TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พ่อแม่นอนห้องเดียวกับลูก ดีไหม พ่อแม่นอนกับลูกหรือแยกห้องนอนกับลูก แบบไหนดีกว่า

บทความ 3 นาที
พ่อแม่นอนห้องเดียวกับลูก ดีไหม พ่อแม่นอนกับลูกหรือแยกห้องนอนกับลูก แบบไหนดีกว่า

พ่อแม่ควรนอนห้องเดียวกันหรือนอนแยกห้องกับลูกที่อายุเท่าไรดี?

พ่อแม่นอนห้องเดียวกับลูก ดีไหม

ไขข้อข้องใจ พ่อแม่นอนห้องเดียวกับลูก ดีไหม พ่อแม่นอนกับลูกหรือแยกห้องนอนกับลูก แบบไหนดีกว่า …คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านอาจสงสัยว่าควรจะให้ลูกนอนในห้องเดียวกัน อยู๋ในเตียงเดียวกันกับคุณพ่อคุณแม่หรือไม่ หากจะแยกห้องนอนกันควรจะทำเมื่อลูกอายุเท่าไร วันนี้หมอมีข้อแนะนำ รวมถึงข้อดีข้อเสียในการนอนห้องเดียวกันและนอนแยกห้องกับลูกมาเล่าให้ฟังนะคะ

 

นอนกับลูกถึงกี่ขวบ

การจะนอนแยกห้องกับลูกควรทำเมื่อไร?

โดยทั่วไปไม่มีกฎตายตัวว่าพ่อคุณแม่ควรจะแยกห้องนอนกับลูกเมื่ออายุเท่าไร ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงคือ

  • ลูกมีความพร้อมที่จะนอนแยกห้องเมื่ออายุเท่าไร?
  • คุณพ่อคุณแม่สามารถนอนห้องเดียวกับลูกได้อย่างสะดวกสบาย หลับพักผ่อนได้ดีหรือไม่?

ทั้งนี้ เมื่อลูกอายุอยู่ในช่วงแรกเกิดถึง 2-3 เดือน จะนอนหลับได้ไม่นาน ต้องทานนมแม่บ่อย ๆ การที่ลูกได้นอนห้องเดียวกับคุณแม่จะสะดวกกว่า หลังจากวัยนี้จึงค่อยพิจารณาการให้ลูกนอนแยกห้องได้ โดยคุณพ่อคุณแม่ลองพิจารณาจากข้อดีข้อเสียต่อไปนี้นะคะ

 

การที่ลูกนอนแยกห้องกับคุณพ่อคุณแม่มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง?

หากลูกนอนแยกห้องกับคุณพ่อคุณแม่มีข้อดีคือ ทำให้ทั้งลูกและคุณพ่อคุณแม่นอนหลับได้ยาวและมีคุณภาพในการนอนดีกว่า เนื่ิองจากจะไม่รบกวนกันและกัน โดยคุณพ่อคุณแม่ควรจะหาวิธีที่ทำให้สามารถสังเกตความผิดปกติของลูกได้ เช่น ใช้ baby monitor หรือ อยู่ในห้องติดกันที่สามารถได้ยินเสียงลูกร้องได้ตลอดเวลา

แต่ก็มีข้อเสียคือคุณพ่อคุณแม่จะไม่สามารถสังเกตความผิดปกติของลูกได้อย่างใกล้ชิดในระหว่างการนอน และหากลูกตื่นบ่อยและร้องกวนจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องเหนื่อยขึ้นกว่าเดิมเพราะต้องวิ่งมาดูลูกในอีกห้องหนึ่ง

 

การที่ลูกนอนห้องเดียวกับคุณพ่อคุณแม่มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง?

หากลูกนอนห้องเดียวกับพ่อแม่ มีข้อดีคือจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลับไม่ตื่นในทารก (Sudden infant death syndrome หรือ SIDS) ได้ ซึ่งสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า

  1. ควรให้ลูกนอนในห้องเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ โดยแยกพื้นที่ผิวการนอน จนถึงอายุ 1 ปีหรืออย่างน้อยอายุ 6 เดือน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด SIDS
  2. ควรให้เด็กนอนหงาย บนที่นอนซึ่งไม่นุ่มเกินไป
  3. หากจำเป็นต้องให้ลูกนอนบนเตียงเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่สูบบุหรี่ ไม่ใช้ยานอนหลับหรือดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ควรมีหมอนหรือผ้าห่มรอบตัวเด็กและไม่ควรให้เด็กนอนอยู่บนที่นอนที่นุ่มมากจนเกินไป
  4. ขณะที่คุณแม่ให้นมก็ไม่ควรจะนอนหลับเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงของการกดทับทางเดินหายใจลูกและเกิดภาวะ SIDS ได้

ส่วนข้อเสียของการนอนห้องเดียวกับลูกคือ ลูกจะไม่สามารถฝึกการนอนหลับได้ด้วยตนเอง และคุณพ่อคุณแม่อาจไม่สามารถพักผ่อนได้เต็มที่หากลูกตื่นบ่อย

 

จะเห็นได้ว่าการนอนห้องเดียวกับคุณพ่อคุณแม่หรือนอนแยกห้องกันนั้นมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละครอบครัวควรปรับใช้ให้เหมาะกับบริบท ความพร้อมของลูกและความสะดวก โดยอาจไม่ได้มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวชัดเจน สิ่งที่สำคัญคือควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันเกิดภาวะ SIDS คืออาจนอนห้องเดียวกับลูก จนถึงอย่างน้อยอายุ 6 เดือนถึง 1 ปีและจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการลูก เห็น ได้ยิน พูด ลูกมองเห็นตอนกี่เดือน ทารกได้ยินตอนกี่เดือน ทารกพูดได้ตอนกี่เดือน

5 สิ่งห้ามใช้กับสะดือเด็กแรกเกิด ถ้าไม่อยากให้สะดือลูกติดเชื้อ

14 วิธีสร้างเสียงหัวเราะให้ทารก เทคนิคเลี้ยงลูกให้ฉลาดและอารมณ์ดีตั้งแต่แบเบาะ

วิธีเล่นกับลูก กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย วัยแรกเกิด -18 เดือน

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • พ่อแม่นอนห้องเดียวกับลูก ดีไหม พ่อแม่นอนกับลูกหรือแยกห้องนอนกับลูก แบบไหนดีกว่า
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

powered by
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว