X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การแพทย์เผย โรคตาขี้เกียจ โรคที่เป็นมากในเด็ก

บทความ 3 นาที
การแพทย์เผย โรคตาขี้เกียจ โรคที่เป็นมากในเด็ก

กรมการแพทย์เปิดเผย โรคตาขี้เกียจนั้นพบมากในเด็ก ดังนั้นพ่อแม่และผู้ปกครองอย่างเรา ๆ ควรรู้ไว้ ก่อนที่จะสายเกินไป

โรคตาขี้เกียจ
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ ได้เปิดเผยผ่านเนชั่นทีวีว่า โรคตาขี้เกียจหรือโรคตามัว เป็นโรคที่ทำให้ตาของเด็กมัวลงถ้าไม่ได้รับการตรวจรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เด็กตามัวแบบถาวรได้ และจะไม่สามารถแก้ไขได้เมื่อโตขึ้น
โดยปกติแล้วการพัฒนาของสายตาจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่อมีอายุได้ 10 ปี และสายตาจะคงที่จนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ซึ่งความผิดปกติของตาตั้งแต่เด็กจึงมีผลอย่างมากต่อการมองเห็นไปตลอดชีวิต การตรวจตาในเด็กเพื่อค้นหาความผิดปกติจึงมีความสำคัญมาก และเนื่องจากเด็กไม่สามารถบอกความผิดปกที่เกิดขึ้นกับตนเองได้เหมือนผู้ใหญ่ ผู้ปกครองจึงควรสังเกตความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูก ๆ เอง

ลักษณะอาการ ตาขี้เกียจ ที่สำคัญ

 – ถ้าหากลูกยังอยู่ในวัยเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตตาของลูก ถ้าหากลูกตาดำสั่นหรือเด็กไม่จ้องหน้า และจะร้องไห้เมื่อถูกปิดตา1ข้าง หรือมีความพยายามดึงมือที่ปิดตาออกเสมือนเขาไม่สามารถมองเห็นได้หรืออาจมองเห็นไม่ชัด
– สำหรับในเด็กโต ผู้ปกครองสามารถทดลองโดยการปิดตาทีละข้างสลับกันเด็กจะมองเห็นภาพไม่ชัดเจนเหมือนคนปกติ ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดขึ้น
 
Advertisement

สาเหตุของภาวะสายตาขี้เกียจ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ 1 เกิดจากความบกพร่องของอวัยวะรับภาพและแปลผลภาพเป็นกลุ่มที่รักษาได้น้อยมาก หรือไม่ได้เลยตัวอย่างของโรคในกลุ่มนี้เช่นโรคประสาทตาฝ่อเป็นต้น

กลุ่มที่ 2 เกิดจากการบดบังภาพที่เข้าสู่จอประสาทตาเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยเช่นโรคตาเข หรือตาเหล่โรคสายตาสั้น-ยาว – เอียง แบบไม่สมมาตร โรคที่ทำให้แสงผ่านเข้ามาในตาไม่ดีเช่นโรคต้อกระจกแต่แรกเกิด โรคเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หนังตาตกเป็นต้น

วิธีแก้ไข โรคตาขี้เกียจ

1. การแก้ไขที่สาเหตุ เช่นถ้าเด็กมีปัญหาสายตาสั้นยาวไม่เท่ากันมากๆ ก็แก้ไขได้ด้วยการใช้แว่นเพื่อให้ตาทั้งสองข้างมองเห็นชัดๆ เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
2. กระตุ้นให้เด็กใช้ตาข้างที่เป็นโรคตาขี้เกียจมากขึ้น ซึ่งมีหลายวิธีที่นิยม กันคือปิดตาข้างที่มองเห็น เพื่อที่จะให้เด็กใช้สายตาข้างที่ขี้เกียจมากขึ้น
3.บำบัดสายตา เป็นการฟื้นฟูตาขี้เกียจด้วยการใช้เครื่องมือฝึกกล้ามเนื้อตาและโปรแกรมการฝึกบริหารกล้ามเนื้อตาด้วยคอมพิวเตอร์

 

ข้อสังเกต โรคตาขี้เกียจ 

1. เด็กควรได้รับการสังเกตดวงตาตั้งแต่แรกคลอด โดยดูลักษณะขนาดของดวงตาทั่วๆไปว่าปกติหรือไม่ หรือในดวงตาของเด็กนั้นมีอะไรที่มาปิดตาดำหรือไม่

2. เมื่อเด็กมีอายุ 2-3 เดือน ผู้ปกครองควรต้องสังเกตว่า เด็กจ้องมองเวลาให้นมได้หรือไม่ เมื่อเด็กยังทำไม่ได้ควรต้องปรึกษาแพทย์

3. เมื่อเด็กอายุ 6 เดือน ควรจ้องมองตามวัตถุได้แล้ว และตาของเด็กปกติจะสามารถจ้องมองนิ่ง ๆ และจับวัตถุได้
4. เมื่ออายุ 3 ปี เด็กจะมีสายตาใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบได้โดยใช้แผ่นภาพเป็นรูปภาพหรือรูปสัตว์ที่เด็กคุ้นเคยขนาดต่างๆกัน และให้เด็กดูระบอกถึงขนาด ซึ่งจะสามารถวัดระดับการมองเห็นของเด็กได้ รวมถึงการตรวจดูว่าตาเหล่หรือไม่
ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองท่านใดตรวจสอบแล้วพบว่าลูกหรือหลานของเรามีอาการดังกล่าว หรือไม่แน่ใจว่าจะเป็นหรือไม่ ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์เลยจะดีกว่านะคะ

ที่มา: Nation TV

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง:

ระวังตาติดเชื้อและตากุ้งยิงในเด็ก!

เมื่อลูกเป็นตาแดง

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • การแพทย์เผย โรคตาขี้เกียจ โรคที่เป็นมากในเด็ก
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว