X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

บทความ 8 นาที
พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการลูกวัย 6 ขวบมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ มีพัฒนาการอย่างไร ลูกในวัย 6 ปี เติบโตแค่ไหน

 

พัฒนาการเด็ก 6 ปี 6ขวบ

จากวันแรก ณ โรงเรียนอนุบาลที่ลูกร้องงอแง จวบจนวันนี้ ลูกได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ใหญ่ไปอีกขั้น ลูกจะไม่ใช่เด็กอนุบาลอีกต่อไป ลูกกำลังจะกลายเป็นเด็กประถมแล้วนะ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ลูกเคยทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ในวันนี้พัฒนาการของลูกพิสูจน์แล้วว่า ลูกจะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงและฉลาดสมวัย

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพ่อแม่ต้องไม่เปรียบเทียบลูกตัวเองกับเด็กคนไหน เพราะลูกของเรามีความรู้ความสามารถเฉพาะตัว เพียงแค่พ่อแม่ต้องหาให้เจอ อย่างไรก็ตาม หากพัฒนาการของลูกช้าจนน่าตกใจ มีข้อสงสัยว่า ลูกมีปัญหาสุขภาพหรือไม่ อย่าลังเลที่จะปรึกษากุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ของเด็กวัย 6 ขวบ

ลูกน้อยวัย 6 ปี มีร่างกายที่แข็งแรง เคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว สนุกสนานกับการกระโดดโลดเต้น พ่อแม่จึงต้องให้ลูกได้ปลดปล่อยพลังงานด้วยกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อให้ลูกได้ฝึกการเคลื่อนไหว ซึ่งสำคัญกับพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก

น้ำหนักและส่วนสูงของลูกวัย 6 ขวบ โดยเฉลี่ย

ลูกชายวัย 6 ขวบ

ส่วนสูง : 115.5 เซนติเมตร

น้ำหนัก : 20.8 กิโลกรัม

ลูกสาววัย 6 ขวบ

ส่วนสูง : 115.0 เซนติเมตร

น้ำหนัก : 20 กิโลกรัม

ร่างกายและการเคลื่อนไหว พัฒนาการเด็ก 6 ขวบที่ทำได้

  • ลูกสามารถผูกเชือกรองเท้าเองได้
  • เตะบอลไปที่โกล หรือยิงประตูได้
  • ขว้างบอลลงตะกร้า หรือปาบอลใส่เป้า
  • ฟันแท้เริ่มขึ้นแล้ว
  • เริ่มใช้อุปกรณ์บางอย่างได้ เช่น กรรไกร หรือจับปากกาอย่างถูกต้อง
  • วาดรูปได้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
  • เขียนตัวหนังสือได้อย่างถูกต้อง ไม่ค่อยบิดเบี้ยวแล้ว โดยเฉพาะเด็กที่ฝึกการคัดลายมือ
  • เข้าใจจังหวะและท่องทำนองของดนตรี ขยับตัวตรงจังหวะ เต้นตามจังหวะเพลงได้
  • ใช้ช้อนส้อมอย่างถูกต้อง
  • ทรงตัวได้ดี มีการประสานงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ดีขึ้น
  • ชอบที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น วิ่ง กระโดด หรือว่ายน้ำ

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ

Advertisement
  • ให้ลูกเข้าร่วมทีมกีฬา หรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ เพื่อเสริมพัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว เพราะการที่ลูกได้ทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬากับผู้อื่น นอกจากจะช่วยพัฒนาทักษะทางร่างกายแล้ว กีฬายังทำให้ลูกเข้าใจทีมเวิร์คหรือการทำงานเป็นทีม พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ และยังทำให้ลูกรู้จักจดจ่อตั้งใจทำกิจกรรมอีกด้วย
  • ในทุก ๆ วัน ควรมีเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงที่ลูกได้ทำกิจกรรม เพื่อฝึกทักษะทางร่างกายในวันหยุด
  • การสนับสนุนให้ลูกทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ดี แต่ลูกก็ต้องเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยด้วย
  • การดูโทรทัศน์ เล่นคอมพิวเตอร์ เล่นมือถือหรือแท็บเล็ต ควรมีช่วงเวลาที่จำกัดไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
  • ถ้าลูกทำกิจกรรมนอกโรงเรียน วิ่งเล่นปีนป่าย หรือว่ายน้ำ พ่อแม่ควรจะคอยสังเกตการณ์อยู่ห่าง ๆ เพื่อไม่ให้ลูกเป็นอันตราย
  • สอนลูกเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นการข้ามถนน หรือนั่งอยู่ในรถก็ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ
  • การกินอาหารเพื่อสุขภาพทั้งครอบครัว จะทำให้ลูกซึมซับพฤติกรรมการกินอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้น ในทุก ๆ มื้อ ควรมีผักและผลไม้วางอยู่บนโต๊ะ

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ ไปพบกุมารแพทย์

  • มีปัญหาในการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ง่าย ๆ
  • เมื่อลูกมีปัญหาในการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการ
  • นอนหลับยากในตอนกลางคืนหรือมีปัญหาในการนอนหลับ

 

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ, พัฒนาการเด็ก 6 ปี, พัฒนาการเด็ก, พัฒนาการลูก, พัฒนาการ

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบเสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 6 ขวบ 

ลูกวัย 6 ขวบมีความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ที่มากขึ้น ทำให้ลูกสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้แล้ว เด็กวัยนี้ยังคงเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ แต่ก็มีความกระตือรือร้นที่อยากจะทำอะไรด้วยตัวคนเดียว มีความคิดอยากเป็นอิสระ ซึ่งเด็กแต่ละคนก็มีความคิดเช่นนี้มากน้อยแตกต่างกันไป

ช่วงวัย 6 ขวบ เด็ก ๆ จะมองทุกอย่างด้านเดียว เช่น ขาวหรือดำ ใจดีหรือใจร้าย ซึ่งเป็นเรื่องของพัฒนาการ พ่อแม่จึงต้องใส่ใจที่จะสอนลูกในเรื่องราวต่าง ๆ อีกไม่นาน ก็จะเห็นลูกมองอะไรหลายมุมมากขึ้น และเมื่อเติบโตขึ้น ลูกก็จะเรียนรู้ว่า บนโลกใบนี้นอกจากจะมีสีขาวและสีดำแล้ว ยังมีสีเทาอยู่ด้วย

ความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก 6 ขวบที่ทำได้

  • ลูกเริ่มมีอารมณ์ขัน เข้าใจมุกตลก หรือแม้แต่การเล่นคำ คำผวนตลก ๆ
  • บอกใครต่อใครเรื่องอายุของตัวเองได้
  • ใช้ตรรกะและเหตุผลได้ดี
  • มีสมาธิที่ดีขึ้น สามารถตั้งใจทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้นานกว่า 15 นาที
  • นับเลขได้ดี นับได้เกิน 1-20 แล้ว
  • พอจะนับถอยหลังได้แล้ว
  • บอกเวลาเป็นชั่วโมงได้แล้ว เช่น 10 โมง ทั้งยังรู้ความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ

  • ปล่อยให้ลูกลองแก้ปัญหาด้วยตัวเองเสียก่อน เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทั้งยังช่วยให้ลูกเรียนรู้การแก้ปัญหา แต่เมื่อลูกร้องขอความช่วยเหลือในท้ายที่สุด ก็สามารถเข้าไปช่วยแนะนำได้
  • ให้ลูกได้ลองเลือกหรือตัดสินใจเรื่องง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เช่น เลือกเสื้อผ้าที่จะใส่ไปเที่ยว หรือเลือกเมนูที่อยากทาน
  • พูดคุยกับลูกด้วยคำถามปลายเปิด ปล่อยให้ลูกได้แสดงความคิดและปลดปล่อยจินตนาการออกมา เช่น ทำไมลูกชอบสีฟ้า หรือลูกชอบทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียน เพราะอะไรลูกถึงชอบ
  • สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เป็นสิ่งที่ลูกสามารถเรียนรู้ได้ การให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ผ่านกิจวัตรประจำวัน จะช่วยให้สนุก ไม่เครียด และเข้าใจได้มากขึ้น เช่น เวลาพาลูกเดินเล่นที่สวนสาธารณะก็สอนเรื่องธรรมชาติ หรือพาลูกไปซื้อของที่ตลาด ก็สามารถสอนคำศัพท์ ด้วยการชี้ชวนให้ดูสภาพแวดล้อม
  • พยายามพูดคุยกับลูก โดยสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ พูดกับลูกให้เหมาะสมกับวัย เพราะลูกเริ่มโตแล้ว ไม่ใช่เด็ก ๆ อีกต่อไป

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ ไปพบกุมารแพทย์

  • หากลูกไม่สามารถทำตามคำสั่ง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ได้ เช่น ตอนถึงบ้านแล้วลูกกินข้าวเสร็จ ให้ทำการบ้าน แล้วแม่ถึงจะให้ออกไปเล่นกับเพื่อน
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

 

พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 6 ขวบ 

เจ้าตัวน้อยจะสนุกสนานกับการมีเพื่อน เล่นกับเพื่อน ลูกจะสร้างมิตรภาพใหม่ ๆ อยู่เสมอ ในวัยแห่งการเรียนรู้ ลูกจะเข้าใจกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยมากขึ้น ควรมีเวลาที่แน่นอน สำหรับการให้ลูกไปเล่นกับเพื่อน

ทักษะการเข้าสังคมของลูกดีขึ้นแล้ว ลูกเรียนรู้ที่จะประนีประนอมในความสัมพันธ์ ทั้งยังเริ่มมีเพื่อนสนิทแล้วด้วย นอกจากนี้ ลูกก็จะรับฟังความเห็นของเพื่อน ๆ ให้ความสำคัญกับเพื่อน ๆ พยายามทำให้เพื่อน รวมถึงคุณครูพึงพอใจ เพราะเด็กวัยนี้จะเข้าใจเรื่องอารมณ์ และแคร์ความรู้สึกของคนอื่น

ส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 6 ขวบ มีดังนี้

  • แสดงความเป็นห่วงผู้อื่น
  • อยากให้คนอื่นชอบ และอยากเป็นที่ยอมรับ
  • ชอบที่จะเล่นกับเพื่อน ๆ
  • เข้าใจความสำคัญของการเป็นทีมเวิร์ค หรือทำงานเป็นทีม
  • ชอบเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน
  • สามารถบอกอารมณ์หรือความรู้สึกในตอนนี้ได้

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ

  • สอบถามลูกเรื่องโรงเรียนทุกวัน โดยเฉพาะเวลาที่ลูกเครียด หรือดูวิตกกังวล ควรให้กำลังใจและช่วยแก้ปัญหา
  • พูดคุยกับลูกให้เข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกกัน สอนให้ลูกรู้จักแก้ไขปัญหา และปลูกฝังอย่าให้ลูกไปแกล้งใคร หรือล้อเลียนคนอื่น
  • ปลูกฝังลูกเรื่องการเคารพผู้อื่น และสอนให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
  • ให้ลูกช่วยทำงานบ้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับช่วงวัย งานบ้านจะช่วยฝึกเรื่องระเบียบวินัย เช่น การเก็บที่นอนทุกเช้า
  • การให้ลูกทำงานบ้านจะช่วยฝึกความรับผิดชอบ ทำให้ลูกดูแลตัวเองได้ เอาตัวรอดเป็น รวมทั้งการให้ลูกช่วยทำอาหารตั้งแต่เล็ก ก็เป็นเรื่องดี ช่วยให้ลูกเข้าใจการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย
  • ถ้าลูกทำผิดก็ต้องตักเตือน ถ้าลูกทำดีก็ต้องชื่นชม การอบรมสั่งสอนลูกต้องทำอย่างพอดี ใช้เหตุผลให้มากและลดการใช้อารมณ์
  • ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมในโรงเรียนและนอกห้องเรียน แต่อย่าให้ตารางชีวิตของลูกอัดแน่นจนเกินไป ปล่อยให้ลูกได้พักผ่อนบ้าง

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบไปพบกุมารแพทย์

  • ถ้าลูกยังไม่สามารถทำอะไรเองเพียงคนเดียวได้เลย และวิตกกังวลอย่างรุนแรง เมื่อรู้ว่าพ่อแม่จะไม่อยู่ใกล้ ๆ
  • หากลูกปฏิเสธที่จะเล่นกับเด็กคนอื่น หรือไม่ยอมยุ่งเกี่ยวกับใครเลย

 

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ของเด็กวัย 6 ขวบ

เด็กวัยประถมศึกษามักจะคุยเก่ง ชื่นชอบการพูดคุย ตอบโต้ มีคลังคำศัพท์ใหม่ ๆ มาเถียงให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ความสนใจใคร่รู้ของลูกดูเหมือนจะไม่น้อยลงเลย ยังชอบช่างซักช่างถามอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม วัยนี้ลูกจะเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น แม้ว่ายังใช้ได้ไม่เยอะ แต่พ่อแม่รู้ไหมว่าหนูเข้าใจเรื่องที่คุยกันอยู่ สำหรับพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารของลูก เช่น

  • พูดประโยคยาว ๆ ได้มากขึ้น เรียงลำดับประโยคได้ดี แม้จะเป็นประโยคง่าย ๆ แต่ก็ใช้รูปประโยคได้อย่างถูกต้อง
  • ลูกสามารถพูดคุย อธิบายประสบการณ์ บอกเล่าความรู้สึกนึกคิด ได้อย่างชัดเจน และเลือกใช้คำที่ถูกต้อง
  • เด็กวัยนี้จะเริ่มรู้แล้วว่า ในคำบางคำ มีความหมายมากกว่าหนึ่งความหมาย
  • หากปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เล็ก พ่อแม่จะเห็นว่า ลูกชอบหนังสือประเภทไหนเป็นพิเศษ
  • เพื่อนที่โรงเรียน และคนรอบตัว มีผลต่อพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร เด็ก ๆ จึงจดจำคำใหม่ ๆ มาพูดกับพ่อแม่ได้เสมอ

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ

  • ฝึกให้ลูกอ่านหนังสือจนเป็นนิสัย อาจจะเป็นนิทานที่สนุก หนังสือที่เข้าใจง่าย ลองสลับกันอ่านกับลูก แต่อย่ากดดัน ถ้าลูกยังอ่านคำบางคำไม่ได้ เพราะการอ่านหนังสือควรเป็นเวลาที่สนุกร่วมกัน
  • สอบถามลูกเรื่องโรงเรียน เพื่อกระตุ้นให้ลูกพูด และพัฒนาการใช้คำศัพท์ โดยส่งเสริมให้ลูกอธิบายถึงความรู้สึกและเล่าเรื่องราวที่พบเจอในแต่ละวัน วิธีนี้จะทำให้ลูกมั่นใจในการพูดคุย ทั้งยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อีกด้วย
  • อย่าเพิกเฉยกับคำถามของลูก พยายามให้ความสนใจเมื่อลูกพูดคุยด้วย

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ ไปพบกุมารแพทย์

  • หากลูกยังไม่สามารถเรียบเรียงคำพูด หรือสร้างประโยคที่สมบูรณ์ได้เลย
  • ไม่ยอมเขียนหนังสือ หรือไม่สนใจการอ่านหนังสือ

 

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบเสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

สุขภาพและสารอาหาร

เด็กในวัยนี้มีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ เป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับความต้องการพลังงานของเด็กวัยนี้คือ 1,200-2,000 กิโลแคลอรี่ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน

ส่วนน้ำหนักตัวคือ 19 กิโลกรัม ความสูงอยู่ราว ๆ 115 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานในแต่ละวัน เพศของเด็ก และพันธุกรรม

ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กวัย 6 ขวบนั้นต้องการอาหารอยู่ที่ 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

เด็กผู้ชายต้องการ 1,760 กิโลแคลอรี่  ต่อวัน

เด็กผู้หญิงต้องการ 1,644 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน

 

สารอาหาร ปริมาณ ไอเดียมื้ออาหาร
แคลอรี่ 1,200-2,000 กิโลแคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโต และกิจกรรมที่ลูกทำ แซนวิชไก่ชีส, ซีเรียลใส่นม, ซุปไก่และผัก
โปรตีน 0.5 ถ้วย ปลานึ่ง หรือไข่ต้ม
ผลไม้ 1-1.5 ถ้วย มื้อที่กินซีเรียล สามารถใส่ผลไม้หั่นชิ้นพอดีคำใส่ลงไปด้วยได้ หรือใส่ผลไม้หลากชนิดลงในโยเกิร์ต
ผัก 1.5-2.5 ถ้วย เลือกผักที่มีไฟเบอร์และธาตุเหล็กสูง เช่น ผักโขม แครอท และบีทรูท
ข้าวและธัญพืช 3/4 ถ้วยตวง ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นพาสต้า
ผลิตภัณฑ์จากนม 2.5 ถ้วย นมสด 1 แก้ว หรือเลือกโยเกิร์ต
  • อาหารของลูกต้องครบ 5 หมู่ ในแต่ละมื้อ จัดตามปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัย
  • ซื้อขนมหรือของว่างที่ดีต่อสุขภาพไว้ในบ้าน ไม่ควรให้ลูกกินขนมหวานบ่อย ๆ และต้องดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่เล็ก
  • การดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเด็กที่มีกิจกรรมกลางแจ้งบ่อย ๆ

 

วัคซีนและอาการป่วยของเด็ก 6 ขวบ

อาการเจ็บป่วยของเด็ก 6 ขวบที่ต้องระวัง เช่น ไข้หวัด โรคอีสุกอีใส โรคหัด โรคคางทูม โรคมือเท้าปาก ดังนั้น ถ้ามีวัคซีนบางชนิด ที่ต้องฉีดทุกปี อย่าลืมพาลูกไปฉีดวัคซีนด้วย

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบแต่ละคนแตกต่างกันไป พ่อแม่ต้องสังเกตให้ดี หากรู้สึกว่าลูกมีพัฒนาการช้า หรือมีอาการเจ็บป่วย ให้รีบปรึกษาแพทย์

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

ที่มา: sg.theasianparent

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 11 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 10 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

แบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก แต่ละช่วงอายุ ตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี [ออนไลน์] เช็กเลย!

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
แชร์ :
  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

  • “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

    “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

  • “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

    “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว