X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำความรู้จัก จุลินทรีย์บิฟิดัส มีประโยชน์ต่อลูกน้อยอย่างไร

บทความ 3 นาที
ทำความรู้จัก จุลินทรีย์บิฟิดัส มีประโยชน์ต่อลูกน้อยอย่างไร

คุณแม่รู้ไหมว่า จุลินทรีย์บิฟิดัส หรือ บิฟิโดแบคทีเรีย มีผลดีต่อลูกน้อยมาก การที่เด็กๆ ได้รับจุลินทรีย์ชนิดนี้เท่ากับจะได้รับภูมิคุ้มกันที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง และช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารและทางเดินหายใจได้ เรามาทำความรู้จักจุลินทรีย์บิฟิดัสให้ดียิ่งขึ้นกันดีกว่า

จุลินทรีย์บิฟิดัส

ทำความรู้จักจุลินทรีย์ตัว Y ที่ชื่อ บิฟิดัส

เริ่มจากในปี พ.ศ. 2432  Henry Tissier กุมารแพทย์ชาวฝรั่งเศส ได้พบเชื้อที่มีลักษณะเป็นรูปตัว Y  จึงเรียกว่า “bifidus” ต่อมาในปีพ.ศ. 2450 Elie นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้รายงานเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่หมักพวกคาร์โบไฮเดรตแล้วให้ผลผลิตเป็นกรด lactic (lactic acid bacteria,LAB) ทำให้กากอาหารในลำไส้ไม่เกิดการบูดเน่า (putrefaction) และได้นำ LAB มาใช้รักษาโรคติดเชื้อที่ทางเดินอาหาร อุจจาระร่วงและอหิวาตกโรค งานของท่านได้รับรางวัลโนเบลด้วย

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาได้มีการศึกษาบทบาทของจุลินทรีย์ในลำไส้อย่างกว้างขวาง พบว่าในสัตว์ทดลองที่เลี้ยงให้อยู่ในภาวะปลอดเชื้อ ผลปรากฏว่า ระบบการปกป้องการรุกล้ำของเชื้อโรคเสียไป โดยมีเยื่อบุลำไส้ฝ่อ เนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันพัฒนาน้อย มีการซึมผ่านได้มาก ชั้นเยื่อเมือกที่ปกป้องพื้นผิวของเซลล์เยื่อบุหายไป และการเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติด้วย ดังนั้นเมื่อได้รับเชื้อจากสิ่งแวดล้อม สัตว์ทดลองเหล่านี้จะติดเชื้อในเลือดอย่างรุนแรงจนถึงเสียชีวิต

บิฟิดัสช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ

มีหลักฐานพบว่าทารกได้รับ bifidus ตั้งแต่อยู่ในมดลูก จึงได้รับการกระตุ้นให้สร้างสารปกป้องผิวเยื่อบุลำไส้ให้แข็งแรงโดยมีชั้นเยื่อเมือกปกป้องผิวเยื่อบุลำไส้ มีสาร IgA ไว้จับเชื้อ ทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์ติดกันดี ไม่ให้มีการซึมผ่านได้ง่าย  มีพัฒนาการของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองใต้ชั้นเยื่อบุลำไส้เกิดเซลล์ที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อที่ลำไส้แบบป้องกัน และการบีบตัวของลำไส้ปกติ

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันมีพัฒนาการปกติ ถ้าเกิดมีเชื้อเข้ามาและเกาะที่ผิวเยื่อบุลำไส้ จะมีการตอบสนองเพื่อกำจัดเชื้อตามขั้นตอนดังนี้

  • ผิวเยื่อบุที่ชั้นเยื่อเมือกจะมีสารที่ลวงให้เชื้อโรคจับ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าถึงผิวเซลล์เยื่อ
  • เนื้อเยื่อน้ำเหลืองจะส่งท่อขึ้นมาตรวจสอบว่าเชื้อปล่อยสารพิษอะไร แล้วจะตอบสนองโดยการปล่อยสารภูมิคุ้มกัน IgAชนิดไม่เฉพาะออกมาก่อนเพื่อทำลายเชื้อ ถ้าเป็นเชื้อที่เป็นมิตร ก็จะไม่ทำลาย โดยยอมให้อยู่ด้วย
  • ต่อไปร่างกายจะสร้างคุ้มกันชนิดจำเพาะ specific IgA เข้าจับทำลายเชื้อที่อาจฉวยโอกาสก่อโรคให้ได้ผลยิ่งขึ้น
  • Bifidus ทำหน้าที่สื่อสารกับเซลล์เนื้อเยื่อน้ำเหลืองเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ เช่น ทำให้เม็ดเลือดขาวเคลื่อนเข้าล้อมเชื้อที่รุกล้ำได้เร็วขึ้น และเซลล์เม็ดเลือดขาวทำการฆ่าเชื้อ และยังกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อปกป้องเยื่อบุลำไส้ทั้งที่ลำไส้ ระบบทางเดินหายใจ

บิฟิดัส จุลินทรีย์มีประโยชน์ ต่อลูกน้อย

บิฟิดัส จุลินทรีย์มีประโยชน์ ต่อลูกน้อยอย่างไร

จุลินทรีย์บิฟิดัส ป้องกันโรคที่เด็กเป็นกันบ่อยๆได้แก่ โรคอุจจาระร่วงและโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หวัด หลอดลมอักเสบ มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เมื่อเด็กเล็กได้รับ บิฟิดัส ที่มีอยู่ในน้ำนม แล้วติดตามการเจ็บป่วยนาน 6 เดือน พบว่าอาการและความรุนแรงของโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้าลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม มีการศึกษาในฟินแลนด์เกี่ยวกับการป้องกันโรคทางเดินหายใจโดยการเสริม Bifidobacterium lactis + Lactobacillus GG. ในนมผงสำหรับเลี้ยงทารกแก่ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ โดยเริ่มกินตั้งแต่อายุก่อน 2 เดือน เปรียบเทียบกับทารกที่กินนมผงชนิดที่ไม่ได้เสริมจุลินทรีย์แล้วติดตามการรักษาไปนาน 12 เดือนพบว่า โรคการติดเชื้อทางเดินหายใจลดลงครึ่งหนึ่งในกลุ่มที่ได้จุลินทรีย์เสริม (28%) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับจุลินทรีย์ (55%) เมื่อเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจก็มีอาการรุนแรงน้อย ไม่ต้องการยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์สูงในการรักษา

ผู้วิจัยอธิบายว่า ที่พบเช่นนี้น่าจะเกิดจาก เซลล์เม็ดเลือดน้ำเหลืองได้รับการฝึกจาก บิฟิดัส ให้ต่อสู้กำจัดเชื้อที่เยื่อบุทางเดินหายใจ และจุลินทรีย์ป้องกันการเติบโตของเชื้อที่ฉวยโอกาสก่อโรคบริเวณเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบน จึงเกิดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนน้อยกว่า และการที่ได้รับเชื้อ บิฟิดัส กินร่วมกับการให้วัคซีนทั้งชนิดฉีดและกิน เมื่อตรวจเลือดวัดระดับภูมิคุ้มกันพบว่ามีระดับสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับบิฟิดัส เช่น วัคซีน Hib, คอตีบ ไวรัสโรต้า ซามัลเนลลา โปลิโอ

เพราะภูมิคุ้มกันของเด็กในช่วงตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยเตาะแตะ ยังพัฒนาไม่เต็มที่ การใส่ใจในเรื่องโภชนาการที่ดี ให้ลูกได้รับการเลี้ยงดูจากนมแม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์บิฟิดัส จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและปกป้องความเสี่ยงของการเกิดโรคต่อลูกน้อย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทำความรู้จัก จุลินทรีย์บิฟิดัส มีประโยชน์ต่อลูกน้อยอย่างไร
แชร์ :
  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว