X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ? การดื่มกาแฟเป็นอันตรายต่อคนท้องและทารกอย่างไร ?

บทความ 5 นาที
คนท้องกินกาแฟได้ไหม ? การดื่มกาแฟเป็นอันตรายต่อคนท้องและทารกอย่างไร ?

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องกินกาแฟได้ไหม คำถามอันดับต้น ๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มักดื่มกาแฟทุกวันอยากจะรู้ เพราะกังวลว่ากาแฟจะมีผลต่อการตั้งครรภ์หรือเป็นอันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า มาคลายสงสัยกันค่ะ

 

คนท้องกินกาแฟได้ไหม

ทำความรู้จักกาแฟกันก่อน

กาแฟ หรือ Coffee เป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันมากในช่วงวัยกลางคน หรือผู้สูงอายุ โดยกาแฟนั้นทำจากการนำเมล็ดกาแฟที่ได้จากต้นกาแฟมาคั่วและบด ส่วนใหญ่มักนิยมดื่มร้อน ๆ แต่ก็สามารถดื่มแบบเย็นได้เช่นกัน บางคนนิยมดื่มกาแฟใส่นมหรือครีมเทียมเพื่อความหอม และนุ่มละมุนลิ้น โดยกาแฟหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนอยู่ที่ประมาณ 80-140 มิลลิกรัม กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับชาและน้ำ นอกจากนี้ กาแฟยังเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับที่หกของโลก

 

คาเฟอีนในกาแฟ ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายบ้าง ?

คาเฟอีน เป็นสารที่มีรสขมพบมากในเครื่องดื่มแสนอร่อยแก้วโปรดของใครหลาย ๆ คนเช่น กาแฟ ช็อกโกแลตและน้ำอัดลม ซึ่งมีฤทธิ์ไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและเร่งระบบเผาผลาญในร่างกาย ทำให้มีความตื่นตัว หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้เกิดอาการใจสั่น ปวดหัวและนอนไม่หลับ หากแม่ท้องดื่มกาแฟลูกในท้องก็จะได้รับคาเฟอีนผ่านทางสายรก ทำให้ได้รับคาเฟอีนส่งตรงจากแม่และส่งผลต่อร่างกายเหมือนกัน แต่จะไม่ส่งผลต่อความพิการ สติปัญญา หรือสีผิวของลูกในท้องแน่นอน

 

Advertisement

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการบริโภคคาเฟอีน

การบริโภคคาเฟอีนเป็นประจำหรือการได้รับคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป อาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ดังนี้

1. นอนไม่หลับ

ประโยชน์อย่างหนึ่งของคาเฟอีน คือ ทำให้ตื่นตัวไม่ง่วงนอน แต่ในขณะเดียวกัน การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไปอาจทำให้นอนไม่หลับได้ โดยมีการศึกษาพบว่า หากได้รับคาเฟอีนมากเกินไป อาจต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าจะนอนหลับ และยังอาจทำให้ระยะเวลาและคุณภาพการนอนลดลงได้อีกด้วย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

 

2. เกิดความวิตกกังวล

แม้คาเฟอีนอาจกระตุ้นให้สมองทำงานได้ดีขึ้น แต่หากได้รับคาเฟอีนมากเกินไป อาจทำให้เกิดความผิดปกติภายในสมอง อย่างเป็นโรควิตกกังวลได้ โดยมีการศึกษาพบว่า การบริโภคคาเฟอีนเกินวันละ 1,000 มิลลิกรัม อาจทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือความกระวนกระวายใจ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล

 

3. เกิดความเมื่อยล้า

การบริโภคคาเฟอีนอาจเพิ่มพลังงานและประสิทธิภาพต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ แต่หลังจากหมดฤทธิ์แล้ว คาเฟอีนอาจทำให้เกิดความเมื่อยล้าตามมาได้เช่นเดียวกัน โดยมีการศึกษาพบว่า แม้เครื่องดื่มชูกำลังที่ผสมคาเฟอีนอาจทำให้รู้สึกตื่นตัวและเพิ่มความรู้สึกเป็นเวลาหลายชั่วโมง แต่ก็อาจทำให้ร่างกายรู้สึกเมื่อยล้ามากกว่าปกติในวันต่อมาได้

 

4. ติดคาเฟอีน

คาเฟอีนจะทำให้สมองหลั่งสารบางอย่างออกมาในลักษณะที่คล้ายกับการติดสารเสพติด จึงอาจเกิดอาการติดคาเฟอีนได้ นอกจากนี้ หากเป็นผู้ที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณมากในแต่ละวัน หรือมีภาวะติดคาเฟอีนอยู่แล้วหยุดบริโภคทันที อาจทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นในร่างกายได้

 

5. กล้ามเนื้อและกระดูกเสียหาย

หากบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมน้อยลงจนเกิดภาวะกระดูกพรุน หรืออาจทำให้อัตราเมตาบอลิซึมสูงเกินไปจนเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง นอกจากนี้ แม้จะเป็นกรณีที่พบได้น้อย แต่การดื่มคาเฟอีนในปริมาณมากอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายได้

 

6. ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น

การบริโภคคาเฟอีนปริมาณมากอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นชั่วคราว จึงอาจเกิดผลกระทบต่อระบบประสาท และอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นจนอาจเกิดความผิดปกติอย่างภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วได้ นอกจากนี้ การที่ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้เช่นกัน

 

7. ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายมีปัญหา

คาเฟอีนในกาแฟ เมื่อเราดื่มกาแฟในปริมาณที่มากจนเกินไปจะทำให้ร่างกายของเรานั้นขับคาเฟอีนส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งนั่นหมายความว่ายิ่งดื่มกาแฟมากเท่าไหร่ จะทำให้เรานั้นเข้าห้องน้ำบ่อยมากยิ่งขึ้น และอาจนำไปสู่การถ่ายเหลว หรือท้องเสียได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงการทำให้กรดในกระเพาะมีการเพิ่มปริมาณมากขึ้น และทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก หรือกรดไหลย้อนได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้อง นอนไม่หลับ ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างไร

 

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ?

ท้องกินกาแฟได้ไหม ? แม้จะยังไม่มีรายงานในทางการแพทย์ว่าการดื่มกาแฟนั้นมีอันตรายกับทารกในครรภ์ ทำให้ที่คุณแม่ที่ติดกาแฟนั้นโล่งใจขึ้นมาได้ แต่การกินของคุณแม่ก็คือต้องดื่มในปริมาณที่ “จำกัด” คาเฟอีนไม่ให้เกินวันละ 300 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะหากมากไปกว่านี้ สารคาเฟอีนในกาแฟที่คุณแม่ดื่มเข้าไปผ่านสายรกเข้าสู่ทารกในครรภ์ จะส่งผลกระทบต่อทารกได้ เช่น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด หรือคลอดออกมาแล้วทารกมีน้ำหนักตัวน้อย เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องไม่ควรกินอะไร ห้ามดื่มอะไรบ้าง อะไรคือของแสลงที่คนท้องต้องระวัง

 

คาเฟอีนส่งผลอย่างไรต่อแม่ และลูกในท้อง

  1. คาเฟอีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และขับแคลเซียมออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยพัฒนาการทางร่างกายและการสร้างเซลล์ต่าง ๆ ของลูกในท้องให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์อาจทำให้แม่ท้องมีน้ำคร่ำน้อย หรือขาดแคลเซียมได้
  2. ทำให้หัวใจของทารกเต้นเร็วกว่าปกติ หายใจเร็ว กระตุก และระยะต่อมาอาจมีภาวะโรคเบาหวานแทรกแซง
  3. มีการวิจัยชี้ชัดด้วยว่า คาเฟอีนส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของทารกที่อยู่ในท้องแม่ที่ดื่มกาแฟมากเกินไป
  4. ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้แม่นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลเสียต่อสุขภาพ
  5. ทำให้แม่ท้องเบื่ออาหาร และการเติมครีมเทียมและน้ำตาลในกาแฟจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  6. นอกจากขับแคลเซียมออกจากร่างกายแล้ว คาเฟอีนยังมีฤทธิ์ขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแร่ธาตุจำเป็นสำหรับแม่ท้อง

 

คนท้องกินกาแฟได้ไหม

.

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

เราจะควบคุมปริมาณคาเฟอีนได้อย่างไรบ้าง ?

การดื่มกาแฟ หรือการบริโภคคาเฟอีนนั้นไม่ได้หมายความว่าจะมีข้อเสีย หรือข้อดีอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่เราจะต้องรู้จักดื่มให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งถ้าหากเราสามารถควบคุมปริมาณการดื่มคาเฟอีนได้นั้นจะส่งผลดีต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก โดยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ไม่ควรบริโภคคาเฟอีนเกินปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียง
  • อ่านฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์ก่อนทุกครั้ง เพื่อดูว่าอาหารชนิดนั้นมีคาเฟอีนหรือไม่ หรือมีคาเฟอีนผสมอยู่มากเพียงใด
  • ก่อนดื่มกาแฟเพิ่มอีกแก้วหลังดื่มไปแล้วแก้วหนึ่ง ให้คิดทบทวนว่าจำเป็นต้องดื่มกาแฟเพิ่มจริงหรือ เพราะหากไม่จำเป็นก็อาจไม่ต้องดื่มกาแฟเพิ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป
  • ให้ลดปริมาณลงทีละน้อย สำหรับผู้ที่ดื่มเป็นประจำ หรือเสพติดการดื่มกาแฟ เพราะหากหยุดบริโภคในทันทีอาจทำให้เกิดภาวะถอนคาเฟอีน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อร่างกายหลายรูปแบบ เช่น คลื่นไส้ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีสมาธิ เป็นต้น จนอาจทำให้กลับไปบริโภคคาเฟอีนดังเดิม
  • หากคิดว่าการเลิกบริโภคคาเฟอีนนั้นยากเกินไป ให้เปลี่ยนไปดื่มกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน หรือดื่มชาและชาสมุนไพรแทนการดื่มกาแฟปกติ เพราะเครื่องดื่มดังกล่าวมีคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟในปริมาณที่เท่ากัน
  • ยาบางชนิดอาจมีส่วนผสมของคาเฟอีน จึงควรอ่านฉลากยาให้ดี หรือปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ

 

หากแม่ท้องยังอยากดื่มกาแฟต่อไปนอกจากต้องจำกัดปริมาณคาเฟอีนต่อวันแล้ว ก็ควรต้องดื่มน้ำมาก ๆ ในแต่ละวันเพื่อชดเชยน้ำในร่างกายที่สูญเสียไปเพื่อไม่ให้น้ำคร่ำมีปริมาณน้อยเกินไปและสิ่งสำคัญที่น่ากังวลใจมากกว่าคาเฟอีนคือปริมาณน้ำตาลที่เติมในเครื่องดื่มและในอาหารที่กินทุกวัน เพราะหากแม่ท้องได้น้ำตาลในปริมาณที่มากเกินอันเสี่ยงเป็นเบาหวานตอนตั้งท้องซึ่งมีอันตรายมากกว่าคาเฟอีนหลายเท่าค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เครื่องดื่มสำหรับคนท้อง คนท้องดื่มอะไรแล้วดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย

คนท้องดื่มไวน์ ได้จริงหรือ? การดื่มไวน์ทำให้ผู้หญิงท้องได้เร็วขึ้นหรือไม่

คนท้องกินกาแฟได้ไหมคะ หากท้องแล้วกินกาแฟ อันตรายกับลูกในท้องไหมคะ

ที่มา : pregnancybirthbaby.org.au , theguardian , webmd

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • โภชนาการ
  • /
  • คนท้องกินกาแฟได้ไหม ? การดื่มกาแฟเป็นอันตรายต่อคนท้องและทารกอย่างไร ?
แชร์ :
  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว