TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาเด็ก เก็บอย่างไร ใช้ได้นานแค่ไหน ถึงปลอดภัยกับลูกรัก

บทความ 3 นาที
ยาเด็ก เก็บอย่างไร ใช้ได้นานแค่ไหน ถึงปลอดภัยกับลูกรัก

การเก็บรักษายาสำคัญกว่าที่คิด ถ้ายาเด็กที่ใช้กับลูกหมดอายุไปแล้ว และไม่สังเกตให้ดี ระวังลูกจะเป็นอันตรายถึงชีวิต

พ่อแม่บางคนไม่ค่อยได้ใส่ใจ หรือคิดไม่ถึงว่า ยาที่เคยเปิดทิ้งไว้นั้น หมดอายุไปหรือยัง แล้วนำมาใช้กับลูก โดยไม่ทันได้สังเกต ซึ่งเสี่ยงต่อสุขภาพลูกน้อย ทั้งยังอันตรายถึงชีวิต แม้ว่ายาจะถูกใช้เพื่อการรักษาโรค แต่หากตัวยาเสื่อมคุณภาพแล้ว เมื่อพ่อแม่นำมาป้อนให้ลูก นอกจากอาการเจ็บป่วยที่มีอยู่จะไม่หายไป ยังส่งผลทำให้อาการที่เป็นอยู่นั้นรุนแรงกว่าเดิมได้อีก เรามาดูกันดีกว่าว่า ยาเด็ก เก็บอย่างไร และสามารถใช้ได้นานแค่ไหน

 

ยาเด็ก เก็บอย่างไร ใช้ได้นานแค่ไหน ถึงปลอดภัยกับลูกรัก

การเก็บรักษายาเด็กแต่ละประเภท

การเก็บรักษายาเด็ก และการคำนวณระยะเวลาคร่าวๆ ของยาแต่ละประเภทว่าหมดอายุเมื่อไหร่นั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ห้ามมองข้าม ซึ่งสามารถแบ่งประเภทยาเด็กได้ดังนี้

– ยาเด็ก ประเภทยาใช้ภายนอก เช่น ครีมหรือขี้ผึ้ง หลังเปิดใช้ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือน
– ยาเด็ก ประเภทยาหยอด เช่น ยาหยอดหูหรือยาหยอดตา หลังเปิดใช้จะมีอายุการใช้งานแค่ 30 วันเท่านั้น
– ยาเด็ก ประเภทยาน้ำทั่วไป หลังเปิดใช้ก็จะมีอายุการใช้งานแค่ 30 วัน เช่นกัน
– ยาเด็ก ประเภทยาเม็ดสำหรับเด็กเล็ก ยาประเภทนี้ที่ภาชนะบรรจุจะระบุวันหมดอายุไว้อย่างชัดเจน แต่หลังจากเปิดใช้งานแล้ว แนะนำให้ใช้ต่อได้ภายใน 1 ปี หากเกินกว่านั้นแนะนำให้ทิ้งจะดีที่สุด
– ยาน้ำสำหรับเด็ก ที่เป็นยาปฏิชีวนะ มักจะเป็นผงและต้องใช้น้ำสะอาดต้มสุก แล้วทิ้งไว้ให้เย็นก่อนผสมยา จะมีอายุการใช้งานสั้น แถมยาแต่ละตัวยังมีอายุที่แตกต่างกัน โดยเฉลี่ยจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 10-14 วัน

นอกจากนี้ พ่อแม่ยังต้องศึกษาและอ่านฉลากยาแต่ละชนิด เพื่อการเก็บรักษาตัวยาเด็กอย่างถูกวิธี เช่น ยาที่ต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น หรือยาที่ต้องเก็บให้พ้นแสง

 

 

วิธีการเก็บรักษายาเด็ก

การเก็บรักษายาเด็กให้ถูกวิธีเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะหากเก็บยาไม่ถูกวิธี ก็มีโอกาสที่ยาจะเสื่อมคุณภาพก่อนวันหมดอายุ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาโรค เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับลูกรัก ซึ่งปัจจัยต่างๆ จากสภาพแวดล้อมล้วนแล้วแต่กระตุ้นให้ตัวยาสำคัญมีการเสื่อมสลาย ปริมาณยาที่ออกฤทธิ์ในการรักษาลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็กๆ ที่ร่างกายอ่อนแอ พ่อแม่จึงจำเป็นต้องเก็บรักษายาเด็กให้ถูกต้อง

 

1.เก็บยาเด็กให้พ้นแสงแดด

ยาเด็กหลายชนิด หากสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง จะส่งผลให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ทางที่ดีไม่ควรเก็บยาไว้ในที่ที่แสงแดดส่องถึง ที่สำคัญ ต้องไม่แกะเม็ดยาออกจากซอง หรือภาชนะบรรจุเดิมของยา เพราะจะยิ่งเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น

 

2.อุณหภูมิก็สำคัญในการเก็บยาเด็ก

ไม่ว่าอุณหภูมินั้นจะสูง หรืออุณหภูมิต่ำ ต่างก็มีผลต่อการเสื่อมสภาพของตัวยา จึงจำเป็นที่ต้องเก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง ซึ่งอยู่ราวๆ 18 -25 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม ยาบางชนิดต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ซึ่งจะถูกระบุเอาไว้ในฉลากยา การเก็บยาเด็กไว้ในตู้เย็นนั้น ต้องเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา แต่ไม่ใช่ที่ฝาตู้เย็น เพราะเมื่อเปิดปิดตู้เย็นจะทำให้อุณหภูมิแกว่งขึ้นลงได้ และที่ห้ามเด็ดขาดคือ ห้ามเก็บยาไว้ที่ช่องแช่แข็ง

 

3.ความชื้นก็ต้องระวังในการเก็บรักษายาเด็ก

ยาหลายๆ ตัว เมื่อเจอความชื้นจะทำให้เกิดการสลายตัว ซึ่งยาเม็ดเมื่อโดนความชื้นจะมีผลต่อชั้นเคลือบเม็ดยา ซึ่งสิ่งที่ยาเม็ดส่วนใหญ่เป็นเมื่อเจอความชื้นคือ ตัวยาบวม หรือไม่ก็เกาะเป็นก้อน จึงควรหลีกเลี่ยงความชื้น ปิดฝาขวดยาให้สนิท และเก็บไว้ในที่แห้ง

 

4.อากาศก็สัมพันธ์กับการเก็บยา

ไม่น่าเชื่อว่าในอากาศ ก็มีก๊าซที่เร่งให้ตัวยาเสื่อมสภาพได้ จึงควรเก็บยาในภาชนะที่ปิดสนิทมิดชิดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมเร็วกว่ากำหนดวันหมดอายุ

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายังไม่ถึงกำหนดวันหมดอายุของตัวยา แต่กลับปรากฎว่า ตัวยามีการเปลี่ยนแปลง เช่น สีของยาเปลี่ยนไป กลิ่นของยาแปลกๆ หรือรูปทรงของยาเปลี่ยน ก็ต้องตัดใจทิ้งยาเด็กนั้นไป และห้ามใช้กับลูก

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

ป้อนยาเด็ก 3 ช่วงวัย อย่างไรให้ถูกวิธี

ลูกกลัวเข็ม เห็นกี่ทีก็ร้องไห้งอแง แก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไงดี?

ระวังเสียชีวิต แม้ลูกเป็นไข้หวัดธรรมดา หากซื้อยามากินเอง

ที่มา : My Pharmacist Thailand และ med.mahidol.ac.th

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ยาเด็ก เก็บอย่างไร ใช้ได้นานแค่ไหน ถึงปลอดภัยกับลูกรัก
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว