ทำไมลูกน้อยถึงใจร้ายกับฉันนัก?
การรับรู้ถึงความรุนแรง
เด็กน้อยที่รับรู้ถึงความรุนแรงและพฤติกรรมไม่เหมาะสมจากทีวี เพื่อนเล่น พี่ ๆ จากสถานเลี้ยงเด็ก หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ของเขาเอง จะทำให้เขาเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้นได้ เด็กที่เห็นพ่อตะโกนใส่แม่หรือตบตีแม่ เขาจะคิดว่าพฤติกรรมนั้นเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับได้ เด็กที่ต้องเผชิญกับพฤติกรรมความรุนแรงหรือการแสดงอาการก้าวร้าวอันธพาลจากสถานเลี้ยงเด็กก็จะแสดงพฤติกรรมคล้ายกันในที่สุด
หากสถานการณ์ที่กล่าวมาคล้ายกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับคุณ คุณจำเป็นต้องแก้ไขสถานการณ์ให้ถูกต้อง เพราะนี่คือชีวิตของลูกคุณ
คงไม่มากไปที่คุณควรทำให้ตัวเองมั่นใจว่าได้เลี้ยงลูกในทางที่ปลอดภัย ให้ความรัก ใจเย็นกับลูก และให้เขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและสงบ
ลองหาผู้ที่สามารถให้คำปรึกษาด้านครอบครัวให้กับคุณได้ หรืออาจหาสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับลูกคุณหากจำเป็น
หากมีการอันธพาลที่สถานเลี้ยงเด็กและเป็นเหตุให้ลูกคุณกลายเป็นเด็กก้าวร้าว มีอารมณ์รุนแรง และเป็นคนโกรธง่าย ปรึกษาสถานเลี้ยงเด็กว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้ขึ้นอีก หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นคุณอาจจำเป็นต้องย้ายลูกไปสถานเลี้ยงเด็กอื่น
ความรุนแรงในรูปแบบอื่นที่อาจสร้างปัญหา ซึ่งรวมไปถึงหนังหรือวิดีโอเกม คุณก็ควรสอดส่องดูแลสิ่งที่เข้ามาในบ้านของคุณและดูว่าใครใช้เวลาอยู่กับลูกคุณบ้าง เช่น ห้ามสมาชิกคนอื่นในครอบครัวดูหนังที่มีความรุนแรงเมื่อใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยของคุณ
สิ่งกระตุ้น
เด็กในวัยนี้จะมีความรู้สึกด้านอารมณ์มากเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ทั่วไป แต่พวกเขาไม่รู้วิธีที่จะจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้และไม่ทราบวิธีที่จะแสดงออกมาอย่างเหมาะสม คุณควรสังเกตว่าสถานการณ์หรือสิ่งที่กระตุ้นใดทำให้เกิดอาการก้าวร้าวในตัวลูกได้
ในบางสถานการณ์อาจเป็นเพราะลูกแพ้อาหารหรือแค่อ่อนไหวต่ออาหารชนิดนั้น เช่น น้ำตาล หรือกลิ่นรสสังเคราะห์ แต่ในบางกรณี อาจมีบางสิ่งกระตุ้นให้ลูกคุณแสดงอาการก้าวร้าวได้ ลูกน้อยอาจไม่รู้วิธีการที่จะถอยออกมาจากสถานการณ์นั้น ๆ เช่นเดียวกับเมื่อเขาต่อยกับพี่ชายของเขา เขาจะรู้แค่ว่าเมื่อเขาหยุดต่อสู้กับพี่ชาย นั่นหมายความว่าเขาได้ปิดความก้าวร้าวลง
เราจะจัดการกับความไม่พอใจและความโกรธของลูกน้อยได้อย่างไร?
ไม่ว่ามันจะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองหรือการเลียนแบบความรุนแรง หรือเกิดจากการกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวกับลูกน้อย ยังไงคุณก็ต้องเข้าจัดการกับเรื่องนี้
มีบางครั้งที่ผู้ใหญ่เองก็อยากจะตะโกนออกไปดัง ๆ หรือขว้างสิ่งของทิ้ง ใช่หรือไม่? แต่ต้องขอบคุณความเป็นผู้ใหญ่ในตัวเราที่หยุดเราไม่ให้ทำเช่นนั้น โดยที่เราแสดงออกความไม่พึงพอใจหรือความโกรธด้วยวิธีอื่น และนั่นเป็นวิธีที่คุณควรจะใช้สอนลูกให้ทำเช่นกัน
ลูกน้อยของคุณมีสิทธิ์ที่จะโกรธ ดังนั้น คุณไม่ควรปฏิเสธความโกรธของเขา แต่คุณสามารถปฏิเสธการแสดงออกถึงความโกรธของลูกที่เขารู้สึกว่าเขาจะแสดงออกอย่างไรก็ได้เมื่อเขาโกรธ และคุณควรจะสอนเขาให้แสดงออกในทางที่ 1) ทำให้เขาจะรู้สึกดีขึ้น 2) ไม่ทำร้ายความรู้สึกคนอื่นหรือไม่ทำให้คนอื่นเจ็บ 3) ไม่ทำลายข้าวของ และต่อไปนี้เป็นวิธีที่คุณจะสามารถสอนลูกให้จัดการกับความโกรธได้
- พยามไม่ให้ลูกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดความโกรธ นี่ไม่ได้ให้คุณมองว่าคุณจะปฏิเสธความโกรธของลูก แต่นี่เป็นวิธีที่จะปกป้องลูกจากสถานการณ์ที่เป็นอันตราย และ/หรือท้าทายให้เขาเกิดความโกรธได้
- ทำตัวเป็นตัวอย่างพฤติกรรมด้านบวก เมื่อมีบางสิ่งทำให้คุณโกรธหรือทำให้คุณไม่พอใจ คุณควรจัดการกับความโกรธหรือความไม่พอใจของคุณอย่างใจเย็น จัดการด้วยอารมณ์สงบและเป็นผู้ใหญ่
- ให้ทางเลือกกับลูกน้อยของคุณในการแสดงออกถึงความโกรธ ถามลูกน้อยว่า “ลูกโกรธเหรอ?” จากนั้น สอนให้ลูกรู้จักปลดปล่อยอารมณ์โกรธอย่างถูกต้อง เช่น 1) พาลูกออกไปเล่นเตะหรือขว้างลูกบอลข้างนอก 2) พาลูกขี่จักรยานหรือพาลูกเดินเล่น 3) ให้ลูกได้เล่นต่อยหมอน หาหมอนที่ลูกสามารถต่อยได้แรงเท่าที่ลูกจะปลดปล่อยอารมณ์ออกมาได้ 4) เปิดเพลงและเชียร์ให้ลูกร้องตามเพลงออกมาดัง ๆ เท่าที่ลูกจะทำได้โดยร้องไปด้วยกันกับคุณ 5) ให้ลูกได้แช่น้ำอุ่น ๆ ในอ่างอาบน้ำพร้อมกับให้ของเล่น และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คุณควรสอนให้ลูกเล่าหรือแบ่งปันความรู้สึกที่ลูกมีให้คุณได้รับรู้ คุณเป็นคนที่ลูกไว้ใจ และจะช่วยให้เขาผ่านพ้นอาการโกรธนี้ไปได้ด้วยดี
บทความใกล้เคียง: สอนลูกด้วยคำถามแบบเปิด เพื่อพัฒนาความคิด
ช่วงเวลาที่อารมณ์ร้อน
ถึงตอนนี้ เราได้พูดถึงวิธีป้องกันการแสดงความก้าวร้าวและพฤติกรรมความรุนแรงของลูกน้อยไปแล้ว แล้ววิธีจัดการกับอารมณ์โกรธในขณะนั้นล่ะ? คุณจะทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยตีคุณ กัดคุณ หยิกคุณ หรือต่อยเข้าที่หน้าของคุณ?
สิ่งที่คุณควรทำคือ สวมกอดลูกน้อยไว้แน่นด้วยอาการใจเย็นบอกลูกน้อยด้วยเสียงที่มั่นคงแต่สุภาพว่า “ลูกกำลังทำให้แม่เจ็บและมันผิดที่ลูกจะทำให้คนอื่นเจ็บ ลูกจะต้องหยุดตอนนี้” หากลูกน้อยยังไม่ยอมหยุด อุ้มลูกไปนอนบนเตียง นั่งบนเก้าอี้ หรือที่ใดก็ตามที่ให้ลูกไม่สามารถทำร้ายคุณได้ จากนั้นสักสองถึงสามนาที ให้คุณกลับไปที่ลูก เอาลูกนั่งตัก พูดคุยถึงสิ่งที่ลูกทำด้วยคำพูดที่เข้าใจง่าย เช่น:
- ลูกทำให้แม่เจ็บ
- ลูกทำให้แม่เสียใจ
- ทำไมลูกถึงทำให้แม่เจ็บ
- ลูกเสียใจมั้ยที่ทำให้แม่เจ็บ? ถ้าเสียใจ ก็ลองอธิบายมาว่าทำไมลูกถึงจำเป็นต้องขอโทษแม่
- จากนั้น แสดงการให้อภัยของคุณ การแสดงให้เขาเห็นความจริงที่ว่าคุณไม่อนุญาตให้ลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้
ไม่มีใครบอกว่าการเลี้ยงเด็กจะเป็นเรื่องง่าย แต่มันก็คุ้มค่า เพียงแค่คุณอดทนเข้าไว้ ทุกอย่างก็จะดีเอง
วิธีสอนให้ลูกรู้จักเห็นใจคนอื่น
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!