X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคที่จะตามมาเมื่อ แม่ท้องเสี่ยงความดันโลหิตสูง

บทความ 5 นาที
โรคที่จะตามมาเมื่อ แม่ท้องเสี่ยงความดันโลหิตสูง

แม้ว่าคุณแม่ท้องที่มีความดันโลหิตในระดับ Prehypertension อาจยังไม่เสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่จากการศึกษาพบว่า ความดันโลหิตในระดับนี้ มีโอกาสสูงที่จะพัฒนาไปสู่โรคทางคาร์ดิโอเมตาบอลิก

โรคที่จะตามมาเมื่อ แม่ท้องเสี่ยงความดันโลหิตสูง

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาเผย คุณแม่ท้องที่มีระดับความดันโลหิตในกลุ่มที่เสี่ยงจะเป็นความดันโลหิตสูง คือระดับความดัน systolic อยู่ระหว่างค่า 120-139 หรือความดัน diastolic อยู่ระหว่าง 80-89  มีโอกาสสูงที่จะพัฒนาไปสู่โรคทางคาร์ดิโอเมตาบอลิก ซึ่งได้แก่ โรคเบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และภาวะอ้วน โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าผู้หญิทั่วโลกเป็นโรคทางคาร์ดิโอเมตาบอลิก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ความรู้เบื้องต้นในการอ่านค่าความดันโลหิต

การวัดความดันโลหิตทั้งของคุณแม่ท้องและบุคคลทั่วไปจะใช้เกณฑ์เดียวกันไม่มีการแบ่งแยกแต่อย่างใด โดยค่าความดันจะมี 2 ค่า

ค่าความดัน systolic (ตัวเลขบน)

เมื่อหัวใจเต้น จะมีการบีบตัวและดันเลือดออกมาจากหัวใจไปตามเส้นเลือดแดงทั่วร่างกาย แรงดันนี้ทำให้เกิดความดันในเส้นเลือดแดง ค่าความดันที่วัดได้นี้คือความความดัน systolic

  • ค่าปกติของความดัน systolic นี้ควรจะต่ำกว่า 120
  • ถ้าระดับที่วัดได้คือ 120-139 แปลว่าคุณเริ่มมีความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูง Prehypertension หรือเรียกอีกอย่างว่า borderline hypertension ซึ่งแปลว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากขึ้น
  • ความดัน systolic ที่สูงกว่า 140 ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง (hypertension)

ค่าความดัน diastolic (ตัวเลขล่าง)

แสดงถึงความดันในเส้นเลือดแดงในขณะที่หัวใจพักการบีบตัวแต่ละครั้ง

  • ค่าปกติควรจะต่ำกว่า 80
  • ค่าระหว่าง 80-89 แสดงว่าเริ่มมีความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูง (Prehypertension)
  • ค่าที่สูงกว่า 90 ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง (hypertension)

วิธีการวิจัย

นักวิจัยได้ทำการศึกษากับคุณแม่ชาวจีน 507 คนที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ไม่มีประวัติความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับปกติ

ก่อนเข้าร่วมการวิจัย - คุณแม่เหล่านี้ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอล

ระหว่างตั้งครรภ์ - ได้รับการตรวจวัดค่าความดันโลหิตไม่ต่ำกว่า 7 ครั้ง รวมถึงการตรวจทั่วไป การชั่งน้ำหนัก และการอัลตร้าซาวนด์ทารกในครรภ์

ก่อนคลอด - ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอล

หลังคลอด - ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอลทุกสองสามเดือน ไปจนกว่าลูกจะมีอายุ 1.6 ปี

นักวิจัยได้แบ่งกลุ่มคุณแม่ออกเป็น 3  กลุ่มตามระดับความดันโลหิต

  • กลุ่มแรก –ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ขั้นต่ำของระดับปกติตลอดการตั้งครรภ์
  • กลุ่มสอง – ความดันโลหิตอยู่ในตอนกลางของระดับปกติตลอดการตั้งครรภ์
  • กลุ่มสาม – ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ขั้นสูงของระดับปกติตลอดการตั้งครรภ์ หรือ สูงกว่าระดับปกติ

โรคทางเมตาบอลิซึม

เมื่อคุณแม่ในกลุ่มที่สาม ทำการทดสอบสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ พบว่าความผิดปกติของความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอลเข้าไปรบกวนการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดกลุ่มอาการทางเมตาบอลิก (metabolic syndrome) ในอีก 20-30 ปีหลังคลอดได้

จากการศึกษานี้ยังพบว่า คุณแม่ท้องที่มีความดันโลหิตในกลุ่มที่สาม จะมีโอกาสพัฒนาไปสู่กลุ่มอาการทางเมตาบอลิก หลังคลอดมากกว่าคุณแม่ท้องที่มีระดับความดันโลหิตปกติถึง 6.5 เท่า

กลุ่มอาการทางเมตาบอลิกจะเกิดเมื่อคุณมีอาการเหล่านี้ 3 ข้อขึ้นไป

  • อ้วนลงพุง (รอบเอว 35 นิ้วขึ้นไปหรือสูงกว่า)
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของเลือด (mg / dL) หรือสูงกว่า
  • คอเลสเตอรอล HDL (ไขมันดี) น้อยกว่า 50 mg / dL
  • ความดันโลหิต Systolic 130 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่าหรือความดันโลหิต diastolic 85 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า
  • น้ำตาลในเลือด 100 mg / dL หรือสูงกว่า

เมื่อคุณแม่ไปตรวจครรภ์จะได้รับการวัดความดันโลหิตและตรวจปัสสาวะเป็นประจำอยู่แล้ว ทั้งนี้หากคุณแม่ตรวจพบปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ และมีการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตก็จะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และภาวะอ้วนในอนาคตได้ค่ะ

วิธีป้องกันความดันโลหิตสูง

เมื่อคุณแม่วัดความดันโลหิตได้ในระดับ Prehypertension หมายความว่า ความดันโลหิตของคุณอาจจะมีปัญหา ควรปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ ดังนี้ค่ะ

  • ลดอาหารรสเค็ม เลือกอาหารที่มีเกลือน้อย หากปรุงอาหารเองหลีกเลี่ยงการเติมเกลือ น้ำปลาหรือผงชูรส
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยผัก ผลไม้ อาหารไขมันต่ำ ธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว หลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเดินหรือวิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ เล่นโยคะ ปั่นจักรยาน ประมาณ 3 – 4 วันใน 1 สัปดาห์ โดยใช้เวลาออกกำลังอย่างน้อย 20 -30 นาทีต่อครั้ง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ โคล่า และเครื่องดื่มชูกำลัง)
  • งดบุหรี่ บุหรี่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ และยังเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจและสมองอีกด้วย

การรักษาสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ไม่เพียงแต่เพื่อลูกในท้องเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อสุขภาพของคุณแม่ในระยะยาวด้วยค่ะ

ที่มา https://stylemagazine.com/

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

5 โรคแทรกซ้อนอันตรายสำหรับคนท้อง

ความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

TAP mobile app

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • โรคที่จะตามมาเมื่อ แม่ท้องเสี่ยงความดันโลหิตสูง
แชร์ :
  • ภาวะ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายกว่าที่คิด

    ภาวะ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายกว่าที่คิด

  • ตั้งครรภ์ แต่เป็นความดันโลหิตสูง ลูกอาจตัวเล็กกว่าปกติ!!

    ตั้งครรภ์ แต่เป็นความดันโลหิตสูง ลูกอาจตัวเล็กกว่าปกติ!!

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ภาวะ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายกว่าที่คิด

    ภาวะ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายกว่าที่คิด

  • ตั้งครรภ์ แต่เป็นความดันโลหิตสูง ลูกอาจตัวเล็กกว่าปกติ!!

    ตั้งครรภ์ แต่เป็นความดันโลหิตสูง ลูกอาจตัวเล็กกว่าปกติ!!

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ