X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุมกำเนิด แบบไหนดี และวิธีการคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง ?

บทความ 5 นาที
คุมกำเนิด แบบไหนดี และวิธีการคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง ?

ปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์โดยขาดความพร้อมยังเกิดขึ้นและอยู่คู่กับสังคมไทยมาตลอด ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการไม่คุมกำเนิดหรือเลือกวิธีคุมกำเนิดที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการเลือก คุมกำเนิด แบบไหนดี ให้เหมาะสมกับตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญให้กับผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตรได้ แล้วการ คุมกำเนิด แบบไหนดี จึงจะเหมาะสมต่อตนเองมากที่สุด ไขคำตอบไปพร้อมกันกับบทความนี้ได้เลย

 

คุมกำเนิด แบบไหนดี

วิธีการคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง

วิธีการคุมกำเนิดสำหรับในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี โดยแบ่งวิธีออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ได้แก่ ยาคุมชนิดฮอร์โมน คุมกำเนิดโดยใช้วิธีขวางกั้น ใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิด และการคุมกำเนิดแบบถาวร ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีเงื่อนไข ขั้นตอน และค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

 

1. ยาคุมชนิดฮอร์โมน (Hormonal Methods)

เริ่มต้นกันที่วิธีแรกกับ ยาคุมชนิดฮอร์โมน ซึ่งเป็นวิธีคุมกำเนิดที่หลายคนรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี สามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายรูปแบบดังนี้

 

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive Pill : COCP)

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งคอยทำหน้าที่ช่วยยับยั้งการตกไข่และเพิ่มความหนืดช่วงบริเวณปากมดลูก ส่งผลให้อสุจิไม่สามารถเข้าไปทำการปฏิสนธิภายในได้ ทั้งนี้วิธีการรับประทานมีความจำเป็นต้องรับประทานให้หมดแผงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยอัตราการคุมกำเนิดมีผลได้ถึง 91% 

สำหรับผลข้างเคียงเมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม อาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง คลื่นไส้ ปวดหัว หรือคัดเต้านม และในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือเคยป่วยเป็นโรคภาวะลิ่มเลือดอุดตัน มะเร็งเต้านม ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาชนิดนี้ 

 

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestin-Only Pills : POP)

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ประกอบไปด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) แค่เพียงชนิดเดียว เหมาะสำหรับผู้ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้มีการป้องกัน ถุงยางฉีกขาดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ คนที่รับฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่ได้ หรือใช้กับคนที่มีความต้องคุมกำเนิดฉุกเฉิน โดยผู้ใช้จะต้องรับประทานยาภายในเวลา 5 วัน หลังจากที่ได้มีเพศสัมพันธ์ และต้องรับประทานต่อเนื่องจนกว่ายาจะหมดแผง รวมทั้งยังต้องใช้ควบคู่ไปกับการสวมถุงยางอนามัยหรือวิธีอื่น ๆ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และให้เกิดอัตราประสิทธิภาพการคุมกำเนิดสูงสุดถึง 91% โดยผลข้างเคียงจากการปรับประทานยาคุมกำเนิดฮอร์โมนชนิดเดี่ยวอาจมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ คัดตึงเต้านม จุดด่างดำ และรู้สึกไม่สบายตัว

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด (Contraceptive Injection)

การฉีดยาคุมกำเนิดในประเทศไทยนิยมใช้ฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงชนิดเดียว ซึ่งจะช่วยป้องกันการตกไข่และเพิ่มความหนืดที่บริเวณปากมดลูก รวมถึงยังเป็นการช่วยให้มีอาการปวดประจำเดือนน้อยลง โดยยาคุมกำเนิดแบบฉีดจะมีวิธีการฉีดเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือบั้นท้ายทุก 12-14 สัปดาห์ และยังสามารถฉีดได้ปกติแม้ว่าจะอยู่ในช่วงให้นมบุตรก็ตาม ทั้งนี้ควรใช้ร่วมกับการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และมีอัตราการคุมกำเนิดประสิทธิภาพสูงถึง 94% เลยทีเดียว

การคุมกำเนิดด้วยวิธีดังกล่าวเหมาะกับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงฮอร์โมนเอสโตรเจน ผู้ป่วยภาวะโลหิตจาง โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือโรคเนื้องอกมดลูก และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีลูกภายในช่วง 1 ปี หลังการหยุดฉีด โดยมีผลข้างเคียงที่อาจจะได้รับหลังการฉีดยาคุมคือ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดหัว ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น

บทความที่น่าสนใจ : ฉีดยาคุมอ้วนไหม คำถามคาใจ ที่สาว ๆ ต้องการคำตอบ

 

ยาคุมกำเนิดแบบแปะ (Transdermal Contraceptive)

ภายในยาคุมกำเนิดแบบแปะประกอบไปด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน และฮอร์โมนเอสโตรเจนที่จะซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดและผิวหนัง ซึ่งจะช่วยป้องกันการตกไข่ และการปฏิสนธิได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถกลืนยาได้ และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 90 กิโลกรัม ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแผ่นแปะลดลง

ยาคุมกำเนิดแบบแปะสามารถติดไว้ที่บริเวณสะโพก ต้นแขน หลัง และท้องส่วนล่าง ควรหลีกเลี่ยงการแปะบริเวณเต้านม นอกจากนี้ยังอาจเกิดผลข้างเคียงเหมือนยาคุมกำเนิดชนิดอื่น ๆ ได้เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน อารมณ์แปรปรวน และรอยแดงบริเวณที่แปะ 

 

ยาคุมกำเนิดแบบฝัง (Contraceptive Implant)

สำหรับยาคุมกำเนิดแบบฝังจะทำการฝังอุปกรณ์ขนาดเล็กไว้ที่บริเวณต้นแขน โดยจะทำการปล่อยฮอร์โมนโปรเจสตินเข้าสู่ร่างกายเพื่อยับยั้งการตกไข่ และเพิ่มความหนืดบริเวณปากมดลูก ส่งผลให้อสุจิไม่สามารถเข้าไปปฏิสนธิภายในได้สำเร็จ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ โดยการฝังยาคุมกำเนิดจะต้องฝังวันแรกของการมีประจำเดือนหรือภายใน 5 วัน นับจากที่เริ่มมีประจำเดือน หลังจากการฝังตัวยาจะออกฤทธิ์ทันทีและคุมกำเนิดได้นานถึง 3-5 ปี ให้ประสิทธิภาพอัตราการคุมกำเนิดสูงถึง 99% แต่วิธีดังกล่าวไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้และอาจเกิดผลข้างเคียงเช่นเดียวกับยาคุมกำเนิดชนิดอื่น ๆ ได้เหมือนกัน

 

คุมกำเนิด แบบไหนดี

2. คุมกำเนิดด้วยวิธีขวางกั้น (Barrier Methods)

สำหรับวิธีการคุมกำเนิดด้วยวิธีขวางกั้นเป็นวิธีที่ต้องใช้อุปกรณ์และจะไม่มีการรับประทานยา เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำอสุจิเคลื่อนตัวเข้าไปทำการปฏิสนธิกับรังไข่ได้ รวมทั้งยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เช่นเดียวกัน

ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย

อุปกรณ์ที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยถุงยางอนามัยจะทำหน้าที่ช่วยป้องกันน้ำอสุจิเคลื่อนตัวเข้าไปปฏิสนธิกับรังไข่ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงถึง 82% และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เกือบ 100% ข้อสำคัญในการใช้ถุงยางอนามัยคือควรเลือกขนาดให้พอดีกับอวัยวะเพศ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ทิ้งทันทีและไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง

ถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง

หลายคนในที่นี้อาจไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันน้ำอสุจิไหลผ่านเข้ามาในรังไข่ในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ โดยวิธีการสวมใส่ถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิงสามารถสอดเข้าทางช่องคลอดได้ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 8 ชั่วโมง ให้อัตราประสิทธิภาพในการป้องกันการคุมกำเนิดได้มากถึง 79%

ยาฆ่าเชื้ออสุจิ (Spermicides)

สำหรับยาฆ่าเชื้ออสุจิมีทั้งรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน ยาเหน็บ หรือเจล โดยให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงถึง 72% ควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด และการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์เพื่อช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองภายในช่องคลอดและเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้

ฟองน้ำคุมกำเนิด (Contraceptive Sponge)

ฟองน้ำคุมกำเนิดมีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้ออสุจิที่ให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ถึง 76-88% ลักษณะวิธีใช้คือการสอดเข้าไปไว้ในช่องคลอดและควรค้างฟองน้ำเอาไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอสุจิและให้ยาออกฤทธิ์ในการฆ่าอสุจิได้อย่างเต็มที่ 

หมวกครอบปากมดลูก (Cervical Cap)

หมวกครอบปากมดลูกถูกผลิตขึ้นจากยางที่ให้ความยืดหยุ่นและผิวสัมผัสที่นิ่ม ควรสวมใส่ก่อนมีเพศสัมพันธ์และปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ โดยหมวกครอบปากมดลูกสามารถเคลื่อนตัวหลุดจากตำแหน่งเดิมได้ตลอดเวลา ให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ประมาณ 71-88%

 

คุมกำเนิด แบบไหนดี

บทความจากพันธมิตร
Shrewsbury Riverside: ผลสอบ และ การเลือกมหาวิทยาลัย - ในมุมมองของพ่อแม่ กับ ศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์
Shrewsbury Riverside: ผลสอบ และ การเลือกมหาวิทยาลัย - ในมุมมองของพ่อแม่ กับ ศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์
วิธีใช้แพมเพิสทำ ice pack สำหรับเก็บนมแม่แบบง้ายง่าย
วิธีใช้แพมเพิสทำ ice pack สำหรับเก็บนมแม่แบบง้ายง่าย
อาการเป็นไข้จากการฉีดวัคซีน ป้องกันได้อย่างไร
อาการเป็นไข้จากการฉีดวัคซีน ป้องกันได้อย่างไร
นมก้อน ขั้นกว่าของนมผง สะดวก ไม่ต้องตวง ไม่ต้องกลัวหก ผลิตภัณฑ์เพื่อคุณแม่ยุคใหม่ นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น
นมก้อน ขั้นกว่าของนมผง สะดวก ไม่ต้องตวง ไม่ต้องกลัวหก ผลิตภัณฑ์เพื่อคุณแม่ยุคใหม่ นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น

3. ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (Intrauterine Device : IUD)

ห่วงอนามัยคุมกำเนิดเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายตัว T ใช้สอดเข้าไปในบริเวณมดลูก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาวและยังมีความต้องการกลับมามีบุตรได้ มีอายุการใช้งาน 3-10 ปี และหากใช้งานอย่างถูกวิธีในทุกขั้นตอนจะมีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ได้เกือบ 100% ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น มีประจำเดือนเยอะขึ้น เลือดออกกะปริดกะปรอย หรือตกขาวเล็กน้อย

 

คุมกำเนิด แบบไหนดี

4. การคุมกำเนิดถาวร (Permanent Methods)

การคุมกำเนิดถาวรหรือการทำหมันช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้เกือบ 100% เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตรอีกแล้วในอนาคต สามารถทำได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่โรงพยาบาลทั่วประเทศ สำหรับผู้หญิงการผ่าตัดปิดท่อน้ำไข่เอาไว้เพื่อไม่ให้เกิดการปฏิสนธิกับน้ำอสุจิที่ไหลเข้ามาได้ และในส่วนของผู้ชายจะทำการผ่าตัดปิดทางเดินท่ออสุจิ ส่งผลให้อสุจิไม่สามารถออกไปปฏิสนธิกับไข่ได้ ซึ่งทั้งสองแบบนี้ใช้เวลาในการผ่าตัดและการพักฟื้นไม่นาน อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น อักเสบ บวม หรือช้ำบริเวณที่ผ่าตัด

บทความที่น่าสนใจ : ทำหมันเปียก ทำหมันแห้ง แบบไหนดีกว่ากัน

 

แม้ว่าการคุมกำเนิดจะไม่มีวิธีใดที่สามารถการันตีได้ว่าจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100& ก็ตาม ดังนั้นก่อนที่จะเลือกวิธีคุมกำเนิดให้กับตนเอง ควรศึกษาหาความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจให้ดีเสียก่อน หรือหากยังไม่แน่ใจสามารถปรึกษาแพทย์สูตินรีเวชเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องได้ เพราะหากว่าเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดที่ผิดวิธีอาจเป็นการโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ รวมทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่นที่ไม่อาจคาดคิดได้

 

บทความที่น่าสนใจ :

ห่วงอนามัย คุมกำเนิด อีกหนึ่งทางเลือก ของคนไม่ชอบกินยา

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด อีกหนึ่งทางเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ที่ได้ผลดี!

ยาคุมแบบแปะ สามารถคุมกำเนิดได้จริง หรือแค่ราคาคุย

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Thanawat Choojit

  • หน้าแรก
  • /
  • วัยรุ่น
  • /
  • คุมกำเนิด แบบไหนดี และวิธีการคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง ?
แชร์ :
  • เยื่อพรหมจรรย์อยู่ตรงไหน ? ไขข้อข้องใจเรื่องลับ! ของสาวๆ

    เยื่อพรหมจรรย์อยู่ตรงไหน ? ไขข้อข้องใจเรื่องลับ! ของสาวๆ

  • ทำไมวัยรุ่นอยาก "ลองของ" กับผลเสียที่ตามมาโดยไม่รู้ตัว

    ทำไมวัยรุ่นอยาก "ลองของ" กับผลเสียที่ตามมาโดยไม่รู้ตัว

  • 10 เหตุผล ทำไมคบ 'เพื่อนผู้ชาย' แล้วสบายใจมากกว่า 'เพื่อนผู้หญิง'

    10 เหตุผล ทำไมคบ 'เพื่อนผู้ชาย' แล้วสบายใจมากกว่า 'เพื่อนผู้หญิง'

  • เยื่อพรหมจรรย์อยู่ตรงไหน ? ไขข้อข้องใจเรื่องลับ! ของสาวๆ

    เยื่อพรหมจรรย์อยู่ตรงไหน ? ไขข้อข้องใจเรื่องลับ! ของสาวๆ

  • ทำไมวัยรุ่นอยาก "ลองของ" กับผลเสียที่ตามมาโดยไม่รู้ตัว

    ทำไมวัยรุ่นอยาก "ลองของ" กับผลเสียที่ตามมาโดยไม่รู้ตัว

  • 10 เหตุผล ทำไมคบ 'เพื่อนผู้ชาย' แล้วสบายใจมากกว่า 'เพื่อนผู้หญิง'

    10 เหตุผล ทำไมคบ 'เพื่อนผู้ชาย' แล้วสบายใจมากกว่า 'เพื่อนผู้หญิง'

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ