ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีการแพทย์นั้นมีความทันสมัยและปลอดภัยมากขึ้น จึงทำให้การผ่าคลอดเป็นทางเลือกในการคลอดบุตรที่ได้รับความนิยมจากคุณแม่มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีประเด็นเกี่ยวกับ เด็กผ่าคลอด มากมายที่ชวนให้คุณแม่เป็นกังวลและสงสัย เช่น เรื่องความแตกต่างด้านสุขภาพ พัฒนาการของเด็กผ่าคลอด ที่เรามักจะได้ยินอยู่บ่อยครั้งว่า เด็กผ่าคลอดนั้น อาจมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กคลอดธรรมชาติ ซึ่งข้อความนี้มีทั้งส่วนที่เป็นจริง และมีบางเรื่องที่คุณแม่ผ่าคลอดยังไม่รู้เหตุผล ในวันนี้เราจึงอยากอธิบายให้คุณแม่ฟัง และได้สบายใจกันมากขึ้นค่ะพัฒน
ข้อดีและข้อเสียของการผ่าคลอด
ข้อดี
- เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว ที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวแม่ท้องและทารกในครรภ์หากทำการคลอดโดยวิธีธรรมชาติ
- ลดความเสี่ยงของการยืดหย่อนของเชิงกรานการเบ่งคลอดนาน
- สามารถกำหนดวันคลอดที่แน่นอนได้
- ลดความเจ็บปวดได้มากกว่าการคลอดเอง
- ลดความเสี่ยงของสายสะดือจากการถูกกดหากคลอดเอง
ข้อเสีย
- การผ่าคลอดมักจะทิ้งรอยแผลเป็น
- แม่ท้องจะใช้เวลาพักฟื้นนานกว่าแม่ที่คลอดธรรมชาติ
- แม่ตั้งครรภ์เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด หลายประการ เช่น รกเกาะตัวต่ำ การตกเลือด หรือภาวะอื่น ๆ ที่เกิดจากการใช้ยาระงับความเจ็บปวด ได้
- โอกาสในการเกิดพังผืดในช่องท้อง จากการผ่าตัด
เด็กผ่าคลอด มีโอกาสพัฒนาการสะดุด เพราะป่วยบ่อย ป่วยง่าย จริงหรือไม่
อีกหนึ่งข้อเสียที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของลูกโดยตรงหากคุณแม่ผ่าคลอด คือ ลูกพลาดโอกาสที่จะได้รับจุลินทรีย์ดีที่เป็นภูมิคุ้มกันตั้งต้น ขณะเคลื่อนผ่านช่องคลอดของ คุณแม่ จึงทำให้พัฒนาการของเด็กผ่าคลอด มีโอกาสที่จะขาดภูมิคุ้มกันและมีโอกาสเจ็บป่วยง่ายกว่าเด็กคลอดธรรมชาติมากถึง 20% และเด็กคลอดธรรมชาติ จะได้รับจุลินทรีย์ดีเหล่านี้จากช่องคลอดแม่ในระหว่างคลอดออกมานั่นเอง จุลินทรีย์ดีจะช่วยในการพัฒนาภูมิคุ้มกันของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด และเมื่อเด็กผ่าคลอดขาดโอกาสได้รับจุลินทรีย์ดี ก็มีโอกาสป่วยบ่อย และอาจจะส่งผลให้พัฒนาการของเขาสะดุดหรือล่าช้ากว่าที่ควรได้เช่นกัน แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะคุณแม่ เพราะหากลูกได้ดื่มนมแม่อย่างเพียงพอก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยได้เช่นกัน
เจาะลึกสารอาหารช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันใน น้ำนมเหลือง
เพราะนมแม่มีคุณประโยชน์ครบครัน เป็นอาหารที่ลูกน้อยดื่มเพียงอย่างเดียวถึง 6 เดือน โดยไม่ต้องทานอาหารอย่างอื่นเสริมแต่อย่างใด และหากจะพูดถึงน้ำนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายลูกน้อยมากที่สุด ก็ต้องตอบว่า น้ำนมเหลือง ที่มีเพียง 1 – 3 วันหลังคลอดเท่านั้น แล้วอะไรทำให้น้ำนมเหลืองขึ้นแท่นสู่การเป็น วัคซีนธรรมชาติจาก อกแม่สู่ลูกน้อย
- แลคโตเฟอร์ริน ถือเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก เพราะ แลคโตเฟอร์ริน ช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อราก่อโรค ที่บริเวณลำไส้ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริเวณที่พบเชื้อโรคได้มากในร่ายกายของเรา จึงช่วยลดโอกาสที่จะเจ็บป่วยลงได้ โดยเฉพาะการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
- MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ เป็นสารอาหารสำคัญที่พบในได้ในนมแม่ อุดมไปด้วยไขมัน และโปรตีนชีวภาพกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด และนิวคลีโอไทด์ แม้เราจะคุ้นเคยว่า MFGM เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยพัฒนาการเสริมสร้างสมอง และส่งเสริม IQ และ EQ ให้กับลูกน้อย แต่ MFGM มีคุณสมบัติเกี่ยวกับการเสริมภูมิคุ้มกันอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ลดการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนและภูมิแพ้ในเด็ก(1) เด็กที่ได้รับ MFGM จะมีระยะเวลาในการเป็นไข้หรือเจ็บป่วยและใช้ยาปฏิชีวนะน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับ MFGM ซึ่งแสดงถึงการมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงของเด็ก
- โอลิโกแซคคาไรด์ (2’-FL) หรือใยอาหารธรรมชาติชนิดที่พบมากในนมแม่ บริเวณลำไไส้ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ดีและแบคทีเรีย ไวรัสก่อโรคนานา การดูแลให้ลำไส้มีความสมดุลก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2’-FL เป็นอาหารของจุลินทรีย์ในลำไส้ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ดี อย่าง บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ลดการติดเชื้อในลำไส้ ปรับสมดุลในลำไส้ ช่วยให้อุจจาระนุ่ม การขับถ่ายของลูกเป็นปกติ ลดโอกาสเกิดท้องเสีย หรือท้องผูก
ปัจจัยการผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติ เป็นเพียงหนึ่งปัจจัยที่จะบอกถึงแนวโน้มพัฒนาการของลูกเท่านั้น แม้เด็กผ่าคลอดจะมีพัฒนาการด้านภูมิคุ้มกันล่าช้ากว่า แต่หากลูกได้รับโภชนาการที่ส่งเสริมให้ ภูมิคุ้มกันดี สมองดี สุขภาพลำไส้ดี ได้รับการฝึกทักษะตามช่วงวัย และได้รับความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอ ก็เป็นปัจจัยที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการรอบด้านของลูกน้อยได้เช่นกันค่ะ
แม้ น้ำนมเหลือง จะมี แลคโตเฟอร์ริน ในปริมาณมากที่สุด แต่น้ำนมระยะอื่นก็ยังคงมีแลคโตเฟอร์ริน และสารอาหารช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอยู่เช่นกันค่ะ ดังนั้นการดูแลให้ลูกได้ดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน และให้ดื่มต่อเนื่องจนลูกอายุ 2 ขวบ ก็จะเป็นวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรงได้นะคะคุณแม่
แต่หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมได้หรือมีความกังวลว่า น้ำนมของตนจะไม่พอต่อความต้องการของลูก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับ โภชนาการที่เหมาะสมที่มี แลคโตเฟอร์ริน เพื่อนำมาให้ลูกน้อยดื่มควบคู่กับนมแม่ได้เลยค่ะ หรือหากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ แลคโตเฟอร์ริน เพิ่มเติม สามารถดูได้ ที่นี่
อ้างอิง
(1) Birch EE et al.J Nutr.2010;156 (6):902-906
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกผ่าคลอดแข็งแรงได้ ด้วยโภชนาการที่ถูกต้อง สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกตั้งแต่แรกเกิด
11 อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันเด็ก เสริมภูมิต้านทาน แข็งแรงสมวัย
8 อาหารเพิ่มน้ำนมคุณแม่ ให้มีน้ำนมพอ รวมมาให้หมดแล้ว !
มัดรวมประโยชน์ของ “แลคโตเฟอร์ริน” สารอาหารยืนหนึ่ง เรื่องสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก
ที่มา : enfababy, samitivejhospitals
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!