ทำไม ลูกไม่ยอมกลับหัว
ลูกไม่ยอมกลับหัว มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง กับการเกิดทารกท่าก้น เช่น มีการตั้งท้องมาแล้วหลาย ๆ ครั้ง มีประวัติคลอด ยากในท้องก่อน ๆ การตั้งครรภ์แฝด คุณแม่ มีปริมาณน้ำคร่ำที่มาก หรือ น้อยเกินไป การมีเนื้องอกมดลูก หรือ มดลูกที่รูปร่างผิดปกติ ภาวะรกเกาะต่ำ และ การ
คลอดก่อนกำหนด แม้ว่าแพทย์จะไม่สามารถวินิจฉัยสาเหตุที่แน่ชัดว่า ทำไมทารกจึงไม่กลับหัว แต่ก็สามารถบอก ท่าของทารกในครรภ์ ให้กับ คุณแม่ ได้ โดยการตรวจทางหน้าท้อง เพื่อคลำท่าของทารก และ ยืนยันท่าของทารก ด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ อัลตร้าซาวน์ ในกรณีที่ตรวจพบว่าทารกยังคงอยู่ในท่าก้น ที่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ สูติแพทย์อาจทำการหมุนเปลี่ยนทารกจากท่าก้น ให้เป็นท่าศีรษะจากภายนอก (external cephalic version) ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป ก่อนมีการเจ็บ ครรภ์คลอด น้ำเดิน หรือ ไม่มีข้อห้ามใด ในการคลอดทาง
ช่องคลอด
รู้ได้อย่างไรว่า ลูกไม่กลับหัว
โดยทั่วไปแล้ว เด็กในครรภ์จะยัง ไม่นับว่าเป็น ทารกท่าก้น (ทารกท่าก้น คือ เด็กทารกในครรภ์ที่หันก้น หรือ ขา ส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปทางด้านล่างของมดลูก ในขณะที่ศีรษะของเด็ก อยู่ตรงส่วนบนของ มดลูก) จนกระทั่งอายุครรภ์ราว 35 – 36 สัปดาห์ เมื่อเด็กหันศีรษะลง จึงเป็นสัญญาณว่า ใกล้ถึงเวลาคลอดเต็มที ในช่วงก่อน 35 สัปดาห์นั้น นับว่าเป็นปกติที่เด็กจะหันศีรษะลง หรือ ตะแคงข้าง แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกมีขนาด ตัวใหญ่ขึ้น เมื่อนั้นเจ้าตัวน้อยในครรภ์จะ ไม่เหลือพื้นที่มากพอให้กลับตัว ลงมาอยู่ในท่าที่ พร้อมสำหรับการคลอด
ลูกไม่ยอมกลับหัว-01
แช่น้ำอุ่น
ลงไปนอน แช่น้ำอุ่น ๆ ในอ่างอาบน้ำเป็นรีหนึ่งที่ช่วยให้ลูกกลับหัว แต่ถ้าคุณไม่มีอ่างอาบน้ำ ให้ใช้สระว่ายน้ำแทน คุณสามารถว่ายน้ำ หรือ ออกกำลังกายในน้ำเบา ๆ เพื่อให้ลูกกลับหัวก็ได้เช่นกัน นะคะ
ลูกไม่ยอมกลับหัว-02
นอนราบบนหลังแล้วยกสะโพกขึ้น
นอนราบบนหลัง แล้วยกสะโพกขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ ช่วยกระตุ้นให้ลูกค่อย ๆ คลื่อนตัวออกจากเชิงกราน และ กลับตัว คุณสามารถใช้หมอนรองสะโพกเพื่อช่วยให้ คุณรู้สึกสบายมากขึ้น นอกจากนี้คุณยังสามารถ ใช้หมอนรองบนพื้น และ ยกขาพาดเตียงได้เช่นกัน นะคะ
ลูกไม่ยอมกลับหัว-03
ใช้แสงและเสียงดนตรีเบา ๆ กระตุ้น
ผลการวิจัยพบว่า เด็กคลื่อนตัวไปหาความอบอุ่น แสงสว่าง และ เสียง เนื่องจากประสาทการรับรู้ของลูกพัฒนาเต็มที่แล้วคุณสามารถกระตุ้นให้ลูก กลับ ตัวได้ผ่านการใช้เสียงเพลง และ ส่องไฟฉายไปบริเวณหัวหน่าว
ประคบเย็นบริเวณเหนือมดลูก
วิธีการนี้ใช้ร่วมกับวิธีที่กล่วไปก่อนหนนี้ คุณสมารถใช้ถุงน้ำแข็ง หรือ ถั่วลันเตาแช่แข็ง ห่อด้วยผ้าขนหนู หรือ ผ้าเช็ดจานแล้วนำมาวางบนท้อง วิธีนี้นจะเพียงพอที่จะทำให้ลูกเคลื่อน ตัวต่ำลงเพื่อไปหาบริเวณที่อุ่นกว่า คุณสามารถใช้วิธีนี้ช่วยขณะ นอนแช่น้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำก็ได้
เคลื่อนไหวร่างกาย
พยายามทำตัวให้ กระฉับ กระเฉง อย่างน้อยวันละ 30 นาที สามารถช่วยให้ เด็กกลับหัวได้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเดิน หรือ โยคะ
ที่มาอ้างอิง https://th.theasianparent.com
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่ คุณแม่ เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้ คุณแม่ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึง สื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ ทุกความต้องการของ คุณแม่ ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของ คุณแม่ หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุน คุณพ่อ คุณแม่ ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้ คุณแม่ และ เด็ก ที่เต็มเปี่ยม และ ตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
วิธีทำให้คลอดง่ายขึ้น
ทำไมเราจึงควรออกกำลังกายตอนท้อง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!