ชวนแม่ท้อง เรียนรู้ เรื่อง การดิ้น ของทารกในครรภ์
การดิ้นของทารกในครรภ์
การดิ้นของทารก : ช่วงสัปดาห์ที่ 16 -20 ทารกในครรภ์เริ่มดิ้นแล้วค่ะสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ท้องแรก คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าลูกดิ้นประมาณสัปดาห์ที่ 20สำหรับคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้วอาจจะรู้สกึได้ประมาณสัปดาห์ที่ 1 8 แน่นอนว่าคุณแม่จะต้องรู้สึกตื่นเต้นมากเพราะรู้สึกได้อย่างชัดเจนแล้วว่า ลูกน้อยอยู่ในครรภ์จริงๆ และกำลังเติบโตอย่างแข็งแรง
โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ได้ 4 เดือน พัฒนาการของ ลูกน้อย คือ สามารถได้ยินและฟังเสียงต่าง ๆที่เกิดขึ้น ใกล้ ๆ ตัวของคุณแม่ได้เป็นอย่างดีและได้ยินอย่างชัดเจนด้วยนะคะ แม้กระทั่งคุณแม่ไอหรือจาม หัวเราะ ถอนหายใจหนัก ๆ ก็ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนไปถึงถุงน้ำคร่ำ ทำให้ทารกตกใจสะดุ้งและถีบขาตามไปด้วย อีกอย่างหนึ่งจังหวะที่คุณแม่เคลื่อนไหว ลูกก็จะถูกเขย่าไปมาตามทิศทางการเคลื่อนไหวของคุณแม่เช่นกัน
การดิ้นของทารก : ช่วงสัปดาห์ที่ 24 -28 ดิ้นเร็วก็มีความหมาย เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 6 เดือน การดิ้นของทารกจะมีความหมายที่ต้องการสื่อสารกับคุณแม่ เช่น หิว ตกใจเพราะได้ยินเสียงดัง หรือเมื่อคุณแม่เปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่การที่แม่สะอึกทารกน้อยก็รับรู้ได้
ดังนั้น เมื่อคุณแม่เครียด ความเครียดจึงส่งผลต่อลูก ลูกจะดิ้นบ่อยเวลาที่คุณแม่เครียดหรือดิ้นในยามที่คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย แต่เป็นการดิ้นที่แตกต่ากันนะคะ คุณแม่ควรรักษาอารมณ์ของตนเองให้คงที่ และเบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ ส่งผลด่ต่อการพัฒนาสมองและอารมณ์ของทารกน้อยในครรภ์ได้โดยตรงนะคะ อย่าลืมว่าเมื่อคุณแม่สุข ลูกก็สุขด้วย ตรงข้ามถ้าคุณแม่ทุกข์ ลูกก็จะทุกข์ตามไปด้วยเช่นกัน
การดิ้นของทารก : ช่วงสัปดาห์ที่ 29 ในช่วงนี้ภายในมดลูกจะเริ่มมีการบีบตัวมากขึ้น ทำให้ทารกน้อยเคลื่อนไหวตัวเองได้น้อยลง แต่อาจรู้สึกได้ว่า ลูกดิ้นแรงขึ้นเพราะกล้ามเนื้อแขนขาเริ่มแข็งแรงขึ้นด้วย
การดิ้นของทารก : ช่วงสัปดาห์ที่ 32 ทารกในครรภ์อาจเคลื่อนไหว หรือดิ้นมากขึ้น และเริ่มเข้าสู่ท่าทางการกลับศีรษะเตรียมคลอด
การดิ้นของทารก : ช่วงสัปดาห์ที่ 36 เนื่องจากพื้นที่ว่างในครรภ์เริ่มแคบลง เพราะทารกเจริญเติบโตและแข็งแรงมากขึ้น ดังนั้น เวลาดิ้นแต่ละครั้งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บแปลบได้ โดยเฉพาะเวลาที่เตะถูกบริเวณชายโครง
การดิ้นของทารก : ช่วงสัปดาห์ที่ 37 – 40 ในช่วงใกล้คลอดคุณแม่อาจจะรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง หรือาจดิ้นไม่แตกต่างจากเดิมเมื่อครบกำหนดคลอด แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่ต้องสังเกตว่า การดิ้นของทารกต้องไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง แต่ความแรงอาจลดลงไปบ้าง
การดิ้นของทารกที่ส่งสัญญาณอันตราย
หากทารกดิ้นน้อยลง เป็นสัญญาณเตือนว่าทารกกำลังหายใจไม่ออก หรือร้ายแรงถึงขั้นจะเสียชีวิต ซึ่งหากคุณแม่รับรู้ได้ว่าลูกดิ้นน้อยลง อย่าชะล่าใจรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน หากอายุครรภ์ 7 เดือน คุณหมออาจวินิจฉัยให้ผ่าตัดคลอดได้ อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคุณหมออีกครั้งนะคะ แต่คุณแม่ควรสังเกตให้ดีเพื่อป้องกันและเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ
วิธีนับ ลูกดิ้น ในครรภ์ที่ถูกต้อง ต้องนับอย่างไร
การดิ้นของทารกในครรภ์เป็นสัญญาณสำคัญที่คุณแม่จะรับรู้ได้ว่า ลูกยังมีชีวิต มีความความแข็งแรง ดังนั้น การนับลูกดิ้นที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่ควรละเลิย ต้องหมั่นนับว่าลูกดิ้นแบบนี้เป็นการดิ้นที่เหมาะสมและดิ้นดีหรือไม่
วิธีนับลูกดิ้น
วิธีนับลูกดิ้น แบบที่ 1
- วิธีนับลูกดิ้น แบบที่ 1 คือ นับการดิ้นของทารกตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นนับพระอาทิตย์ตกดิน หรือตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น (รวมเวลา 12 ชั่วโมง) หรือคุณแม่เริ่มนับในเวลาใดก็ตามให้นับไปจนครบ 12 ชั่วโมง
- ผลการนับควรเป็นแบบนี้ การดิ้นของทารกในครรภ์ควรดิ้นเกิน 10 ครั้ง ถ้าดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง แบบนี้ไม่ดีแน่ ควรพบคุณหมอเพื่อตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นค่ะ คุณหมอจะใช้เครื่องมือตรวจดูสุขภาพของทารกว่าแข็งแรงดีหรือไม่ หากตรวจพบว่า ทารกมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงหรือมีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด คุณหมอจะได้พิจารณาวิธีการรักษาเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกต่อไป
วิธีนับลูกดิ้นแบบที่ 2
- วิธีนับลูกดิ้น แบบที่ 2 คือ นับการดิ้นของทารกหลังอาหาร 3 เวลา หลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น รวมกันครบ 10 ครั้ง ก็ใช้ได้
- ช่วงเวลาที่ทารกเริ่มดิ้นเป็นครั้งแรกนั้น คุณแม่อาจยังไม่รู้สึกถึงอาการลูกดิ้นเท่าใดนัก เพราะว่าขนาดทารกที่เล็กมากแต่มีน้ำคร่ำคอยปกปิดกีดขวางกับเนื้อหนังของคุณแม่ จึงไม่รู้สึกของการดิ้น ต่อมาภายหลังเมื่อขนาดทารก โตขึ้นมาอีก คุณแม่จึงรับรู้ถึงการดิ้นและสามารถนับจำนวนการดิ้นได้
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทายเพศลูก จากการดิ้นในท้อง แม่นแค่ไหน ต้องลอง
ตารางบันทึกลูกดิ้น พร้อมวิธีนับลูกดิ้น นับอย่างไร บันทึกอย่างไร แบบไหนผิดปกติ
7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการดิ้นของทารกในครรภ์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!