X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

Shaken Baby Syndrome คืออะไร ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่หลายคนอาจมองข้าม

บทความ 5 นาที
Shaken Baby Syndrome คืออะไร ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่หลายคนอาจมองข้าม

ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับ Shaken Baby Syndrome คืออะไร มาให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกัน ซึ่งเป็นภัยที่ใกล้ตัวและเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง

Shaken Baby Syndrome คืออะไร ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่หลายคนอาจมองข้าม

 

คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนบ้าง เคยโยนลูก เขย่าหยอกล้อกับลูก หรือคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายที่ชอบเล่นกับหลานแบบนี้บ้าง รู้หรือไม่ว่า การโยนเด็ก และเขย่าลูกน้อยนั้น เด็ก ๆ อาจมีอาการ Shaken Baby Syndrome ซึ่งเป็นภัยที่ใกล้ตัวและเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ TheAsianparent ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับ Shaken Baby Syndrome คืออะไร มาให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกัน

Shaken Baby Syndrome คืออะไร

อาการ Shaken Baby Syndrome คืออะไร

แน่นอนอยู่แล้วว่าวิธีเดียวที่ทารกจะสื่อสารออกมา ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้ว่าหนูกำลังมีปัญหาบางอย่าง เช่น ไม่สบายตัว หิว ง่วง เปียกชื้น ปวดท้อง หรือเพียงต้องการแม่มาอยู่ใกล้ ๆ คือ การร้องไห้ แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็ได้ทำทุกอย่างแล้ว เจ้าตัวน้อยก็ยังไม่หยุดร้อง จนคุณแม่เกิดอารมณ์และเผลอเขย่าทารกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่การเขย่าทารกเช่นนี้ เป็นอันตรายแก่เด็ก ๆ ได้

 

Shaken Baby Syndrome เป็นอาการที่เกิดจากการถูกเขย่าอย่างรุนแรง ทำให้สมองได้รับการกระทบกระเทือนจากการที่คอและศีรษะของลูกถูกแรงเหวี่ยงไปมาข้างหน้าและข้างหลัง ในขณะที่กล้ามเนื้อคอของเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบนั้นยังคงไม่แข็งแรงมากพอที่จะประคองศีรษะได้อย่างมั่นคง ประกอบกับศีรษะของทารกนั้นมีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับขนาดลำตัว ทำให้ส่วนของสมองภายในกะโหลกศีรษะ มีเนื้อที่สำหรับการถูกเขย่าไปมาได้มาก และส่วนที่จะป้องกันอันตรายจากการบาดเจ็บทางสมองมีน้อยลง

Shaken Baby Syndrome คืออะไร

Shaken Baby Syndrome

การถูกแรงเหวี่ยงที่เร็วและแรงเช่นนี้ จะทำให้เส้นเลือดบริเวณเยื่อหุ้มสมองฉีกขาด มีเลือดออกภายในสมอง นอกจากนี้แรงเขย่ายังส่งผลให้เส้นเลือดในจอตาขาดได้อีกด้วย

จากสถิติพบว่า เด็กที่มีอาการ Shaken Baby Syndrome 1 ใน 3 สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ แต่ในขณะที่อีก 1 ใน 3 จะกลายเป็นคนพิการไปตลอดชีวิต เช่น ไร้สมรรถภาพในการเรียนรู้ ตาบอด หรือเป็นอัมพาตในสมองใหญ่ เป็นต้น และที่น่าเสียใจที่สุดคืออีก 1 ใน 3 นั้นอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

การเขย่านั้นเป็นการใช้ความรุนแรงทางกาย ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บไม่น้อยไปกว่าการทุบตี ต่างกันตรงที่บาดแผลที่สามารถมองเห็นได้ ในขณะที่การเขย่า ส่งผลให้เกิดบาดแผลที่อวัยวะภายในซึ่งมองไม่เห็น

 

ทําไมถึงห้ามเขย่าทารก

Shaken Baby Syndrome คืออะไร

อันตราย ของ การ เขย่า ลูก

พ่อแม่บางคนรู้ว่า ไม่ควรเขย่าลูกแรง เพราะหากทารกถูกเขย่าแรง ๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของเจ้าตัวน้อยได้ แต่สำหรับคนอื่น ๆ เช่น ญาติผู้ใหญ่ เพื่อน ก็อาจจะไม่เข้าใจ นึกว่าเราหวงลูก ทำไมเล่นด้วยแค่นี้ทำไม่ได้ อย่างแรก พ่อแม่ก็ต้องทำความเข้าใจ อย่าตอบโต้ด้วยอารมณ์ ให้บอกเหตุผลไป ดังนี้

  • การเขย่าทารกอย่างรุนแรงจะทำให้ทารกเกิดอาการ Shaken Baby Syndrome
  • Shaken Baby Syndrome สมองของทารกจะได้รับการกระทบกระเทือน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบต้องระวัง

คิดง่าย ๆ ว่า เมื่อคอและศีรษะของทารก ถูกแรงเหวี่ยงไปมาข้างหน้า ข้างหลัง เป็นไปได้หรือ ที่ทารกตัวแค่นี้จะไม่เกิดอันตราย

Shaken Baby Syndrome คืออะไร

อา การ Shaken Baby Syndrome

ทารกถูกเขย่ารุนแรงเกินไป อันตราย!

เนื่องด้วยทารกที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ มีกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่แข็งแรง ขนาดพ่อแม่จะอุ้มแต่ละครั้ง ยังต้องคอยประคับประคองกันเต็มที่ ดังนั้น การเขย่าลูกแรง ๆ จึงเป็นสิ่งต้องห้าม โดยเฉพาะการเชคหรือเขย่าทารก จนคอและหัวเหวี่ยงไปเหวี่ยงมา เนื่องจากหัวของทารกในตอนเล็ก ๆ นั้นใหญ่กว่าลำตัว ภายในสมองก็มีเนื้อที่มาก ส่วนที่ป้องกันอันตรายจากการถูกเขย่านั้นก็น้อย

อันตรายจากการเขย่าลูกแรง ๆ คือ เส้นเลือดบริเวณเยื่อหุ้มสมองฉีกขาด จนเกิดเลือดออกในสมอง ลุกลามไปจนถึงเส้นเลือดในจอตาขาดได้ด้วย

 

เหวี่ยงลูกไปมาก็เป็น Shaken baby syndrome ได้

Shaken Baby Syndrome คืออะไร

Shaken Baby Syndrome คือ อะ ไร

ไม่ใช่แค่เขย่าลูกแรง ๆ แต่การเหวี่ยงลูกไปมาก็เป็น Shaken baby syndrome ได้เช่นกัน เพราะกลุ่มอาการนี้ อาจเกิดขึ้นกับเด็กเล็กจนอายุ 5 ขวบได้ โดยมีสิ่งที่เกิดร่วมกันทั้งหมด 3 อย่าง เราถึงเรียกว่า syndrome หรือกลุ่มอาการ ได้แก่ สมองบวม (cerebral edema) เลือดออกที่จอประสาทตา (retinal hemorrhage) เลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง (subdural hematoma) เพราะคอเด็กยังไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อต่าง ๆ ยังอ่อนอยู่ เวลาเกิดแรงเหวี่ยง สมองที่ยังอ่อนอยู่ในกระโหลกจะกระแทกกับกระโหลกศีรษะเกิดสมองช้ำ ตามมาด้วยสมองบวม จนเสียชีวิตได้

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

 

สังเกตอาการ Shaken Baby Syndrome

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบว่า เจ้าตัวน้อยมีอาการง่วงซึม ชอบนอน หงุดหงิด อาเจียน และไม่อยากอาหาร อาจเป็นอาการที่สมองได้รับความกระทบกระเทือน ควรพาลูกไปพบคุณหมอโดยเร็วค่ะ

  1. เซื่องซึม ง่วง นอนตลอด
  2. หงุดหงิด ร้องโยเยจนผิดสังเกต
  3. ไม่ยอมกินนม กินนมได้น้อย
  4. อาเจียนบ่อย ๆ

หากลูกเล็กอายุไม่เกิน 1 ขวบครึ่ง กระหม่อมยังไม่ปิด ถ้าลูบแล้วบวมหรือนูนผิดปกติ ต้องพาไปโรงพยาบาลทันที ทารกถูกเขย่า ทารกถูกเหวี่ยง แรง ๆ อาจทำให้เกิด Shaken Baby Syndrome ดังนั้น พ่อแม่ห้ามเขย่าลูกแรง และต้องคอยสังเกตคนที่มาเล่นกับลูกด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยของลูก

 

Source : theasianparent , doctor

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง 10 อาหารคนท้องห้ามกิน อาหารคนท้องไม่ควรกิน

พ่อแม่เลิกกัน คนที่เจ็บคือลูก เลิกกับพ่อของลูก ควรบอกลูกอย่างไร สิ่งที่ห้ามทำกับลูกเด็ดขาด

10 โรคหน้าฝนในเด็ก 2020 โรคหน้าฝนสุดฮิตที่เด็กมักเป็น คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Jitawat Jansuwan

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • Shaken Baby Syndrome คืออะไร ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่หลายคนอาจมองข้าม
แชร์ :
  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว