อาการคนท้องแต่ละเดือน
อาการคนท้องแต่ละเดือน 9 เดือน 9 อาการ ความเปลี่ยนแปลงที่แม่ท้องทุกคนต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้น แม่ท้องต้องเรียนรู้และเตรียมรับมือไว้ เมื่ออาการเหล่านั้นมาถึง แม่ท้องจะได้เข้าใจว่าลูกในท้องของเราเริ่มมีพัฒนาการไปอีกขั้นแล้วน่ะ ยิ่งแม่ๆ รู้สึกถึงแรงกดทับมากเท่าไหร่ แสดงว่าลูกน้อยในท้องต้องตัวโตแน่ๆ แล้วใน 9 เดือนนี้ แม่ๆ ต้องเจอกับอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
เดือนที่ 1: แพ้ท้องหนักมาก
อาการแพ้ท้องแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ทั้งคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน พะอืดพะอม บางคนมาก บางคนน้อย คนส่วนใหญ่จะสันนิษฐานว่าตัวเองท้อง เนื่องจากขาดประจำเดือน และมีการคลื่นไส้ เหมือนกับพล็อตละครหลังข่าว ซึ่งอาการแพ้ท้องเหล่านี้ผู้หญิงจะรู้ตัวช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับระดับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกายที่เรียกว่า HCG (human chorionic gonadotropin)
HCG คือ ฮอร์โมนตั้งครรภ์ ที่ถูกสร้างจากรกหลังจากที่มีการปฏิสนธิได้ประมาณ 2 – 3 วัน เกิดเป็นตัวอ่อน แล้วตัวอ่อนก็เข้าไปฝังในผนังโพรงมดลูก ซึ่งตรงนี้เองที่ทำให้เกิด HCG จากนั้นฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะเริ่มไหลเข้าสู่กระแสเลือดของผู้เป็นแม่ ทำให้คุณผู้หญิงสามารถทดสอบการตั้งครรภ์ทั้งจากเลือดและปัสสาวะ โดยที่ในแต่ละสัปดาห์ค่าฮอร์โมนตัวนี้จะมีความแตกต่างกันนั่นเอง
เดือนที่ 2: รู้สึกเหนื่อยง่าย
พอเข้าเดือนนี้แม่ๆ จะรู้กมึนงง เหนื่อยง่ายไม่เหมือนเมื่อก่อน บางคนเป็นหนักกว่าแพ้ท้องอีก ซึ่งความรู้สึกนี้ สามี เพื่อนร่วมงาน หรือคนใกล้ตัวที่ไม่เคยท้องก็จะไม่เข้าใจ มีคนเคยพูดว่า ในช่วงที่คนท้องไตรมาสแรก คนท้องจะรู้สึกสบายดีแค่หนึ่งนาที ส่วนเวลาที่เหลืออาการจะเหมือนคนไม่ได้นอนมาทั้งคืน ทั้งๆ ที่เพิ่งตื่นนอนได้ไม่นาน บางทีแค่เดินซื้อของธรรมดาๆ ก็รู้สึกเหมือนว่าผ่านการวิ่งออกกำลังกายมา สำหรับคนที่ไม่มีอาการนี้ในช่วงเดือนที่สองของการตั้งครรภ์ ยินดีกับแม่ท้องด้วยค่ะ แต่ว่าแม่ๆ ก็ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม เพื่อรอรับอาการของคนท้องที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละเดือน
เสื้อในคนท้อง เลือกยังไง ในแต่ละไตรมาส วิธีเลือกชุดชั้นในคนท้อง ใส่เสื้อในมีโครงได้ไหม
เดือนที่ 3: หน้าอกขยายใหญ่
หน้าอกใหญ่ นมโต เป็นอีกหนึ่งสัญญาณความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เตรียมพร้อมสำหรับลูกน้อยในครรภ์ ทุกๆ วันร่างกายของคนท้องจะเริ่มเปลี่ยนไป ฮอร์โมนของคนท้องก็จะเข้าไปสร้างเนื้อเยื่อเต้านมที่ใช้ในการผลิตน้ำนมสำหรับลูกในท้อง และมันจะบวมขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่เด็กจะคลอดออก ทำให้เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดก็สามารถกินนมแม่ได้เช่นกัน แต่เวลาที่นมของคนท้องใหญ่ขึ้น อาการเจ็บปวดก็จะตามมาด้วยเช่นกัน
เดือนที่ 4: ปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน
ในเดือนนี้ เด็กในท้องจะเริ่มใหญ่ขึ้น ร่างกายของคนท้องจึงต้องขยายอุ้งเชิงกรานขึ้นเพื่อรองรับขนาดของทารก และช่วยในเรื่องของการคลอดลูก พร้อมๆ กับการปล่อยฮอร์โมนที่เรียกว่า relaxin ทำให้กระดูกบริเวณหัวเหน่ากับอุ้งเชิงกรานหลวมขึ้น แต่สิ่งที่มันตามมาด้วยคืออาการปวดไปด้วยเวลาที่ต้องเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน สวมใส่เสื้อผ้า ลุกเข้าห้องน้ำ และจะเริ่มปวดมากขึ้นเรื่อยๆ
วิธีแก้อาการปวดของคนท้อง คุณแม่อาจใช้สายรัดท้อง การเลือกสวมกางเกง การเลือกสวมรองเท้าที่เหมาะสม การใช้ถุงร้อนประคบบรเวณที่ปวด ซึ่งคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ด้วย เพื่อประเมินวิธีลดอาการปวด และไม่ควรกินยาแก้ปวดเองหากไม่ได้รับคำแนะนำจากคุณหมอค่ะ
อาการคนท้องแต่ละเดือน
เดือนที่ 5: น้ำหนักตัวพุ่ง
ปกติแล้วคนท้องจะมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นประมาณ 11-16 กิโลกรัม ระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งนำหนักที่เพิ่มขึ้นมาไม่ใช่เป็นน้ำหนักลูกในท้องเพียงอย่างเดียว แต่มันมีทั้งรก หน้าอกของแม่ ไขมันที่เพิ่มขึ้น น้ำ และเลือดที่ไหลเวียนอยู่ในตัว พอน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ร่างกายก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น ทำให้แม่ท้องหลายคนเริ่มไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง กลัวว่าใส่เสื้อผ้าไม่สวย เพราะรู้สึกว่าตัวเองอ้วนนั่นเอง
ก่อนที่ผู้หญิงจะตั้งท้อง มดลูกจะมีขนาดเท่ากับลูกแพร์ และจะอยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน พอมีลูกมดลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 5-6 กก. ในลักษณะที่ท้องจะยื่นออกไปด้านหน้า เมื่อน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น การกดทับบริเวณส่วนล่างจากท้องที่โตก็มากขึ้น ทำให้เกิดการกดทับบริเวณเส้นประสาท คนท้องจึงเกิดอาการชาบริเวณขาได้ง่าย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาการที่แม่ท้องทุกคนต้องเจอแบบเลี่ยงไม่ได้
เดือนที่ 6: ลูกในท้องเริ่มเตะ
เชื่อเถอะว่าการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแบบนี้ แม่ทุกคนยินดีและดีใจมากๆ พอเข้าสู่เดือนที่ 6 คนท้องจะรู้สึกแปลกในท้องเหมือนมีอะไรมาตอด ดิ้นดุกดิกอยู่ในพุง ซึ่งไม่ใช้อาการแบบท้องร้องเวลาหิว หรือมีแก๊สในกระเพาะ แต่คืออาการของลูกดิ้น แม่หลายคนแรกๆ ก็ยังไม่แน่ใจว่าอาการแบบนี้มันคืออะไร แต่พอมันเป็นบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้น แม่ท้องก็จะรู้เองว่านี้คือสิ่งที่เจ้าตัวเล็กในท้องได้แสดงตัว ทักทาย และสื่อสารถึงแม่ของเขา ผ่านผนังหน้าท้อง เวลาลูกดิ้น แม่ๆ ก็อย่าลืมทักทายและคุยกับลูกด้วยนะคะ
เดือนที่ 7: ปวดบริเวณขาหนีบ
ในช่วงระหว่าง 16-22 สัปดาห์ คนท้องส่วนมากจะรู้สึกปวดบริเวณเอ็นยึดมดลูก หากเอ็นยึดมดลูกยืดเร็วเกินไป จนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้ว่าที่คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยทั้งสองข้าง จะปวดมากเป็นพิเศษขณะเดินและพลิกตัว
อาการคนท้อง
เดือนที่ 8: เจ็บท้องหลอก
อาการมดลูกหดตัวแม่หลายคนไม่ทราบว่า มดลูกเริ่มหดตั้งแต่ตั้งครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ และจะเริ่มเป็นมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะแม่ท้องแก่ อาการนี้แม่ท้องจะรู้สึกเหมือนปวดประจำเดือนแต่มันจะรุนแรงกว่า บางครั้งก็รุ็สึกปวดจนตัวงอเป็นเวลานาน อาการนี้เรียกว่า “เจ็บท้องหลอก” เป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อให้แม่ๆ ได้ซ้อม และเตรียมตัวก่อนที่จะเกิดการเจ็บครรภ์จริงๆ
เดือนที่ 9: รู้สึกถึงความหนักหน่วง
มาถึงเดือนสุดท้าย แม่ๆ คงจะตื่นเต้นมากๆ เพราะใกล้จะเห็นหน้าลูกในท้องแล้ว พอใกล้คลอดทารกก็จะกลับหัวลงในท่าเตรียมคลอด ท้องจะลดต่ำลง ทำให้เกิดแรงกดที่กระเพาะปัสสาวะส่งผลให้คนท้องเข้าห้องน้ำบ่อย รวมถึงความแรงกดที่อุ้งเชิงกรานที่มากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นแม่ท้องใกล้คลอดต้องเตรียมรับมือกับความเจ็บปวดที่ถาโถมเข้ามาในช่วงสุดท้ายให้ดีนะคะ แม่ๆ อย่าลืมเช็คสัญญาณใกล้คลอดให้ดีนะคะ
ที่มา: livescience
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
9 อาการปวดแม่ท้องแบบไหนปกติ แบบไหนอันตราย อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ ปวดแบบนี้ ฉุกเฉินไหม
สาเหตุ ตัวอ่อน ไม่พัฒนา ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโต แท้งค้าง คนท้องแบบไหนเสี่ยงสูง
คนท้องเจ็บจิมิ จี๊ดตรงหัวหน่าว ร้าวไปยังอวัยวะเพศ สัญญาณใกล้คลอดหรือเปล่า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!