TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จะเกิดอะไรขึ้นหากลูกกินน้ำน้อย

บทความ 3 นาที
จะเกิดอะไรขึ้นหากลูกกินน้ำน้อย

เด็กในช่วงวัย 3 – 6 ขวบ ในบางครอบครัวอาจเจอปัญหาไม่ยอมกินข้าว ลูกกินยาก และอีกปัญหาหนึ่งที่สร้างความไม่สบายใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ นั่นก็คือ ปัญหาลูกกินน้ำน้อย เพราะกลัวว่าจะเกิดผลเสียต่าง ๆ นานากับลูกรักของคุณ มาดูว่าการกินน้ำน้อยในเด็กนั้นส่งผลอย่างไรบ้าง

ดื่มน้ำช่วยควบคุมน้ำหนักได้

การดื่มน้ำช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย ทั้งระบบไหลเวียนโลหิต  ระบบขับถ่าย  เรียกว่าทั่วทั้งร่างกายของเราทีเดียวที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบช่วยหล่อเลี้ยงร่างกาย  สำหรับในวัยเด็กแล้วการดื่มน้ำยังช่วยป้องกันลูกน้อยจากปัญหา น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานได้อีกด้วย  นักโภชนาการเด็ก Connie Evers ผู้แต่งหนังสือชื่อ How to Teach Nutrition to Kids กล่าวว่า หากเด็กได้รับเครื่องดื่มรสหวานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เด็กติดรสหวานและเลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานแทนการดื่มน้ำเปล่าทุกครั้งที่เจ้าหนูรู้สึกกระหายน้ำ  อาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพฟันต่อไป ดังนั้น คุณแม่จึงควรให้น้ำเปล่าเป็นทางเลือกอันดับแรกเมื่อลูกน้อยวัยเตาะแตะของคุณรู้สึกกระหายน้ำ

จะเกิดอะไรขึ้นหากลูกกินน้ำน้อย

น้ำมีความสำคัญกับร่างกายช่วยให้ความสดชื่น  ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ  ไม่ว่าจะเป็นการย่อย  การขับถ่าย  ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย   คุณแม่ลองสังเกตลูกดูนะคะว่าหากลูกท้องผูกบ่อยๆ  ปากแห้งจนบางครั้งแห้งเป็นขุยลูกจะชอบเลียริมฝีปากบ่อย ๆ  มีอาการร้อนในจนเกิดแผลในปาก   ลิ้นแห้งแตก  ผิวหนังแห้งไม่สดใส นั่นเป็นสัญญาณของการได้รับน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย   เด็กบางคนที่ไม่ชอบกินน้ำเอามาก ๆ จนเกิด ภาวะขาดน้ำเป็นภาวะพบได้บ่อย โดยมากมักเกิดจากการกท้องเสีย  ท้องเดินรุนแรง หรือที่เรียกว่าท้องร่วง เป็นภาวะพบได้ทุกเพศ และทุกวัย โดยเมื่อมีท้องเสีย โอกาสเกิดภาวะขาดน้ำ จะพบได้สูงในเด็กโดยเฉพาะที่อายุต่ำกว่า 5 ปี   หากเป็นในเด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก  เมื่อร้องไห้จะมีน้ำตาน้อย

ข้อควรระวัง  เรื่องน้ำสำหรับลูกน้อย

1.คุณแม่ไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำฝน

เพราะร่างกายของเด็กยังไม่แข็งแรงผู้ใหญ่ น้ำฝนอาจมีเชื้อโรคปะปนอยู่  จึงไม่ควรให้ลูกน้อยกินน้ำฝน  หากต้องการใช้น้ำฝนจริง ๆ ควรผ่านการต้มก่อนที่จะนำมาให้ลูกดื่มจะดีที่สุด

2.เด็กไม่ควรดื่มน้ำแร่

คุณแม่อาจเห็นโฆษณาน้ำแร่รวมถึงการโฆษณาถึงสรรพคุณต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับร่างกาย  แต่นั่นไม่ได้หมายถึงจะเหมาะกับลูกน้อยนะคะ  เพราะในน้ำแร่มีเกลือแร่และแร่ธาตุหลายอย่าง  สำหรับเด็ก ๆ แล้ว ไตของเจ้าหนูยังทำงานได้ไม่เต็มที่  การขับแร่ธาตุออกจากร่างกายก็ทำได้ไม่สมบูรณ์เท่าผู้ใหญ่  เด็กจะสามารถกินน้ำแร่ได้ควรมีอายุ 5-6 ปีไปแล้ว

เทคนิคเล็ก ๆน้อย ๆ ช่วยให้ลูกดื่มน้ำมากขึ้น

1.ใช้แก้วน้ำที่มีลวดลายน่าสนใจหรือเป็นการ์ตูนที่ลูกชื่นชอบ  หรือขวดน้ำขนาดเล็กสำหรับเด็ก เพื่อกระตุ้นความสนใจให้อยากดื่มน้ำ

2.เด็ก ๆ มักชอบดื่มน้ำเย็น  คุณแม่อาจจะใส่น้ำแข็งเล็กน้อยให้ลูกดื่มน้ำเย็น ๆ ชื่นใจ

3.อาจเพิ่มรสชาติของน้ำด้วยการหยดน้ำมะนาวหรือน้ำผลไม้ที่ลูกชอบลงไป

4.เด็ก ๆ ชอบเคี้ยวน้ำแข็ง  เวลาที่ลูกเคี้ยวน้ำแข็งคุณแม่ก็อธิบายไปด้วยว่าน้ำแข็งก็ทำมาจากน้ำเปล่านั่นเอง

5.วางขวดน้ำดื่มและแก้วน้ำ  หรือขวดน้ำประจำตัวของลูกในบริเวณที่ลูกเล่นหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเวลาที่ลูกกระหายน้ำจะได้สามารถหยิบมาดื่มได้ทันที

6.ในกรณีที่คุณแม่ซื้อน้ำดื่มชนิดขวดให้ลูก ควรดูให้แน่ใจว่าปราศจากวัตถุปรุงแต่ง  เพราะปัจจุบันน้ำดื่มหลาย ๆ ยี่ห้อสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้าเพื่อจูงใจผู้ซื้อด้วยการเพิ่มวัสดุปรุงแต่ง  อาทิ  สารให้ความหวาน  วิตามิน  เกลือแร่  หรือสมุนไพรต่าง ๆ ที่อาจไม่เหมาะสมกับวัยของลูกน้อย

6.ดัดแปลงการเล่น  ให้ลูกได้เล่นกับน้ำที่ดื่มได้จริง  เช่น  เล่นขายของ  เล่นเป็นร้านขายน้ำแล้วคุณแม่ก็ชวนให้ลูกดื่มน้ำจริง ๆ หรือไม่ก็สมมติให้น้ำเป็นอาหรอื่น ๆ เช่น  น้ำแข็งใส  แกงแสนอร่อย  รับรองว่าลูกจะสนุกสนานและได้กินน้ำมากอีกด้วย

7.ให้ลูกดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้อื่น ๆ  ก็ช่วยให้ลูกได้รับน้ำจากการกินอาหารอื่น ๆ ที่ลูกกินเป็นปกติอยู่แล้ว  ที่สำคัญหลังจากที่ลูกดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำหวานควรให้ลูกดื่มน้ำเปล่าตามทันทีเพื่อรักษาสุขภาพปากและฟัน

8.อย่ารีบยกธงขาวหรือท้อแท้ใจที่ลูกไม่ยอมกกินน้ำเปล่า  แล้วยอมให้ลูกดื่มน้ำหวานหรือน้ำผลไม้แทนเพราะดื่มง่ายกว่า  ซึ่งลูกอาจจะกลายเป็นเด็กติดหวานได้นะคะ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.tinyzone.tv/

https://www.l3nr.org/

อ่านบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก

ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่?

5 ประโยชน์ของน้ำเปล่า อยากหน้าใสให้ดื่มน้ำ

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • จะเกิดอะไรขึ้นหากลูกกินน้ำน้อย
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว