ลูกน้อยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เด็กวัย 8 เดือน เริ่มโตเก่งขึ้นกว่าเดิมแล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกพัฒนาการ สำหรับ เด็กวัย 8 เดือน มากันค่ะว่าลูกน้อยโตแค่ไหนแล้ว
ด้านการสื่อสาร
ลูกน้อยพยายามพูดคุยกับผู้คนรอบตัว ในช่วงนี้คุณแม่จะเห็นว่าลูกน้อยเริ่มหัดพูดด้วยตัวเอง ส่งเสียงอ้อแอ้มากขึ้นเพื่อเลียนเสียงและคำพูดที่ได้ยินระหว่างการเลี้ยงดู การเปล่งเสียงเรียก “แม่” หรือ “พ่อ” เป็นครั้งแรก โดยที่เจ้าตัวน้อยยังไม่รู้ความหมายของคำมากนัก จึงเป็นหน้าที่ของคุณแม่ที่ต้องคอยสอนอย่างใจเย็นในการจับคู่คำพูด ออกเสียงให้ลูกน้อยจดจำและเข้าใจความหมาย สอนด้วยคำศัพท์ง่าย ๆ สั้น ๆ เช่น g ขานชื่อสิ่งของใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน หรือแสดงท่าทางให้ลูกน้อยเข้าใจ เช่น สวัสดี ลาก่อน ขอบคุณ
พัฒนาการสื่อสารที่สังเกตได้ชัด
- ส่งเสียงเลียนแบบต่าง ๆ
- บางครั้งก็ส่งเสียงพูดคุย แม้อยู่คนเดียว ส่งเสียงดังเหมือนตะโกน
- จีบปากจีบคอเริ่มเคลื่อนไหวกราม
- ใช้คำซ้ำๆ อย่างเช่น มามา จิ๊บจิ๊บ
- จะหันหน้าหรือหันตัวเมื่อได้ยินเสียงคุ้นหู
พฤติกรรมลูกน้อย
เริ่มอยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวไปมาตลอดเวลา มักจะงอแงไม่หยุด ในช่วงวัยนี้ลูกจะอารมณ์แปรปรวน ชอบหยิบของเข้าปาก ตอนนี้ลูกเริ่มหัดคลานกลิ้งตัวไปตามพื้น เมื่อลูกเริ่มคลานได้แล้ว คุณแม่อาจจะฝึกให้ยืน ด้วยการเกาะขอบคอก และคุณแม่ก็คอยสังเกตและชื่นชมสิ่งที่ลูกทำ เพื่อกระตุ้นให้ลูกเกิดความมั่นใจ พร้อมที่จะฝึกอีกครั้ง
ท่าทางพัฒนาการที่เห็นได้เด่นชัด
เด็ก 8 เดือน
- คลานได้ เคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วยวิธีถัดก้น
- ยืนเกาะเครื่องเรือนและเอื้อมตัวไปพร้อมกับก้าวขาเพื่อทรงตัว
- เกาะเครื่องเรือนและดันตัวยืนขึ้น แต่ต้องใช้คนช่วยจึงจะลงจากท่ายืนได้
- เมื่อจับยืนจะยื่นขาข้างหนึ่งออกไปข้างหน้า นั่งหลังตรงโดยลำพังได้นาน
- ขณะนั่งขาข้างหนึ่งจะเหยียดออก อีกข้างจะงอในท่าพัก
- ลุกขึ้นนั่งได้เองจากการยันแขนขึ้นหรือจากท่าคลาน
- พยายามหยิบลูกปัดเล็กๆ หรือเชือก
- ถือของเล่นเขย่าได้นานอย่างน้อย 3 นาที ถือขวดนมเองได้
การเรียนรู้ของลูกวัยนี้
สามารถเรียนรู้เรื่องจำนวนหรือปริมาณจากการใส่ของอย่างหนึ่งลงไปในกล่องแล้วใส่อีกอันตามลงไป และเล่นด้วยความเข้าใจว่ามีมากกว่า 1 อัน โดยจะเขย่าเล่นเพื่อฟังเสียงและเปรียบเทียบกับของเล่นที่มีเสียง และ เรียนรู้ที่จะสร้างเสียงได้ด้วยตัวเอง โดยการนำของเล่นสองอย่างมากระทบกัน หรือเอามาตีโต๊ะซึ่งจะได้เสียงที่แตกต่างกันออกไป
ด้านการมองเห็น
- มองเห็นได้ในระยะไกลขึ้น และสามารถแยกความลึกความตื้นของภาพที่เห็นได้ดีขึ้น
- แยกแยะความแตกต่างของรูปร่างหรือพื้นผิวของสิ่งต่าง ๆ ได้
ด้านสังคม
เด็กวัยนี้จะระแวงคนแปลกหน้าและร้องไห้โยเยเอาง่ายๆ คุณแม่อาจจะต้องบอกเพื่อนหรือญาติผู้ใหญ่ว่าอย่าเพิ่งพุ่งเข้ามาหาเด็กตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอกัน แต่ควรทำความคุ้นเคย พูดคุยด้วย และรอให้เด็กเป็นผู้เข้าหาเองดีกว่า
ฟันหนูน้อยเริ่มขึ้นแล้ว
เด็ก 8 เดือน
ฟันน้ำนมขึ้นหนึ่งซี่หรือมากกว่านั้น ฟันจะช่วยให้ลูกเคี้ยว และเพลิดเพลินกับอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบแข็งมากขึ้น มีพัฒนาทักษะการหยิบจับแบบคีบของ ซึ่งช่วยให้ลูกน้อยสามารถหยิบของต่างๆ ได้เอง เช่น หยิบอาหารกินเล่น ด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ดื่มจากถ้วยหัดดื่มเป็นแล้ว
อาหารการกินที่เพิ่มขึ้น
พอถึง 8 เดือน ลูกน้อยควรกินนมแม่ และอาหารเสริม 2 มื้อ ควบคู่กับการกินนมนะคะ
- นม (นมแม่หรือนมดัดแปลงสำหรับทารก) วันละ 4-5 ครั้ง โดยเฉลี่ย รวมวันละ 25-30 ออนซ์
- อาหารจำพวกแป้งที่เป็นมื้อเล็กๆ วันละ 2 มื้อ เช่น ข้าวสวยนิ่ม ขนมปังแผ่น หรือมันฝรั่ง
- พืชผักผลไม้ที่คละสีสัน มีความหยาบ/ละเอียด และกลิ่นรสเพื่อให้มีความหลากหลาย เช่น ผักผลไม้หั่นนิ่มที่สามมารถถือทานเองได้ เช่น แตงกวา แครอทต้ม เป็นต้น
- อาหารที่มีโปรตีนสูงแต่อ่อนนุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน หรือปลา หมุนเวียนสลับกันไป
วิธีดูแลเด็กทารกอายุ 8 เดือน
สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในการดูแลเด็กทารกอายุ 8 เดือน ซึ่งเป็นวัยเริ่มคลานและกำลังฝึกยืน ได้แก่
- ทำความสะอาดพื้นอยู่เสมอ และเก็บของที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อย เช่น เครื่องสำอาง สายไฟ หรือสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ เป็นต้น โดยควรเก็บให้มิดชิด รวมถึงใช้ฝาครอบปิดรูปลั๊กไฟให้เรียบร้อย
- ปิดประตูห้องต่าง ๆ ให้สนิท และติดประตูกั้นบันไดเพื่อป้องกันลูกน้อยปีน เพราะอาจเสี่ยงต่อการตกลงมาบาดเจ็บ
- ไม่ควรปล่อยให้ลูกดูโทรทัศน์ติดต่อกันเเป็นเวลานาน โดยเน้นสร้างความบันเทิงให้ลูกผ่านการอ่านนิทาน ฟังเพลง ร้องเพลง หรือการพูดคุย เพราะการปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้อย่างมาก
theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
ที่มา : https://www.pobpad.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 61 การเสริมพัฒนาการในครรภ์ เริ่มต้นที่ 27 สัปดาห์
ดนตรีกับพัฒนาการ ลงทุนกับการเรียนดนตรี ดีกับพัฒนาการลูกอย่างไร
วิธีเล่นแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!