คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจมักเคยเจอกับเหตุการณ์ลูกดื้ออยู่หลายครั้ง และอาจพบว่า ลูกก้าวร้าว และพูดว่าไม่ตลอดเวลา จนอาจเกิดคำถามว่าทำไมเด็กเล็ก ๆ ถึงมีพฤติกรรมการใช้คำพูดเหล่านี้ วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาคุณพ่อคุณแม่มาดูสาเหตุที่ว่า ทำไมลูกถึงมีพฤติกรรมก้าวร้าว และพูดคำว่าไม่ตลอดเวลา ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกัน
ลูกก้าวร้าว และพูดว่าไม่ตลอดเวลา
ในช่วงเวลาที่ลูกน้อยของคุณใกล้จะครบหนึ่งขวบ พวกเขาจะมีการสำรวจโลกและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมาย พวกเขาสามารถเลือกที่จะกินอาหารที่คุณให้หรือไม่ก็ได้ พวกเขาสามารถเลือกที่จะมาหาคุณในตอนที่คุณยื่นมือออกไปหา หรือไม่ก็ได้ เพราะเด็กในวัยนี้พวกเขามีความสามารถในการเลือกแล้ว ด้วยความสามารถในการเลือกที่เด็กได้ค้นพบนี้ จึงทำให้ลูกของคุณอาจหัน และไปในทิศทางตรงกันข้ามกับที่คุณเรียกเขา ลูกก้าวร้าว อาจเมินเฉยต่อคุณ หรือแม้กระทั่งทำในสิ่งตรงกันข้ามกับที่คุณบอกเขาให้ทำ ดันคุณออกเมื่อคุณพยายามหอมหรือกอดเขา และอาจมีการปฏิเสธการไปกับบางคน เช่น ยายหรือตาที่เขาไม่ได้อยู่ด้วยบ่อยนัก พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เป็นพฤติกรรมต่อต้านหรือท้าทายแต่อย่างใด (อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในวัยนี้) แต่เป็นพฤติกรรมการเลือกบางสิ่งที่พวกเขาเพิ่งค้นพบว่าพวกเขาสามารถทำได้ ดังนั้นลูกจึงเริ่มพูดคำว่า “ไม่” เพื่อประกาศความเป็นอิสระของตัวเองนั่นเอง
พ่อแม่ควรตอบสนองอย่างไร ลูกก้าวร้าว และพูดว่าไม่ตลอดเวลา
การประกาศความเป็นอิสระของลูกน้อยโดยใช้คำพูดง่าย ๆ ว่า “ไม่” ไม่ควรทำให้คุณรู้สึกไม่ดีหรือเครียดกับพฤติกรรมนี้ ถึงแม้คุณจะเริ่มคิดว่าพฤติกรรมเช่นนี้อยู่นอกเหนือการควบคุม แต่คุณก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกของคุณทำอะไรได้ตามใจเขาไปซะทุกอย่าง การที่คุณไม่ควรเครียดไปกับพฤติกรรมนี้ของลูก นั่นหมายถึง คุณไม่ควรคิดมากกับความจริงที่ว่าลูกของคุณพูดคำว่า “ไม่” กับคุณ เพราะนี่เป็นธรรมชาติของเด็ก เรามาดูวิธีการตอบสนองเมื่อลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้กันค่ะ
- หากคุณบอกให้ลูกของคุณเลิกเล่นกับอาหารของเขาและลูกเมินต่อคำสั่งคุณ ให้คุณสันนิษฐานว่าเขากินอิ่มแล้ว และให้เอาอาหารออกห่างจากเขา นี่จะช่วยให้เขามีพฤติกรรมที่ดีขึ้น และรับประทานอาหารได้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
- หากลูกน้อยพูดคำว่า “ไม่” เมื่อคุณสั่งให้เขาวางบางอย่างลงหรือไม่เก็บบางสิ่งขึ้นมา ให้คุณเอาสิ่งนั้นออกจากมือของพวกเขา และวางในที่ของมัน ให้คุณกล่าวคำว่า “ไม่” กับเขาและทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อไป
- ฉันไม่ได้เกิดเมื่อวานนี้ และฉันรู้ว่าเด็กในวัยหัดเดินจะอยากกลับไปเอาสิ่งนั้นอีกเรื่อย ๆ มาถึงตรงนี้มันจะกลายเป็นสงครามการแย่งของระหว่างคุณกับลูกและมันควรเป็นสงครามที่คุณชนะ หากเกิดเหตุการณ์สงครามแย่งของนี้ขึ้น คุณควรนำลูกออกจากสถานการณ์นั้น ๆ โดยเบี่ยงเบนความสนใจเขา ให้สิ่งอื่นกับเขาหรือให้ลูกนั่งตัก และกอดเขาในอ้อมแขนคุณเพื่อแสดงความรัก
- ให้โอกาสเขาเล็กน้อยในการกล่าวคำว่า “ไม่” และสำหรับตัวคุณเอง แทนที่จะพูดคำว่า “ทำนั่นสิ ทำนี่สิ” ให้เปลี่ยนมาเป็น “ลูกทำ…ให้แม่ได้มั้ย” หรือ “แม่ต้องการให้ลูก….” หรือ “ลูกลองแสดงให้แม่ดูหน่อยได้มั้ยว่าลูกโตมากแค่ไหนแล้วโดยการ…”
- อย่าคิดมากในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การที่เขาต่อต้านการหอมหรือกอด โดยเฉพาะกับผู้ที่เด็กไม่ค่อยได้คุ้นเคยด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกดื้อ พฤติกรรมนี้เกิดจากอะไร? คุณแม่ควรรับมือเจ้าตัวแสบด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลดี
เมื่อไหร่คุณควรให้ความสำคัญ
บ่อยครั้งที่เด็กในวัยหัดเดินนี้ต้องการที่จะ “ทำด้วยตัวเอง” โดยที่พวกเขาไม่รู้ว่าอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ สถานที่ต่าง ๆ เช่น ลานจอดรถ สวนสนุก ห้างสรรพสินค้า และสถานที่สาธารณะต่าง ๆ สามารถเกิดอันตรายกับลูกน้อยได้ ดังนั้น เวลาที่ลูกน้อยของคุณพูดว่า “ไม่” เขาจะพยายามออกจากมือของคุณในขณะที่คุณอุ้มพวกเขาอยู่ ฉะนั้น คุณควรอุ้มเขาให้แน่นเพื่อความปลอดภัย
ลูกน้อยมีอาการเกรี้ยวกราด และท้าทาย เกิดจากอะไร
หากลูกน้อยของคุณยังคงมีการท้าทายคุณจนกระทั่งเขาโตขึ้นและโตพอที่จะรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำได้และอะไรที่เขาไม่ควรทำ คุณต้องเข้าใจก่อนว่าพฤติกรรมนี้เกิดมาจากอะไร และคุณต้องทำอะไรสักอย่างกับพฤติกรรมเช่นนี้ของลูก
- พวกเขารู้สึกไม่สบายหรือไม่? เด็กที่ป่วยหรือรู้สึกไม่สบายมักจะแสดงพฤติกรรมเชิงปฏิเสธมากกว่าที่จะแสดงออกให้เห็นว่าพวกเขาไม่สบายอยู่
- เขากำลังกลัวอะไรอยู่หรือไม่? เช่น อาการนี้เกิดขึ้นในเวลาที่เขาต้องไปสถานเลี้ยงเด็ก เวลาที่ต้องอาบน้ำ เวลาที่ต้องเข้านอน เป็นต้น อาการต่อต้านอาจหมายถึงความกลัวบางอย่างที่เขามีอยู่ พยายามหาสาเหตุเมื่ออาการนี้เกิดขึ้นซ้ำในขณะที่เขาต้องทำกิจกรรมเหล่านี้และช่วยเขาดึงเอาความกลัวออกไปจากเขา
- แล้วอาหารที่เขารับประทานล่ะ? หากคุณให้ลูกกินอาหารที่มีส่วนประกอบของอาหารขยะ ขนมขบเคี้ยวที่มีปริมาณน้ำตาลสูงหรือมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของลูกสูง และสิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจะทำให้ลูกมีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย นั่นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ลูกของคุณมีอารมณ์ฉุนเฉียวและไม่ให้ความร่วมมือ
- ลูกของคุณเบื่อหรือเหนื่อยล้าหรือไม่? สิ่งนี้ที่มีผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออกมาเช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกดื้อ สอนไม่จำ ผิดที่ลูกหรือเป็นเพราะเราเองที่สอนลูกผิดวิธี
พ่อแม่ควรใช้คำว่า ไม่ กับลูกไหม
คุณพ่อคุณแม่ไม่ใช้คำว่า “ไม่” มากเกินไป เพราะเด็ก ๆ จะเรียนรู้โดยการทำซ้ำ และล้อเลียนพฤติกรรมของเรา พูดง่าย ๆ ว่า หากเขาได้ยินแต่คำว่า “ไม่” จากคุณ พวกเขาจะคิดว่านี่เป็นคำพูดที่ถูกต้องที่พวกเขาควรพูด เนื่องจากคุณแสดงให้พวกเขาเห็นว่ามันเป็นเช่นนั้น ดังนั้น คุณควรหาคำอื่นแทนการพูดคำว่า “ไม่” สำหรับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยแทนที่จะพูดคำว่า “ไม่ ลูกจะไม่กินลูกอมมากกว่านี้” หรือ “ไม่ ลูกไม่สามารถลุกจากเตียงได้” หรือ “ไม่ ลูกจะไม่สาดน้ำออกจากอ่างอาบน้ำ” คุณควรเปลี่ยนสถานการณ์ให้ฟังดูนิ่มนวลลง เช่น “เราจะเก็บลูกอมไว้กินอีกวันหลังนะลูก” ซึ่งนี่จะฟังดูอ่อนโยนกว่า และอีกอย่าง ลูกน้อยของคุณก็จะได้มีบางสิ่งที่เขารอคอยด้วย
ตอนนี้ คำว่า “ไม่” อาจเป็นคำพูดที่คุณไม่อยากได้ยินบ่อยนัก แต่มันก็เป็นคำพูดที่ช่วยไม่ให้คุณปล่อยให้ลูกเป็นอิสระมากเกินไปจนเสียคน มันจะดีกับลูกของคุณเมื่อพวกเขาโตขึ้นและต้องเจอกับสถานการณ์ที่กดดันต่าง ๆ เนื่องจากพวกเขาจะสามารถรับกับมันได้ดีขึ้น
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกดื้อมาก ชอบปีนป่ายและไม่เชื่อฟัง ลูกเราผิดปกติไหม?
ลูกซน ลูกดื้อ ลูกอยู่ไม่นิ่งชอบการปีนป่าย ต้องทำอย่างไรดี?
ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหาความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!