แม่ผิดเอง ฝากท้องช้า ฝากครรภ์ช้า ผลเสีย ที่มีกับลูกรุนแรงขนาดนี้เลย
ฝากท้องช้า ฝากครรภ์ช้า ผลเสีย ส่งผลกับลูกแบบคาดไม่ถึง แม่เล่า ผลกระทบของการไม่ฝากครรภ์ ให้เร็ว จนวันนี้ ลูกเกิดมาแล้ว ไม่มีรูทวารและเป็นดาวน์ซินโดรม ต้องคอยดูแล รักษาลูก ทั้งที่ฐานะทางบ้านไม่ดี
คุณแม่ได้เล่าถึงผลเสียการฝากท้องช้า หรือไม่รีบฝากครรภ์ ไว้ว่า จะเล่าประสบการณ์สำหรับตัวแม่เองนะคะ ฝากท้องช้าเกิน ไม่ได้เจาะน้ำคร่ำ ตอนท้องหงุดหงิด จิตตก นอนดึกตื่นเช้า กินแต่มาม่าประจำ ผลที่ได้คือลูกเกิดมาไม่มีรูทวารและเป็นเด็กพิเศษ (ดาวน์ซินโดรม) เกิดโรคแทรกช้อนต้องคอยระวังและรักษากันยาวไกล แม่ผิดเอง แต่แม่คนนี้ก็ภูมิใจที่ได้หนูมา แม่รักหนูนะลูก/ปอร์เช่ (เทวดาน้อยของแม่)
สำหรับน้องปอร์เช่ ตอนนี้อายุ 2 เดือน 21 วัน คุณแม่บอกว่า ลูกเป็นเด็กพิเศษ จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ภูมิคุ้มกันของลูกก็ไม่เหมือนเด็กปกติ และต้องตรวจหาโรคอื่น ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอด
ด้านครอบครัวน้องปอร์เช่ คุณแม่เล่าว่า ปัจจุบันอาศัยอยู่กระท่อมเล็ก ๆ มีความกว้าง 2 เมตร ความยาว 5 เมตร คุณพ่อคือเสาหลักของบ้าน พ่อทำงานคนเดียว ทำงานก่อสร้างได้ค่าแรงวันละ 360 บาท แต่ครอบครัวมีค่าใช้จ่ายประจำคือ การพาน้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งไกลจากบ้านมาก หมอนัดทุกเดือน เดือนละ 2 ครั้ง
หากต้องการบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือ สามารถติดต่อแม่ บุญสม มีชูศิลป์ เบอร์ 0616232407
ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ขอเป็นกำลังใจให้กับครอบครัวน้องปอร์เช่ด้วยนะคะ
ฝากท้องตอนกี่เดือน
โรงพยาบาลวิภาวดี แนะนำว่า แม่ท้องควรฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ไม่ควรเกิน 3 เดือน นับจากมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย สำหรับบริการที่คนท้องจะได้รับเมื่อฝากครรภ์ มีดังนี้
- แม่ท้องจะได้ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ
- แพทย์หรือพยาบาลจะซักประวัติเกี่ยวกับการขาดระดูหรือประจำเดือน อาการแพ้ท้อง ลูกดิ้น ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต รวมถึงประวัติการตั้งครรภ์ และการคลอดครั้งก่อน ๆ ตลอดจนประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว การแพ้ยาต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลแก่สูติแพทย์ และมีประโยชน์ในการดูแลแม่ท้องระหว่างตั้งครรภ์และคลอด
- แม่ท้องจะได้รับการตรวจครรภ์ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจากสูติ-นรีแพทย์ รวมทั้งการคาดคะเนกำหนดคลอดให้ด้วย โดยทั่วไปจะคลอดในระยะ 1-2 สัปดาห์ ก่อนหรือหลังการคาดคะเนได้
- สูติแพทย์จะให้คำแนะนำหรือตอบปัญหาเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์ ให้ยาบำรุงหรือยาอื่น ๆ ที่จำเป็นให้และนัดวันตรวจครั้งต่อไปเป็นระยะ ๆ
- การไปรับการตรวจครั้งต่อไปจะกำหนดให้คร่าว ๆ ดังนี้
- ตั้งแต่ฝากครรภ์ครั้งแรกถึงครรภ์ 7 เดือน ควรไปตรวจเดือนละครั้ง
- ระหว่างครรภ์ 7 เดือน ถึง 8 เดือน ควรไปตรวจทุก 2 สัปดาห์
- ครรภ์เดือนสุดท้าย ควรไปตรวจสัปดาห์ละครั้ง ถ้าการตรวจครรภ์ผิดปกติ เช่น มีโรคแทรกซ้อน แพทย์อาจจัดให้ท่านไปตรวจบ่อยกว่าที่กำหนด
การดูแลตัวเองตอนท้อง เรื่องที่ควรปฏิบัติในระหว่างตั้งครรภ์
1. การรับประทานอาหาร คนท้องควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะจำพวกโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม ไข่ ตับ และถั่วต่าง ๆ รวมถึงอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มวิตามินและเกลือแร่แล้ว ยังช่วยไม่ให้ท้องผูกอีกด้วย สำหรับอาหารจำพวกแป้งและไขมัน คนท้องไม่จำเป็นต้องรับประทานมาก เพราะจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนและคลอดยาก
2. การพักผ่อนและการออกกำลังกาย คนท้องควรนอนพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงหรือมากกว่านี้ การเดินหรือนั่งทำงานบ้านเบา ๆ เป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก การทำงานนอกบ้านหรือเดินทางไกล ไม่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ ถ้าไม่ทำให้แม่ท้องอ่อนเพลียจนเกินไป ควรมีการนอนพักระหว่างวันในช่วงบ่าย ประมาณ 15-30 นาที เพื่อไม่ให้อ่อนเพลียเกินไป
3.สุขภาพฟัน คนท้องควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจและรักษาฟัน เพราะในระหว่างตั้งครรภ์ฟันของ ฟันของแม่ท้องจะผุง่าย การอุดฟันหรือถอนฟัน ถ้าทันตแพทย์เห็นสมควร จะไม่มีอันตรายแก่ลูกในท้อง
4.การรักษาความสะอาดของร่างกายและเต้านม คนท้องควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และสวมเสื้อผ้าที่สะอาด ไม่รัดแน่นจนเกินไป ถ้ามีน้ำใส ๆ ออกมาจากหัวนม ควรล้างออกด้วยน้ำหรือสบู่อย่างอ่อนทุกครั้งที่อาบน้ำ สำหรับคนท้องที่หัวนมสั้นหรือบอด ควรดึงหัวนมทุกครั้ง เพื่อช่วยให้หัวนมยาวขึ้น และสะดวกในการให้นมลูกต่อไป
ข้อห้ามคนท้อง สิ่งที่แม่ท้องควรละเว้น
- ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด ลดละการดื่มน้ำชา กาแฟ ห้ามลิ้มลองแอลกอฮอล์ทุกชนิด และแม่ท้องห้ามสูบบุหรี่
- ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือทำงานหนัก ที่จะทำให้แม่ท้องรู้สึกอ่อนเพลียมากเกินไป
- ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
- ไม่ควรล้าง สวนช่องคลอดด้วยน้ำหรือน้ำยาใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากแพทย์จะสั่งเท่านั้น
- สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ ยกเว้นในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์หรือในกรณีที่ผิดปกติ เช่น มีเลือดออกหรือเมื่อแพทย์สั่งห้าม
- ไม่ควรฉายเอกซเรย์ นอกจากในกรณีที่แพทย์จะเห็นสมควร
การไม่ดูแลตัวเองตอนท้อง จะส่งผลกับลูกแบบคาดไม่ถึง ยิ่งแม่ฝากท้องช้า หรือฝากครรภ์ช้า ผลเสีย อาจจะรุนแรงได้ สำหรับเรื่องนี้ขอให้เป็นอุทาหรณ์ความสําคัญของการฝากครรภ์ ขอให้แม่ ๆ อย่าชะล่าใจ เพราะถ้าฝากครรภ์ช้าเกินไป คุณแม่ก็จะได้รับการดูแลจากแพทย์ช้าไปด้วย การฝากท้องให้เร็วที่สุดก็เพื่อให้แน่ใจว่า แม่ท้องตั้งครรภ์ปกติ ลูกในท้องแข็งแรงและสมบูรณ์ โดยคุณหมอจะคอยตรวจสุขภาพแม่ท้องว่า มีโรคแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อแม่และลูกในท้องหรือไม่ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง และกามโรค
ที่มา : https://www.vibhavadi.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
อาการคนท้องแต่ละเดือน 9 เดือน 9 อาการ แม่ท้องเตรียมรับมือได้เลย!!
แม่ท้องตอน 30 ลูกหัวไว ฉลาด ไอคิวสูง แข็งแรง เป็นอายุที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์
ฝากท้องฟรี คลอดฟรี มีที่ไหน ที่นี่ไงประเทศไทย
วิธีลดอาการเท้าบวมในคนท้อง ตั้งท้องแล้วเท้าบวมต้องทำยังไง?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!