โรคสมาธิสั้น หรือมีชื่อเรียกว่า ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และความผิดปกติทั้งทางโครงสร้างและสรีรวิทยาของสมองที่มีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมและการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะสมองส่วนหน้าที่คอยทำหน้าที่ควบคุมสมาธิ การจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย จึงทำให้เด็กที่มีอาการของ ADHD นั้นจะมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย และขาดการยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่นกว่าเด็กปกติทั่วไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ของเด็ก รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งในประเทศไทยพบว่าเด็กช่วงวัยเรียนมีอาการเป็นโรคสมาธิสั้นมากถึง 8% เลยทีเดียว
หากคุณพ่อและคุณแม่ได้พาลูกเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์แล้วพบว่าลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น หลังจากนี้จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการดูแลลูกให้ดีที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่จะสร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ปกครองได้ไม่น้อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ยากจนเกินความสามารถ เพราะคุณพ่อและคุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลเด็กสมาธิสั้นให้มีแนวทางที่ดีขึ้นได้ โดยการรักษาบำบัดเด็กสมาธั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งครอบครัว คุณครู รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์
เด็กสมาธิสั้น ต้องใช้ความเข้าใจในการดูแล
สิ่งสำคัญอันดับแรกในการดูแลเด็กสมาธิสั้น ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ หรือคนในครอบครัวจะต้องมีความรู้และความเข้าใจถึงธรรมชาติของโรคสมาธิสั้น โดยสามารถขอคำแนะนำและข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขจัดความเข้าใจผิดต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคนี้ โดยเฉพาะความเข้าใจผิดที่คิดว่าลูกเป็นเพียงแค่เด็กดื้อหรือเป็นเด็กขี้เกียจ และจะต้องมีทัศนคติเชิงบวกเพื่อให้ลูกเข้าใจว่าสิ่งที่ตนเองกำลังเป็นอยู่ไม่ได้เกิดจากการเป็นเด็กที่นิสัยไม่ดี
นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่ลูกแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมออกมา คุณพ่อและคุณแม่ควรให้คำชมเชยกับลูกเป็นรางวัลตอบแทนที่เปรียบเสมือนกำลังใจที่สำคัญที่สุดต่อลูก รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของลูกเพื่อเป็นการฝึกให้ลูกจดจำได้ว่าสิ่งไหนที่ควรทำและสิ่งไหนที่ไม่ควรทำ
วิธีเพิ่มสมาธิให้เด็กสมาธิสั้น
สำหรับคุณพ่อและคุณแม่ที่มีลูกเป็นเด็กสมาธิสั้นจะสามารถเห็นอาการได้ตั้งแต่ช่วงก่อนอายุ 7 ขวบเนื่องจากสมองส่วนหน้าเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์และการยับยั้งชั่งใจที่ยังมีการพัฒนาไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่คุณพ่อและคุณแม่อย่าเพิ่งเกิดความกังวลมากจนเกินไป เพราะยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกให้ดีขึ้นด้วยวิธีเพิ่มสมาธิให้เด็กสมาธิสั้น ดังนี้
- กำกับเด็กแบบตัวต่อตัว ถ้าเกิดเด็กมีอาการวอกแวกง่ายหรือหมดสมาธิง่าย อาจต้องให้ผู้ปกครองคอยนั่งประกบในระหว่างการทำงานหรือทำการบ้าน เมื่อเด็กเริ่มมีสมาธินานขึ้นก็อาจเปลี่ยนเป็นคอยเฝ้าดูอยู่ห่าง ๆ และไม่ลืมที่จะเอ่ยคำชื่นชมเมื่อเวลาที่ลูกทำได้ โดยวิธีนี้จะช่วยทำให้เด็กสามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้นกว่าเดิม
- ฝึกทำบางอย่างให้ต่อเนื่อง การหัดให้เด็กนั่งทำอะไรบางอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่ลุกไปไหนเป็นเวลา 20 – 30 นาที ถึงแม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ซ้ำ ๆ แต่ในรายละเอียดของกิจกรรมที่ทำจะช่วยให้ลูกได้ทำสิ่งที่แปลกใหม่จากเดิม โดยคุณแม่อาจนั่งดูอยู่ใกล้ ๆ และใช้วิธีคอยชื่นชม และให้กำลังใจลูก เพื่อให้ลูกมีแรงใจในการปรับปรุงและพัฒนาตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
- การนั่งสมาธิ คุณแม่ควรให้เด็กนั่งหลับตาทำสมาธิเป็นเวลาประมาณ 10 – 15 นาที ทำแบบนี้วันละ 1 – 2 ครั้ง หากพบว่าลูกทำได้ดีขึ้นก็สามารถเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นได้ ซึ่งการนั่งสมาธิเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มสมาธิให้ลูกได้เป็นอย่างดี
วิธีรับมือเด็กสมาธิสั้น
อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้วว่าการดูแลเด็กสมาธิสั้นต้องใช้ความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก ในผู้ปกครองบางรายที่ไม่ได้มีความเข้าใจโรคนี้มากนักจึงลงโทษเด็กด้วยการตีเพื่อหวังว่าจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น แต่หารู้ไม่ว่าการตียิ่งเป็นเหมือนการทำให้เด็กมีอารมณ์โกรธและแสดงพฤติกรรมต่อต้านจนนำไปสู่ความก้าวร้าว ดังนั้น คุณพ่อและคุณแม่จึงต้องมีวิธีการรับมือกับเด็กสมาธิสั้นอย่างถูกต้อง ดังนี้
- กล่าวคำชื่นชมหรือให้รางวัล เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสม
- ฝึกให้ลูกรู้จักการอดทนและรอคอย
- จัดบริเวณและไม่มีสิ่งรบกวนสมาธิในเวลาที่ทำการบ้าน
- กำหนดกิจวัตรประจำวันให้เป็นระเบียบมีขั้นตอน
- ติดต่อประสานงานกับคุณครูอย่างสม่ำเสมอ
- ควรพูดกับเด็กในขณะที่เด็กพร้อมฟัง
- ทำกิจกรรมที่ลูกชอบอย่างสม่ำเสมอ
กิจกรรมและกีฬาคือตัวช่วยเพิ่มสมาธิ สร้างความสนุกให้ลูกรัก
อีกหนึ่งวิธีรับมือกับเด็กสมาธิสั้น นั่นก็คือการทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ ซึ่งเปรียบเสมือนตัวช่วยเพิ่มสมาธิ สร้างความสนุกสนานให้กับเด็ก และยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว หากคุณพ่อและคุณแม่ยังไม่สามารถทราบได้ว่าลูกของตัวเองชอบกีฬาหรือกิจกรรมไหนมากเป็นพิเศษ ลองชวนลูกเริ่มต้นเล่นกีฬาง่าย ๆ เช่น ตีแบต โยนลูกบอล หรือการชวนทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น วาดรูป ระบายสี เล่นดนตรี โดยใช้เวลาในการทำกิจกรรมตรงนี้ให้มาก พร้อมสังเกตว่าลูกชอบกิจกรรมไหนแล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มเวลาในการทำกิจกรรมนั้นให้มากขึ้นกว่าเดิม
โรคสมาธิสั้น เป็นอีกหนึ่งโรคที่สร้างความวิตกกังวลให้กับคุณพ่อและคุณแม่ได้เป็นอย่างมาก เพราะคนเป็นพ่อแม่ทุกคนต่างมีความต้องการให้ลูกเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพ ดังนั้น วิธีการป้องกันและการรับมือกับเด็กสมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด หากแต่จะต้องใช้ความรู้และความเข้าใจที่มีต่อโรคนี้ให้ได้มากที่สุด เพื่อรับมืออย่างถูกต้อง
ให้คุณพ่อและคุณแม่ได้เข้าใจถึงโรคสมาธิสั้นให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพื่อวางแผนในการดูแลลูกอย่างถูกวิธีและดีที่สุด สามารถติดตามคำแนะนำดี ๆ และขอคำปรึกษาด้านการดูแลลูกจากผู้เชี่ยวชาญเชิงจิตวิทยา ได้ที่ Brainy Bean ศูนย์สุขภาพเด็กและวัยรุ่น หรือ Add LINE : @Healthsmilecenter
และนอกเหนือจากนี้ หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่กำลังวางแผนว่าจะมีลูกคนถัดไป และต้องการรู้ความผิดปกติของสุขภาพทารกในครรภ์อย่างครบถ้วน เพื่อวางแผนดูแลลูกรักตั้งแต่ในครรภ์ สามารถใช้บริการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ พร้อมรับคำปรึกษาด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กจากผู้เชี่ยวชาญของ Brainy Bean ได้เลยค่ะ ที่นี่พร้อมให้บริการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ด้วย Precision Life ชุดอุปกรณ์ตรวจสุขภาพ และบริการตรวจสุขภาพที่บ้าน ซึ่งสามารถตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม เพศลูก รวมถึงโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆ มากถึง 84 โรค ซึ่ง Precision Life เป็นบริการส่วนหนึ่งของ Brainy Beaท เรียกได้ว่า ครบ จบ พร้อมดูแลกันอย่างยาวนานในที่เดียวเลยค่ะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!