ลูกจะติดแม่ตอนกี่เดือน ลูกมักจะใช้เวลาอยู่กับแม่ตลอดเวลาเพราะอะไร?
คุณแม่หลายคนคงจะเคยเจอเหตุการณ์ที่ลูกตามติดแจ กันบ้าง บางคนอาจจผ่านพ้นไปแล้ว บางคนอาจจะมาไม่ถึง ลูกจะติดแม่ตอนกี่เดือน อาการเหล่านี้จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่ พ่อแม่ ผู้ปกครองควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อรับมือพฤติกรรมของลูกที่เกิดขึ้น เราสามารถเลี่ยง ในบางโอกาศได้มั๊ย หรือ อาการเหล่านี้จะหายไปเองรึเปล่า หรือ จะเป็นไปตลอด และ มันจะส่งผลอย่างไรกับชีวิตในอนาคตของลูกหรือไม่
เรื่องเล่าจากคุณแม่ชาวญี่ปุ่น
ลูกจะติด แม่ตอนกี่เดือน
คุณพ่อ ชาวญี่ปุ่น ผู้ใช้ชื่อในทวิตเตอร์ ว่า @sato_nezi ออกมาบอกเล่าเรื่องราวและลงรูปผ่านทวิตเตอร์(Twitter) ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นที่สนใจ มากมายในโลกอินเตอร์เน็ต
คุณผู้อ่านเอง ก็อาจจะได้เห็นข่าวเรื่องเกี่ยวกับ คุณแม่ชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งผ่านตามาบ้าง คุณแม่ชาวญี่ปุ่น ผู้เป็นเจ้าของไอเดีย เล่าว่า แค่เดินหายไปไม่กี่วิ เธอก็จะได้ยินเสียงร้องดังตามหลังมาทันที แล้วเสียงนั้นจะหยุดก็ต่อเมื่อ เธอเดินกลับมาเข้ามาในห้อง คุณแม่ท่านนี้จึงตัดสินใจคิดแผนออกมาว่า เธอจะต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว เพื่อให้ตัวเองได้มีเวลาส่วนตัวบ้างเล็กน้อย
สิ่งที่เธอทำก็คือ เธอทำคัดเอาท์ หรือ Standee เป็นกระดาษ ที่ถูกตัดเป็นรูปตัวเอง วางไว้ในห้อง ตอนที่ตัวเองจำเป็นจะต้องเข้าห้องน้ำ หรือ ทำธุระส่วนตัว เพื่อหลอกลูกว่า แม่ยังอยู่ตรงนี้นะลูก ไม่ได้ไปไหน นี่เป็นทางออกหนึ่ง ที่คุณแม่ อยากลองนำไปใช้รึเปล่า
ลูกจะติดกับแม่ตั้งแต่แรกเกิด
ลูกจะติดแ ม่ตอนกี่เดือน
ในช่วงแรก สำหรับเด็กหลายคน พวกเขาจะเริ่มติดแม่ตั้งแต่ แรกเกิด อาการก็จะมีด้วยกันหลากหลายอย่าง ตั้งแต่ร้องไห้ เกาะติดกับคุณแม่ ในช่วง 2-3 เดือนแรก พวกเขาจะยิ้มให้แม่ พ่อ หรือ คนที่คุ้นเคย แต่ด้วยความที่เขาเด็กมาก พวกเขาจะยังไม่เข้าใจ โลกรอบตัวมาก เพราะฉะนั้น การเกาะติด หรือ ติดตามตัวคุณแม่ นั้นอฝาจจะยังไม่เกิดขึ้น มันดูเหมือนจะเป็นเรื่องบังคับมากกว่า
เพราะในช่วงเดือนแรก เด็กทารกจะต้องการ ดูแลเอาใจใส่ มากกว่าในช่วงวัยอื่นๆ เพราะพวกเขา แทบจะไม่สามารถดูแลตัวเองได้เลย คุณแม่ จะต้องทำทั้งป้อนข้าว อาบน้ำให้ เปลี่ยนผ้าอ้อม และช่วยดูแลให้ลูกไม่เจ็บป่วย
3-7 เดือน
ลูกจะติดแม่ตอ นกี่เดือน
ต่อมา ในช่วงที่ลูกอายุเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3-7 เดือน เขาจะเริ่มแยกแยะออกแล้วว่า ใครคือ คนที่คุ้นหน้า ใครคือคนแปลกหน้าที่ ไม่เคยพบมาก่อน เขาจะเริ่มรู้แล้วว่าใครที่เขาอยากจะเข้าใกล้ ลูกจะเริ่มเลือกที่จะแสดงออกแตกต่างกันออกไป ในระหว่างช่วง Phrase นี้ เด็กจะเริ่มใครคนหนึ่งขึ้นมาหนึ่งคน ซึ่งคนคนนี้จะต้องมีความเป็นเหมือนตัวแทนของแม่(Mother Figure)
เด็กจะเซนซิทีฟ และมีอารมณ์ อ่อนไหวกับเรื่องนี้มากๆ เขาจะติดกับคนที่เขาคิดว่าเป็น แม่ของเขา คุณแม่ หรือ คุณพ่อ ควรใช้เวลาช่วงนี้ให้ดี เพราะจะทำให้ความสนิทสนม พัฒนาไปได้เป็นอย่างมาก
7-12 เดือน
ลูกจะติดแ ม่ตอนกี่เดือน
ในช่วงอายุ ที่เกือบจะใกล้ ถึง 1 ปี ลูกจะเริ่มแยกออกชัดเจนแล้วว่า เขาจะแสดงออกแบบไหนกับใคร ยิ่งเป็นแม่ แล้วล่ะก็ ช่วงนี้ลูกจะติดคุณแจเลยแหละ งอแง ตอนมองไม่เห็น มีการทักทาย เวลาคุณกลับบ้าน แสดงความดีใจ เขาจะแบ่งแยกคนออกเป็นหลายระดับ เช่นคนที่สนิทสนม และ คนที่รองลงมา เป็นลำดับขั้น
ลูกจะแบ่งระดังความสนิทอย่างไร
ลูกจ ะติดแม่ตอนกี่เดือน
เนื่องจากเด็กมีการคิดที่ไม่ได้ต้องการความซับซ้อนมาก พวกเขาจะสนิทกับคนที่ทำอะไรหลายๆอย่างให้กับเขา เช่น กอดเวลาร้องไห้ ร้องปุั๊ปเข้ากอดทันที ถ้าใครที่อยู่กับเขาบ่อยๆ และมีปฏิสัมพันธ์บ่อยๆ เด็กก็จะเอาการกระทำเหล่านี้แหละ มาประมวล เพื่อบ่งบอกว่า คนกลุ่มนี้ ไว้ใจได้
การกระทำ เล็กๆน้อยๆ เหล่านี้จะต่อยอดขึ้นไป เมื่อโตขึ้น ลูกก็จะรู้สึกผูกพันธ์กับผู้ที่เป็น พ่อ แม่ มากขึ้นไปด้วย
งานวิจัยมีเหตุผลมารองรับเรื่องนี้
Schaffer และ Emerson นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็ก ได้ทำการทดลองจากลุ่มตัวอย่าง 58 ครอบครัว ในประเทศ Scotland โดยให้ให้พ่อใกล้ลิดกับลูกมากกว่า ซึ่งผลก็ออกมาตามคาด คนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของแม่ ผู้ดูแล หรือ Mother Figure นั้นอาจจะ ไม่แค่ จำกัดเฉพาะ คนที่เป็นแม่เสมอไป
พวกเขายังพูดถึงคนที่เด็กทารก จัดให้เป็น คนที่สำคัญระดับรอง Secondary Attachment Figure นั้น จะใช้เวลานานกว่าที่ทารกจะสามารถจำแนกได้ และ ตัวเด็กทารกจะวิ่งหา คนที่เป็นระดับแค่เพียง ตอนที่ผู้ที่สำคัญกับตัวเขามากที่สุดไม่ตอบสนอง
Source : theattachedfamily
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
9 เคล็ดลับท้องเร็ว วิธีทำให้ท้องง่าย ปล่อยยังไงให้ท้อง ลูกติดง่าย
วิธีให้ลูกเลิกดูดขวด วิธีเลิกขวดมื้อดึก ลูกติดขวดนมมาก พ่อแม่ควรทำอย่างไร
ลูกติดแม่ตามแม่ไปทุกที่ แม่ไปห้องน้ำก็ตามไปเฝ้า อาการแบบนี้เกิดจากอะไร?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!