งานวิจัยส่วนใหญ่มักศึกษาเรื่องการสื่อสารพูดคุยระหว่างแม่ลูกวัยแบเบาะ แต่บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารกุมารเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาบทความนี้ได้วิเคราะห์การพูดคุยตอบสนองกันทั้งฝ่ายพ่อ แม่ และลูก
ทีมนักวิจัยของ Dr. Betty Vohr กุมารแพทย์จากมหาวิทยาลัยบราวน์ พยายามหาคำตอบว่าพ่อกับแม่คุยสื่อสารกับเด็กเบบี๋อย่างไร เหมือนหรือต่างกันตรงไหนบ้าง
ทีมวิจัยติดเครื่องบันทึกเสียง 16 ชั่วโมงไว้ที่เสื้อเบบี๋ 33 คน โดยแบ่งช่วงเวลาเก็บข้อมูลออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ หลังคลอดสด ๆ ร้อน ๆ ในโรงพยายาล หลังจากนั้น 44 สัปดาห์ และ 7 เดือน ตามลำดับ
ผลปรากฏว่า
- เมื่อลูกส่งเสียง แม่จะคุยกับลูกทันทีแทบจะทุกครั้ง (88%-94%) เช่น พูดว่า “อุ๊ย ลูกพูดแล้ว”
- แต่พ่อไม่ค่อยจะตอบสนองต่อเสียงลูกบ่อยเท่าไร (27%-33% จากจำนวนครั้งทั้งหมด)
- เด็กเบบี๋ตอบสนองต่อเสียงผู้หญิงดีกว่าเสียงผู้ชาย
นักวิจัยอธิบายว่าสาเหตุที่เด็ก ๆ ตอบสนองต่อเสียงผู้หญิงได้ดีน่าจะเป็นเพราะแม่มักคุยกับลูกบ่อย โดยทำเสียงสูงหรือใช้เสียงพูดเหมือนร้องเพลงมากกว่าพ่อ และแม่ยังมักสบตาลูกด้วยระหว่างคุย กระตุ้นให้ลูกตอบสนองเสียงแม่บ่อยกว่า
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังพบรายละเอียดเพิ่มเติมอีก เช่น แม่ ๆ มักตอบสนองต่อเสียงลูกสาวบ่อยกว่าเสียงลูกชาย ส่วนพ่อ ๆ ก็ตอบสนองต่อเสียงลูกชายบ่อยกว่าเสียงลูกสาว
หัวหน้าทีมวิจัยย้ำความสำคัญของการพูดคุยกับเด็กว่า
ทั้งพ่อและแม่เป็นพลังสำคัญที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการภาษาระยะแรกเริ่มของลูกน้อย
ยิ่งศึกษามาก เรายิ่งตระหนักความสำคัญของการพูดคุยสื่อสารกับลูกตั้งแต่วัยแบเบาะเพราะจะมีประโยชน์ต่อลูกในระยะยาว
งานวิจัยที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่า สภาพแวดล้อมด้านภาษามีผลอย่างมากต่อเด็กทารกแม้ยังพูดไม่ได้ ยิ่งพูดกับลูกเยอะ เขาจะยิ่งมีพัฒนาการด้านภาษาดีและเรียนเก่ง
รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมพูดกับลูกบ่อย ๆ นะคะ
ที่มา time.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
baby signs กระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารของทารก
เมื่อทารกทำท่าทางแบบนี้ อยากบอกอะไรกับแม่นะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!