการทานอาหารเสริมเป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ของเค้า เนื่องจาก ลูก 1 ขวบ ไม่ยอมกินข้าว ไอเราก็อยากให้เริ่มทานอาหารเสริม เพื่อที่จะได้รับสารอาหารที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ นั่นเป็นเพราะ มันคือการเปิดประสบการณ์ของลูกน้อย ซึ่งอาจจะทำให้เขากลัว และเกิดความกังวล เพราะอะไร เราคัดมาได้ดังนี้ค่ะ
- อาหารเสริมมีรสสัมผัสแปลกใหม่ มีความข้น และหยาบมากขึ้น ทำให้เด็กรู้สึกกลัว และหวาดระแวง
- รสชาติ กลิ่น และสี ที่หลากหลาย ทำให้เด็กรู้สึกไม่คุ้นเคย เพราะลิ้นของเด็กสามารถรับรู้รสชาติได้ไวมากกว่าผู้ใหญ่อย่างเรา
- ทารกต้องใช้ทักษะ และประสาทสัมผัสในการทานที่มากขึ้น ทั้งการเคี้ยว และการกลืน
ดังนั้นถ้า ลูกกินแต่นม ไม่ยอมกินข้าว ลูกไม่กินข้าว การที่เราจะให้ลูกจะเรียนรู้ และฝึกฝนได้นั้น จึงต้องอาศัยความพยายาม อดทน และความช่วยเหลือจากพ่อแม่ และผู้ดูแล เพื่อสร้างลักษณะนิสัยการกินที่ดีให้กับเด็ก
ลูกขอกินแต่นม ไม่ยอมกินข้าว ลูกไม่กินข้าวทำไงดี ลูก 1 ขวบ ไม่ยอมกินข้าว ลูกไม่กินข้าว
หลักการให้อาหารเสริมสำหรับทารกอย่างเหมาะสม
1. ลูกไม่กินข้าว ลูก 1 ขวบ ไม่ยอมกินข้าวให้ถูกเวลา และพัฒนาการตามวัยของทารก
ลูกไม่ยอมกินข้าว ควรเริ่มให้อาหารเสริมเมื่อทารกอายุ 6 เดือน ซึ่งเป็นเวลาที่ร่างกายทารกพร้อมทั้งทางระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร และระบบไต และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณจนสามารถทดแทนนมได้ 1 มื้อ
โดยค่อย ๆ เพิ่มความหยาบของอาหารขึ้นเรื่อย ๆ จากเหลวไปข้นมากขึ้น หยาบไปเป็นชิ้น ทารกก็จะค่อย ๆ เรียนรู้สัมผัส และรสชาติของอาหารและพัฒนาการเคี้ยวการกลืน การหยิบการตักอาหารทานเอง ก็มีส่วนในการพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างสายตา และมือของเด็ก โดยทารกที่เริ่มอาหารตามวัยช้าหรือทานแต่อาหารเหลวตลอดก็อาจเกิดปัญหาการปฏิเสธที่จะกิน หรือการเลือกกินได้
2. เพียงพอ เหมาะสมกับความหิว และอิ่ม
- ปริมาณอาหารที่ให้ขึ้นกับความต้องการพลังงานประจำวันตามอายุ
- มีสารอาหารครบ 5 หมู่ ใช้อาหารที่หลากหลาย โดยค่อย ๆ เพิ่มชนิดของอาหารทีละอย่างทุก 5-7 วัน
- ความเข้มข้นของอาหารต้องไม่ใสเกินไป คือต้องข้นเหมือนกล้วยขูด หรือแยม
- ความหยาบของอาหาร ค่อย ๆ เพิ่มตามอายุ โดยทารกอายุ 6 เดือนใช้วิธีการบดให้เนื้อค่อนข้างละเอียด และเมื่อสามารถเคี้ยวและกลืนได้ดีขึ้น จึงค่อย ๆ เพิ่มความหยาบจนถึงอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ จนอายุ 12 เดือน ทารกจะสามารถทานอาหารเหมือนผู้ใหญ่ได้ แต่รสไม่จัด
- จำนวนมื้อที่ป้อนต้องเหมาะสมตามวัย ได้แก่ เริ่ม 1 มื้อ เมื่อทารกอายุ 6 เดือน และเพิ่มเป็น 1-2 มื้อ ในช่วงอายุ 6-8 เดือน, 2-3 มื้อ ในช่วงอายุ 9-11 เดือน, 3 มื้อ ในช่วงมากกว่า 12 เดือน
- จัดมื้ออาหารให้เหมาะสม เป็นเวลา ไม่ทานอาหารใกล้กับมื้อนม จะทำให้ทานอาหารได้น้อย
- ปรับลดมื้อนมเมื่อเพิ่มมื้ออาหาร เช่น อาหาร 1 มื้อ นม 5 มื้อ, อาหาร 2 มื้อ นม 4 มื้อ, อาหาร 3 มื้อ นม 3 มื้อ
- การทานน้ำผลไม้ น้ำหวาน หรือขนมมากเกินไปในระหว่างวัน จะทำให้ทานอาหารมื้อหลักได้น้อย
ลูกไม่ยอมกินข้าว กินแต่นม ลูกไม่กินข้าว
3. ปลอดภัย
- ส่วนประกอบต้องสะอาด มีคุณค่าทางอาหาร
- การเตรียมอาหาร เก็บอาหาร ต้องสะอาดถูกหลักอนามัย
- ล้างมือก่อนเตรียมและป้อนอาหาร
4. บรรยากาศของมื้ออาหารที่เหมาะสม
- กรณีที่ ลูกไม่ยอมกินข้าว จะต้องฝึกให้นั่งทานอาหารที่โต๊ะอาหาร ไม่ควรให้ดูโทรทัศน์ หรือเดินป้อนอาหาร เนื่องจากจะดึงความสนใจของทารก ทำให้ไม่สนใจทานอาหาร
- ทานอาหารเป็นมื้อ ๆ อย่างเป็นเวลา โดยคอยกระตุ้นให้ลูกทานอาหาร ระยะเวลาต่อ 1 มื้อไม่ควรเกิน 30 นาที ถ้าทานไม่หมดหรือไม่ทานให้เก็บอาหาร และไม่ให้นมหรือขนมเสริม เพื่อให้ลูกรู้ว่าถ้าไม่ทานอาหารก็จะหิว เป็นการฝึกวินัยพื้นฐานให้กับลูก
- พูดคุย สบตากับทารกขณะป้อนอาหาร เพื่อเป็นการให้ความรัก และกระตุ้นพัฒนาการ
- ป้อนอาหารด้วยความนุ่มนวล เพื่อลดการสำลัก
- คอยสังเกตปฏิกิริยาของลูกว่าอิ่มหรือยัง ไม่บังคับให้ทานเกินความต้องการ
- ให้ทารกหยิบอาหารทานเองได้เพื่อฝึกการใช้ประสาทสัมผัส และเมื่อสามารถจับช้อนได้ให้ลูกทานข้าวเองเพื่อฝึกการช่วยเหลือตนเอง
- อาหารบางอย่างที่ลูกปฏิเสธ ให้ลองปรับเปลี่ยนให้มีรูปแบบที่ทานง่ายหรือน่าทานมากขึ้น เช่น ลูกไม่ยอมทานผัก ให้นำผักไปบดหยาบ ผสมเนื้อสัตว์ปั้นเป็นก้อนแล้วทอด เป็นต้น
จากที่ได้กล่าวมาแล้ว การเริ่มอาหารตามวัยของทารกเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างลักษณะนิสัยการกินที่ถูกต้อง และเป็นการสร้างวินัยเบื้องต้นแก่ทารก โดยอาศัยความใส่ใจทุ่มเท และความอดทนของผู้ดูแลเป็นปัจจัยสำคัญ
โดย พญ.ภณิดา แสวงศักดิ์
กุมารแพทย์ด้านโรคทางเดินอาหารและโรคตับในเด็ก
ศูนย์สุขภาพเด็ก รพ.พญาไท 3
บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ
เครื่องปั่นอาหารทารก ที่ดีที่สุด แนะนำเครื่องปั่น เครื่องนึ่งอาหารเด็ก ยี่ห้อไหนดีมาดูกัน
สูตรอาหารเด็กวัยหย่านม เมนูฟักทองสำหรับเด็กวัยหย่านมสุดอร่อยประโยชน์เน้น ๆ
10 อาหารที่ลูกกินได้ก่อนอายุ 1 ขวบ อาหารอะไรบ้างที่เด็กอ่อนต้องการ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!