TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คลายข้อสงสัย ทำไม ทารกชอบนอนบนอกแม่

บทความ 5 นาที
คลายข้อสงสัย ทำไม ทารกชอบนอนบนอกแม่

สำหรับเด็กทารกส่วนใหญ่มักจะนอนหลับยาก และชอบร้องไห้โยเย ต้องได้นอนบนอกของคุณแม่ถึงจะหายร้อง พอย้ายไปนอนที่เตียงก็กลับมาร้องไห้อีกครั้ง ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าเขาต้องการความรักจากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าทำไม ทารกชอบนอนบนอกแม่ แล้วจะเป็นแบบนี้ไปอีกกี่เดือน

 

ทำไม ทารกชอบนอนบนอกแม่ ?

  • เพราะต้องการความอบอุ่น ต้องการไออุ่นจากคุณแม่
  • เนื่องจากเขารู้สึกปลอดภัยเหมือนตอนที่อยู่ในท้องของคุณแม่
  • เขาได้ยินเสียงหัวใจแม่เต้น จึงทำให้นอนหลับง่ายเหมือนตอนอยู่ในท้องแม่
  • เพราะได้กลิ่นพ่อแม่อย่างใกล้ชิด แล้วทำให้รู้สึกสบายใจ คุ้นเคย หลับง่ายมากขึ้น

 

ทารกชอบนอนบนอกแม่

 

ทารกนอนบนอกแม่ อันตรายไหม ?

อีกหนึ่งคำถามที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ ก็คือ ทารกชอบนอนบนอกพ่อแม่อันตรายไหม คำตอบก็คือ ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กเลยค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกทารกนอนหลับได้สบาย ๆ ได้เลย และควรให้ลูกนอนบนอกตอนที่เขาร้องไห้งอแงมาก ๆ เพื่อทำให้รู้สึกปลอดภัยหลับสบายง่ายขึ้น แต่หากลูกหลับบนที่นอนได้เอง ไม่ร้องไห้ก็ไม่ควรกล่อมลูกนอนหลับบนอกพ่อแม่ทุกครั้งก็ได้ค่ะ เพราะอาจจะทำให้เขาติดจนรู้สึกว่าการนอนบนที่นอนมันไม่ปลอดภัย นอนไม่หลับ หรือหลับยาก

 

วิธีกล่อมลูกน้อยให้หลับง่าย หลับยาว

  1. ให้ใช้ผ้าห่มผืนน้อย ๆ ช่วยให้ลูกหลับ เพราะทารกจะรู้สึกปลอดภัยมากที่สุดตอนที่เขาได้รับความอบอุ่นอยู่เสมอ เพราะการที่เขาออกมาสู่โลกกว้างอาจทำให้ยังไม่คุ้นชิน การเอาผ้าห่มมาปิดที่บริเวณหน้าอกของลูกน้อยจึงสามารถช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยได้มากขึ้นค่ะ
  2. เปิดเพลงกล่อมเด็กเบา ๆ หรือจะเป็นเพลงกล่อมเด็กนอนประเภท White Noise ก็ได้ค่ะ เพราะทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ หลับง่าย
  3. ปรับการจัดห้องนอน ที่นอนให้อยู่ในมุมที่แสงไม่รบกวนมากเกินไป เสียงไม่ดัง เพื่อไม่ให้มารบกวนลูกตื่น แถมยังทำให้เขาหลับได้นานมากขึ้นด้วยค่ะ
  4. หากลูกติดกลิ่นคุณพ่อคุณแม่ ลองหาเสื้อมาวางไว้ใกล้ ๆ ลูกได้นะคะ เพื่อให้เขายังได้กลิ่นที่คุ้นเคยอยู่ จะได้นอนหลับได้สบายมากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกหลับยาก แม่ทำไงดี มาดูวิธีกล่อมลูกให้หลับใน 5 ขั้นตอน

 

ทารกชอบนอนบนอกแม่

 

เคล็ดลับช่วยให้พ่อแม่มือใหม่หายเหนื่อยจากการที่ลูกชอบนอนบนอก

  1. สำหรับพ่อแม่มือใหม่ ถึงแม้ว่าพวกคุณอาจจะต้องอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่สามารถนอนหลับได้ทั้งที่ต้องการก็ตาม แต่ก็ใช้เวลาแค่เพียง 3 วันเท่านั้นแหละที่จะปรับนิสัยให้เข้ากับการเลี้ยงลูกของคุณได้
  2. เมื่ออุ้มลูกจนมั่นใจว่าหลับสนิทแล้ว ให้ลองเข้านอนพร้อม ๆ กันโดยนอนบนเตียงเดียวกันหรือนอนในเตียงนอนของลูกที่ควรวางอยู่ข้าง ๆ เตียง และวางมือลงบนหน้าอกหรือหน้าท้องของทารก เพราะจะทำให้ลูกจะรู้สึกอบอุ่นคล้ายกับตอนที่นอนอยู่บนอกแม่
  3. พาลูกเข้านอนเวลาเดิม ๆ ในทุก ๆ วัน เพื่อที่จะทำให้คุณคลายเหนื่อยและพักผ่อนได้เมื่อลูกหลับ
  4. ถ้าลูกร้องไห้ตอนที่คุณพยายามวางนอนลงบนที่นอน ก็ให้อุ้มขึ้นมาแนบอกใหม่จนกระทั่งลูกสงบลงและลองให้วางลูกนอนอีกครั้ง

 

พฤติกรรมการนอนของลูกน้อยตามวัย

การนอนของลูกน้อยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงใหญ่ ๆ ได้แก่

 

1. REM (Rapid eyes movement)

เป็นการนอนที่ลูกน้อยหลับไม่ยังสนิทดีเท่าไร และถือเป็นช่วงวัยที่ตื่นได้ง่ายมาก ๆ เมื่อได้ยินเสียงหรือสิ่งกระตุ้นจากภายนอก โดยการหลับในช่วงนี้ ส่วนใหญ่จะมีอาการดิ้น ถอนหายใจแรง หรือบางก็ตื่นขึ้นมาเพื่อร้องไห้สั้น ๆ ค่ะ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายหลับแต่สมองของลูกน้อยยังคงทำงานอยู่ เพื่อประมวลผลและอาจจะสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้เขาหายใจได้ไม่สม่ำเสมอ หรืออาจจะนอนผวาก็ได้

ซึ่งทางการแพทย์เองก็มีความเชื่อว่า การนอนหลับในช่วง REM มีผลต่อความจำและการพัฒนาการของเด็กทารกอย่างมาก และเมื่อเขาโตขึ้นช่วงการนอนในระดับ REM ก็จะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ ตามลำดับ

 

ทารกชอบนอนบนอกแม่

 

2. NREM (Non-rapid eyes movement)

เป็นช่วงที่เด็ก ๆ หลับลึกมากขึ้น โดยช่วงนี้ร่างกายจะได้รับการพักผ่อนมากที่สุด คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากนอนนิ่ง ๆ ของลูกน้อย ลมหายใจที่สม่ำเสมอกัน มีการหายใจลึกขึ้น และชอบทำปากขมุบขมิบ หรือบางรายอาจมีอาการกระตุกเป็นพัก ๆ โดยจะพัฒนาช่วงการนอนแบบ NREM สมบูรณ์ขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป อีกอย่างก็คือเด็ก ๆ ในช่วงนี้จะตื่นยากมากเลยค่ะ

 

ตามปกติเด็กนอนกี่ชั่วโมง ?

  • การนอนของลูกในช่วง 0 – 3 เดือน

สำหรับเด็ก ๆ ในช่วงวัยนี้ การนอนหลับและการตื่นนอนจะมีช่วงเวลาเท่า ๆ กันเลยค่ะ ทั้งกลางวันและกลางคืน ประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน เพราะพวกเขามีช่วงเวลาตื่นที่ไม่แน่นอน แถมยังมีการเปลี่ยนแปลงเวลานอนไปทุกสัปดาห์อีกด้วย และมักจะนอนช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน

 

  • การนอนของลูกในช่วง 3 – 6 เดือน

เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มหลับกลางวันน้อยลง และนอนหลับในช่วงกลางคืนมากขึ้น โดยจะหลับรวดเดียวไปจนถึงเช้าเลยค่ะ ไม่ตื่นมากินนมตอนกลางคืนเหมือนเดิมอีกแล้ว คุณแม่ไม่จำเป็นต้องปลุกให้ลูกตื่นขึ้นมาดูดนมหรือกลัวว่าเขาจะหิวนะคะ เนื่องจากลูกได้กินนมไว้เต็มที่แล้วค่ะ ทำให้ความต้องการนอนในช่วงนี้ลดลงเป็น 15-16  ชั่วโมงต่อวันแทน

 

การที่ลูกชอบนอนบนอกคุณแม่ถือเป็นการส่งผ่านความรักระหว่างคุณแม่กับทารกแรกเกิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นความสุขในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะลูกของเราจะเป็นเด็กทารกได้แค่ 365 วันเท่านั้น เวลามันผ่านไปเร็วพริบตา ขอให้คุณแม่ได้ทำอะไรก็ได้เพื่อให้ลูกได้นอนหลับและร้องไห้น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มจนลูกหลับ การให้นมจนลูกหลับ หรือการนอนด้วยกัน ถึงแม้ว่าอาจจะดูเหนื่อย แต่ก็เหนื่อยด้วยความสุขจริงไหมคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกหลับยาก แก้ไขด้วย 9 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมนอนแบบได้ผล

ลูกติดอุ้มนอน หลับยาก วางไม่ได้เลย คุณแม่ไม่ไหวแล้วค่ะ ทำไงดี

ลูกนอนหลับยาก กระสับกระส่าย แก้ไขได้ด้วยการกินปลา

ที่มา : kidsactivitiesblog, rakluke, babylove

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • คลายข้อสงสัย ทำไม ทารกชอบนอนบนอกแม่
แชร์ :
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว