X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะไฮโปสปาเดีย (Hypospadias) คืออะไร อันตรายต่อทารกเพศชายแค่ไหน

บทความ 5 นาที
ภาวะไฮโปสปาเดีย (Hypospadias) คืออะไร อันตรายต่อทารกเพศชายแค่ไหน

อีกหนึ่งภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้ในทารก โดยแพทย์มักพบความผิดปกติบริเวณองคชาตของทารกเพศชายได้ทันที ตั้งแต่หลังคลอดออกมา ภาวะไฮโปสปาเดีย คืออะไร รักษาได้อย่างไร และมีความอันตรายแค่ไหนต่อทารกน้อย ในวันนี้ เราจะมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

 

ภาวะไฮโปสปาเดีย (Hypospadias) คืออะไร

ภาวะไฮโปสปาเดีย หรือที่เรียกกันว่า ภาวะท่อปัสสาวะเปิดต่ำกว่าปกติในเพศชาย เป็นภาวะที่เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของทารกเพศชาย มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะเพศชาย และกระบวนการสร้างท่อปัสสาวะทำงานบกพร่อง จนทำให้รูเปิดท่อปัสสาวะ อยู่ต่ำกว่าปลายองคชาต จากตำแหน่งปกตินั่นเอง โดยอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ภาวะองคชาตโค้งงอ หรือมีลักษณะที่แตกต่างไปจากปกติ จนทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในอนาคตได้ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกร่างกายบางส่วนใหญ่กว่าปกติ ไวรัลออนไลน์ที่เกิดกับทารก 1 ใน 13,700 คน!

 

ภาวะไฮโปสปาเดีย

 

สาเหตุของ Hypospadias คืออะไร

สาเหตุหลัก ๆ ของภาวะไฮโปสปาเดียนั้น อาจเกิดจากการที่ท่อปัสสาวะ และอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของทารกไม่พัฒนาอย่างเต็มที่ ขณะที่กำลังเติบโตอยู่ในครรภ์ จึงทำให้เกิดภาวะรูเปิดท่อปัสสาวะต่ำกว่าผิดปกตินี้ โดยยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ ดังนี้

 

  • เกิดจากพันธุกรรม

ถ้าหากมีคนในครอบครัว มีประวัติการเป็นภาวะไฮโปสปาเดียมาก่อน อาจทำให้ทารกน้อยได้รับสืบทอดมาจากพันธุกรรมได้

 

  • ฮอร์โมนผิดปกติ

เมื่อคุณแม่รับประทานฮอร์โมนบางชนิด ที่ช่วยปรับปรุงฮอร์โมนสำหรับการบำรุงครรภ์โดยเฉพาะ ฮอร์โมนบางชนิดก็อาจส่งผลให้ทารกเสี่ยงต่อการเป็นภาวะรูเปิดท่อปัสสาวะต่ำกว่าปกติได้

 

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุมาก

ถ้าหากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้เช่นกันค่ะ

 

  • การสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สารพิษต่าง ๆ ที่มาจากควันบุหรี่และแอลกอฮอล์ อาจส่งผลให้พัฒนาการ และการเติบโตของทารกในครรภ์ช้าลง และพัฒนาระบบสืบพันธุ์ได้ไม่เต็มที่อีกด้วย

 

ภาวะไฮโปสปาเดีย อาการเป็นอย่างไร

อาการหลัก ๆ ที่เกิดขึ้นจากภาวะนี้ มีดังนี้

 

  • รูท่อปัสสาวะอยู่ผิดตำแหน่ง

อาการที่รูท่อปัสสาวะ ไม่ได้อยู่ในบริเวณส่วนปลายองคชาต แต่จะอยู่ต่ำกว่านั้นแทน ซึ่งแพทย์สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนตั้งแต่การคลอด

 

  • องคชาตมีลักษณะโค้งลง

อวัยวะเพศชายจะมีลักษณะโค้งลงแบบเห็นได้ชัด และจะเห็นได้ชัดมากขึ้นถ้าหากอวัยวะเพศเกิดการแข็งตัว

 

  • ทิศทางการไหลของปัสสาวะผิดปกติ

เมื่อปัสสาวะ ทิศทางการไหลของน้ำจะไม่ปกติ เพราะรูท่อปัสสาวะไม่ได้อยู่ที่ส่วนปลายนั่นเองค่ะ

 

ภาวะไฮโปสปาเดีย

 

เราจะทราบได้อย่างไร ว่าลูกเป็นภาวะนี้หรือเปล่า ?

โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะสามารถตรวจสอบและวินิจฉัย Hypospadias ด้วยการตรวจร่างกายของทารกเพศชายทันที หลังจากคลอดเสร็จ โดยจะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน โดยในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยแล้ว พบว่าทารกมีความผิดปกติ แพทย์จะต้องวินิจฉัยร่วมกับศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะเด็กร่วมด้วย เพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดว่ามีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่ เพื่อพิจารณาถึงวิธีการรักษาต่อไป

 

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

ขั้นตอนในการรักษา Hypospadias

ในการรักษาภาวะนี้ สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัด โดยสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ตั้งแต่อายุ 3 ปีขึ้นไป หรือตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบสุขภาพ ยาที่ทาน รวมไปถึงอาการแพ้ต่าง ๆ เพื่อหาวิธีในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย โดยในการรักษา แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อย้ายท่อปัสสาวะ ให้มาอยู่ใกล้กับบริเวณปลายองคชาตมากที่สุด และจะทำการตัดบริเวณหนังหุ้มปลายออก เพื่อสร้างช่องปัสสาวะขึ้นมาใหม่ รวมไปถึงพิจารณารักษาอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร่วมด้วย เช่น อาการองคชาตโค้งงอ เป็นต้น

โดยหลังจากการผ่าตัดครั้งแรก อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดมากกว่า 1 ครั้ง และนัดติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หลังจากการผ่าตัดได้

 

ภาวะไฮโปสปาเดีย

 

การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ Hypospadias

ต้องเกริ่นก่อนว่า ภาวะ Hypospadias นั้นไม่สามารถป้องกันได้ เพราะเป็นโรคที่เกิดตั้งแต่ในครรภ์ แต่ทั้งนี้ คุณแม่ก็สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ลดการสูบบุหรี่ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่ดี และเข้าพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสุขภาพในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากคุณแม่อายุ 35 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงยิ่งมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อวางแผน และประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ ก่อนที่จะเริ่มวางแผนตั้งครรภ์นะคะ

 

โดยสรุปแล้ว ภาวะไฮโปสปาเดีย หรือภาวะท่อปัสสาวะเปิดต่ำกว่าปกติในเพศชาย เป็นภาวะที่สามารถพบได้ในทารกเพศชายตั้งแต่แรกเกิด โดยมีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เช่น ฮอร์โมนของคุณแม่ผิดปกติ พันธุกรรม ฯ ทั้งนี้ ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด และเข้าพบคุณหมอตามกำหนด หรือรักษาแบบอื่น ๆ ตามแพทย์แนะนำ คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กนอนหลับไม่สนิท ภาวะหลับยากในเด็ก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้

ไขข้อข้องใจ ! ภาวะตัวเหลือง ในเด็กแรกเกิด อันตรายหรือไม่ ป้องกันอย่างไร​ ?

ลูกน้อย คางสั่น อาการนี้ถือว่าผิดปกติหรือไม่ เป็นอันตรายหรือเปล่า

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Woraya Srisoontorn

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ภาวะไฮโปสปาเดีย (Hypospadias) คืออะไร อันตรายต่อทารกเพศชายแค่ไหน
แชร์ :
  • สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

    สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
    บทความจากพันธมิตร

    ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

    สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
    บทความจากพันธมิตร

    ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ