X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

บทความ 8 นาที
พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการลูกวัย 5 ขวบ 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร ลูกในวัย 5 ปี 9 เดือน เติบโตแค่ไหน

 

พัฒนาการเด็ก 5 ปี 9 เดือน

พ่อแม่ที่เลี้่ยงลูกน้อยตั้งแต่วัยแบเบาะจะจินตนาการไม่ออกเลยว่า ทารกตัวเล็ก ๆ ในวันนั้น จะเติบโตและยืนด้วยขาของตัวเองได้อย่างวันนี้ จากวันที่พูดคำไม่เป็นภาษา แต่ตอนนี้พูดออกมาได้ชัดเจนแล้ว ลูกโตขึ้น มีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว

แม้ว่าพ่อแม่จะอ่านหนังสือมามากแค่ไหน แต่ก็ไม่มีวันที่จะรู้ทุกเรื่องของลูกวัยนี้ อาจจะไม่เข้าใจว่า ทำไมลูกทำนั่นยังไม่ได้ เปรียบเทียบลูกตัวเองกับเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน ทั้งที่เด็กแต่ละคนนั้นมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน

หากพัฒนาการของลูกยังไม่สามารถทำบางอย่างได้ ก็อย่าเพิ่งกังวลมากเกินไป สิ่งที่ควรจะทำคือเฝ้าดูพัฒนาการของลูก ส่งเสริมและกระตุ้นอย่างเหมาะสมตามวัย และดูแลลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกเติบโตอย่างแข็งแรง

 

พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ของเด็กวัย 5 ขวบ 9 เดือน

สำหรับลูกวัย 5 ขวบ 9 เดือน กิจกรรมกลางแจ้ง หรือการเล่นที่ต้องใช้แรงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก จึงควรฝึกให้ลูกออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวอยู่เสมอ การให้ลูกออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ยังช่วยให้ลูกติดนิสัยการออกกำลัง เติบโตไปจะได้สุขภาพแข็งแรง

พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของเด็กวัยนี้ จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง ลูกสามารถกระโดดเชือก เดินลงบันไดสบาย ๆ ลูกสามารถกระโดดข้ามได้แล้ว และเล่นกีฬาที่หลากหลาย ที่สำคัญ เด็กในวัยนี้ควรจะนอนหลับ 8-10 ชั่วโมงทุกคืน จึงจะถือว่าพักผ่อนอย่างเต็มที่

 

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือนที่ทำได้

  • ลูกสามารถกระโดดเชือกได้แม้จะไม่ติดต่อกัน หรือกระโดดเชือกได้ไม่กี่ครั้ง
  • ลูกสามารถขว้างและรับบอลได้สบายขึ้น
  • ลูกสามารถเล่นกีฬาได้ และเข้าใจกติกาของกีฬา
  • ลูกสามารถขี่จักรยาน 2 ล้อได้
  • ลูกสามารถผูกเชือกรองเท้าและแก้เชือกรองเท้าได้

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน

Advertisement
  • พ่อแม่ควรเล่นกีฬากับลูก เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ทั้งยังเป็นการฝึกฝนร่างกายลูกให้แข็งแรงและคล่องแคล่ว
  • ลูกในวัยนี้กำลังพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก ควรให้ลูกฝึกเขียนและวาดรูป เพื่อพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก
  • เด็ก 5 ขวบ 9 เดือนมักจะไม่อยู่นิ่ง เพราะวัยนี้มีพลังงานสูง มีความกระตือรือร้นที่จะทำโน่นทำนี่ด้วยตัวเอง ดังนั้น ควรปล่อยให้ลูกเล่นนอกบ้านเยอะ ๆ ทำกิจกรรมกลางแจ้งบ่อย ๆ ลูกจะได้ปลดปล่อยพลังงาน

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 5 ขวบ 9 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • ถ้าลูกนอนไม่ค่อยหลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ มีสมาธิสั้น หรือมีพลังงานอย่างล้นเหลือจนไม่สามารถนิ่งเฉยได้เลย
  • หากลูกไม่สามารถถือหรือกำวัตถุขนาดเล็กได้ และหากไม่สามารถใช้ปากกาหรือจับดินสอได้ ก็ควรปรึกษาแพทย์
  • การเคลื่อนไหวของแขนและขาไม่สัมพันธ์กัน

 

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน, พัฒนาการเด็ก 5 ปี 9 เดือน, พัฒนาการเด็ก, พัฒนาการ

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 5 ขวบ 9 เดือน

ลูกในวัย 5 ขวบ 9 เดือน จะสามารถสนทนากับผู้อื่นได้ หรือพูดคุยกับเด็กวัยเดียวกันได้ดี สำหรับการนับเลข เด็ก ๆ จะสามารถนับ 1-50 ได้แล้ว เมื่อพ่อแม่พูดคุยด้วย ลูกก็จะเข้าใจคำศัพท์ต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งยังชอบที่จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ชอบเล่นเกมทายปริศนา แก้ปัญหาง่าย ๆ ได้ และชอบที่จะหัวเราะไปกับเรื่องตลกขบขัน

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือนที่ทำได้

  • บวกเลข หรือนับจำนวนง่าย ๆ เช่น หนึ่งบวกหนึ่ง หรือหนึ่งบวกสอง
  • อ่านคำง่าย ๆ จากหนังสือได้ หรืออ่านประโยคสั้น ๆ จากหนังสือได้แล้ว
  • เข้าใจเรื่องของเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต
  • พูด อธิบาย หรือต่อรอง ให้ได้สิ่งที่ลูกต้องการ
  • นับถอยหลังจาก 10-1 ได้แล้ว
  • เข้าใจขั้นตอนที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น เช่น คำสั่ง 3 ขั้นตอน
  • จดจำและพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้เป็นอย่างดี

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน

  • ของเล่นที่เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, ศิลปะ และคณิตศาสตร์ จะช่วยเรื่องพัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้
  • ช่วงวัย 5 ขวบ 9 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ดี ที่จะปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ทั้งการอ่านหนังสือหรืออ่านวรรณกรรม
  • สอดแทรกบทเรียนต่าง ๆ จากกิจวัตรประจำวัน ให้ลูกได้ฝึกความคิดและเรียนรู้สิ่งใกล้ตัว เช่น ตอนที่ไปซื้อของในห้างหรือตลาด ให้ลูกลองนับจำนวนของที่คุณซื้อ ให้ลูกอ่านป้ายต่าง ๆ หรืออ่านฉลากสินค้า
  • ให้ลูกได้ฝึกความสามารถด้านการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) ด้วยการถามคำถามปลายเปิด ให้ลูกได้ตอบคำถาม แสดงความคิด ไม่ใช่แค่ตอบ “ใช่” หรือ “ไม่” ซึ่งสามารถถามได้หลังจากที่อ่านหนังสือไปด้วยกัน หรือแม้แต่การตอบคำถามลูกด้วยการตั้งคำถามกลับไป
  • พาลูกไปที่ห้องสมุดสาธารณะ สอนให้ลูกหาหนังสือที่ลูกอยากอ่าน หรือหาหัวข้อที่ลูกสนใจใคร่รู้ จะได้หาหนังสือที่ช่วยให้ลูกได้รู้มากขึ้น

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 5 ขวบ 9 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • หากว่าลูกไม่แสดงความกระหายใคร่รู้ในเรื่องต่าง ๆ หรือมีพฤติกรรมที่เนือยนิ่ง
  • การนับเลขของลูกมีปัญหา ไม่สามารถนับเลข 1-20 ได้
  • ถ้าลูกไม่สามารถอ่านประโยคง่าย ๆ ได้ หรือต้องใช้เวลากว่าจะอ่านได้

 

พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 5 ขวบ 9 เดือน

เมื่อลูกอยู่ในวัย 5 ขวบ 9 เดือน ลูกจะสร้างเพื่อนใหม่ได้ง่ายขึ้น มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ง่ายด้วย และยังชอบพูดคุยโต้ตอบกับคนที่ไม่รู้จัก ในวัยนี้ ลูกจะไม่มีปัญหาในการแย่งของ หรือหวงของเล่นแล้ว ทั้งยังชอบผลัดกันเล่นของเล่นกับเพื่อน ๆ

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือนที่ทำได้

  • การร้องอาละวาดไม่มีอีกแล้ว หรือร้องอาละวาดแค่นาน ๆ ครั้ง
  • ลูกจะพูดความรู้สึกของตัวเองได้เก่งขึ้น
  • เรียนรู้ที่จะขออนุญาตในการทำสิ่งต่าง ๆ หรือรับฟังเหตุผลจากพ่อแม่มากขึ้น
  • มีความรู้สึกเขินอายในบางครั้ง เช่น ตอนร้องเพลงต่อหน้าคนอื่น
  • ชอบเล่นหรืออยู่คนเดียวในบางครั้ง

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน

  • สนับสนุนให้ลูกมีส่วนร่วมในทีมกีฬา เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • เมื่อลูกรู้สึกเศร้า โกรธ หรือหงุดหงิด ควรสอบถามความรู้สึกของลูก อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าความรู้สึกนี้คืออะไร ให้ความสำคัญกับลูก อย่านิ่งเฉยหรือปล่อยผ่าน แม้ว่ามันจะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย
  • สอนลูกเรื่องมารยาทที่เหมาะสม สอนเรื่องความเคารพต่อผู้อื่น
  • สอนเรื่องการเข้าสังคม ฝึกทักษะการเข้าสังคม ด้วยการให้ลูกได้เจอเพื่อนช่วงวัยใกล้เคียงกัน แต่ถ้าตอนนั้นลูกอยากอยู่คนเดียว ก็ไม่ควรบังคับ

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 5 ขวบ 9 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • หากลูกไม่สามารถเล่นกับเด็กอื่น ๆ ได้ หรือมีปัญหาในการเข้าสังคม
  • ถ้าลูกยังมีปัญหาด้านอารมณ์ ยังคงร้องอาละวาด ไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้
  • ชอบอยู่คนเดียว เล่นของเล่นลำพัง หลีกเลี่ยงที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ของเด็กวัย 5 ขวบ 9 เดือน

วัย 5 ขวบ 9 เดือน ลูกจะพูดได้ชัด มีคำศัพท์ในหัวมากขึ้น บางครั้งก็ชอบแทรกเวลาที่ผู้ใหญ่พูดคุยกันอยู่ เด็กวัยนี้จะเรียนรู้คำศัพท์ได้มากถึงวันละ 5-10 คำ จึงเป็นช่วงวัยที่เหมาะจะให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือนที่ทำได้

  • ใช้สรรพนามอย่างถูกต้อง ฉัน เขา เธอและเรา
  • รู้จักสอบถามเพื่อขอข้อมูล
  • เริ่มให้คำมั่นสัญญา
  • เล่าใหม่หรือรื้อฟื้น เรื่องราวง่าย ๆ มาเล่าได้แล้ว
  • รู้จักตัวอักษร ตัวหนังสือ มากขึ้นแล้ว
  • เรียนรู้ว่า การอ่านหนังสือเริ่มจากซ้ายไปขวา อ่านจากด้านบนลงล่าง
  • พยายามที่จะสะกดคำเมื่อเขียนหนังสือ

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน

  • ลูกจะเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งที่ผู้ใหญ่พูด จึงต้องระวังคำหยาบคาย พูดจาให้สุภาพต่อหน้าเด็กเสมอ และต้องใช้น้ำเสียงที่อ่อนโยนเมื่อพูดคุย
  • หนังสือคือของขวัญที่ดีสำหรับเด็ก เพราะการอ่านทำให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ การอ่านช่วยเสริมสร้างทักษะด้านภาษา พัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ใหม่ ๆ
  • เพิ่มคลังคำศัพท์ให้กับลูก ด้วยการสอนคำศัพท์ใหม่ ๆ ทุกวัน และกระตุ้นให้ลูกใช้คำศัพท์ใหม่ในการพูดคุย

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 5 ขวบ 9 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • ถ้าลูกพูดตะกุกตะกัก พูดติดอ่าง หรือพูดไม่ชัดเจน
  • หากลูกต้องใช้เวลานานในการจดจำคำศัพท์ใหม่ ๆ
  • ลูกในวัยนี้ควรจะสร้างประโยคได้แล้ว ถ้ายังพูดไม่เป็นประโยค หรือเรียบเรียงประโยคไม่ถูกต้อง ให้ปรึกษาแพทย์

 

สุขภาพและสารอาหาร

ลูกในวัย 5 ปี 9 เดือน เริ่มเลือกกิน ชอบกินจุกจิกบ้าง อะไรที่ชอบก็จะกิน อะไรไม่ชอบก็จะไม่ยอมกิน แต่ก็พร้อมที่จะลองรสชาติใหม่ ๆ พ่อแม่ควรให้ลูกกินอาหารที่หลากหลาย ให้ได้ชิมอาหารต่าง ๆ เพื่อให้ลูกได้รับรู้รสชาติใหม่ ๆ

เรื่องสำคัญคือสารอาหารที่ลูกควรได้รับ ดังนั้น พ่อแม่ต้องคัดสรรอาหารที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ให้ลูกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง และมีสารอาหารสำคัญช่วยบำรุงสมอง

 

สารอาหาร ปริมาณ ไอเดียมื้ออาหาร
แคลอรี่ 1,200-2,000 กิโลแคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโต และกิจกรรมที่ลูกทำ แซนวิชทูน่าใส่ชีส, ซีเรียลใส่นม, ซุปไก่
โปรตีน 0.5 ถ้วย ไก่ย่าง ปลานึ่ง หมูต้ม หรือไข่ต้ม
ผลไม้ 1-1.5 ถ้วย มื้อที่กินซีเรียลหรือมูสลี่ สามารถใส่ผลไม้หั่นชิ้นพอดีคำใส่ลงไปด้วยได้ หรือใส่ผลไม้หลากชนิดลงในโยเกิร์ต
ผัก 1.5-2.5 ถ้วย เลือกผักที่มีไฟเบอร์และธาตุเหล็กสูง เช่น ผักโขม แครอท และบีทรูท

ในแต่ละวันควรให้ลูกกินผัก 2-3 ชนิด

ข้าวและธัญพืช 3/4 ถ้วยตวง ข้าว ขนมปังโฮลวีต หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว
ผลิตภัณฑ์จากนม 2.5 ถ้วย นมสด 1 แก้ว หรือเลือกโยเกิร์ต

  • เด็กควรได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ ให้ลูกลิ้มรสชาติใหม่ ๆ ทั้งผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ แป้ง เพื่อให้ลูกได้รับคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน
  • พ่อแม่ควรพาลูกไปหาหมอฟันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เล็กจนโต และควรแปรงฟันให้ลูกน้อยตั้งแต่ยังเล็ก พร้อมกับสอนการแปรงฟันอย่างถูกวิธี
  • หลีกเลี่ยงการให้ลูกดื่มน้ำอัดลม หรือน้ำหวาน ควรให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ที่มีเนื้อผลไม้ด้วยจะดีกับสุขภาพของลูกมากกว่า
  • เลือกของว่างที่มีประโยชน์กับสุขภาพของเด็ก เช่น ผลไม้และถั่ว
  • นอกจากอาหารแล้ว น้ำดื่มก็จำเป็นต้องร่างกายลูก ควรให้ลูกดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะวันที่อากาศร้อน

 

วัคซีนและอาการป่วยของเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน

ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของลูกยังคงพัฒนา ทำให้ลูกอาจเป็นหวัดได้ง่าย แต่พ่อแม่ก็สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายของลูกได้ด้วย ผัก ผลไม้ แล้วอย่าลืมให้ลูกดื่มน้ำด้วย

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือนของแต่ละคนแตกต่างกันไป พ่อแม่ไม่อาจคาดหวังให้ลูกเป็นเหมือนตัวเอง หรือเหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ ได้ และพ่อแม่ก็ต้องสังเกตให้ดี หากรู้สึกว่าลูกมีพัฒนาการช้า หรือมีอาการเจ็บป่วย ให้รีบปรึกษาแพทย์

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

ที่มา: sg.theasianparent

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 7 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

แบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก แต่ละช่วงอายุ ตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี [ออนไลน์] เช็กเลย!

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • /
  • พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 9 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว