X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกร่างกายบางส่วนใหญ่กว่าปกติ ไวรัลออนไลน์ที่เกิดกับทารก 1 ใน 13,700 คน!

27 Dec, 2022
ทารกร่างกายบางส่วนใหญ่กว่าปกติ ไวรัลออนไลน์ที่เกิดกับทารก 1 ใน 13,700 คน!

นับเป็นหนึ่งในภาพไวรัลออนไลน์ ที่กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง เมื่อมีชาวเน็ตรายหนึ่ง หยิบภาพของ ทารกร่างกายบางส่วนใหญ่กว่าปกติ ออกมาโพสต์ จนกลายเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง โดยเรื่องนี้เกิดขึ้นในนอร์ทดาโคตาของสหรัฐอเมริกา ทารกร่างกายบางส่วนใหญ่กว่าปกติ หรือ Paisley ที่เกิดมาพร้อมกับอาการ เบ็ควิท-ไวเดอมานน์ (Beckwith-Wiedemann) เป็นอาการซึ่งทำให้อวัยวะ หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโตเกินไป และส่งผลกระทบต่อทารกแรกเกิดชาวอเมริกัน ประมาณ 300 คนต่อปี

 

ภาวะ “เบ็ควิท-ไวเดอมานน์” (Beckwith–Wiedemann syndrome) เป็นภาวะความผิดปกติ ที่ทำให้อวัยวะบางส่วนของทารกใหญ่ผิดปกติ ซึ่งมักเกิดขึ้นในทารกราว ๆ 1 ใน 13,700 คน และในกรณีของเธออวัยวะที่ว่าก็เป็นลิ้นอย่างที่เห็น อาการดังกล่าวทำให้ลิ้นของเธอ มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของปากเล็ก ๆ ของเธอ ใหญ่มากถึงขนาดที่ตัวทารกเอง ต้องแลบลิ้นอยู่ตลอดเวลา

 

ทารกร่างกายบางส่วนใหญ่กว่าปกติ

 

ปัญหาคือการที่เธอมีลิ้นใหญ่เช่นนี้ มันไม่เพียงแต่แค่ทำให้เธอดูตลกเท่านั้น แต่มันยังทำให้เธอหายใจลำบากด้วย จนตั้งแต่เกิด เด็กคนนี้ ก็ต้องใช้งานเครื่องช่วยหายใจอยู่บ่อย ๆ “ลิ้นของเธอยื่นออกมาตลอดเวลา เธอมักจะเคี้ยวลิ้นของเธอ เพราะมันกินพื้นที่ในปากของเธอมาก มันเลยทำให้ลูกของฉัน เหมือนทำหน้าที่ดูตลอดอยู่เสมอ” แม่ของเธอกล่าวกับสำนักข่าว Caters News Agency

 

แพทย์กังวลว่า ลิ้นของเธอมีขนาดใหญ่มาก มันจะหายใจไม่ออก เมื่อเวลาโตขึ้น ทำให้พวกเขาต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้แน่ใจว่าเธอหายใจได้อย่างถูกต้อง นั่นทำให้หลังจากที่เธออายุได้ราว ๆ 6 เดือน เด็กคนนี้ก็ได้เข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมลิ้น 2 ครั้ง ซึ่งลดขนาดลิ้นของเธอจนกลับเป็นปกติ และเฝ้าระวังโอกาสเป็นมะเร็งอีกต่อไปหลายเดือน

 

ทารกร่างกายบางส่วนใหญ่กว่าปกติ

 

หลังจากการผ่าตัด Paisley สามารถยิ้มได้เป็นครั้งแรก นั่นทำให้แม่ของเธอดีใจมาก ถึงขั้นกล่าวว่า “ฉันไม่อยากเชื่อเลยและตกใจมากที่สาวน้อยของฉันดูสวยขนาดนี้” ทั้งยังบอกอีกว่าก่อนหน้านี้ ลูกสาวของเธอไม่สามารถแม้แต่จะเปล่งเสียง เพื่อพูดคำว่า 'แม่' และ 'ดาดา' มาก่อน เนื่องจากขนาดของลิ้นของเธอ ดังนั้นนี่จึงรู้สึกเหมือนเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

 

หลังจากการผ่าตัดแพทย์จะติดตามเด็กทุก 3 เดือน จนกว่าเธอจะอายุครบ 8 ขวบ ซึ่งโอกาสที่เธอจะพัฒนาเป็นเนื้องอกมะเร็ง ที่เกิดจากกลุ่มอาการลดลงอย่างมาก แพทย์กล่าว การผ่าตัดในเวลานั้น ก็ทำให้เด็กสาวสามารถยิ้มได้อย่างแท้จริง ทิ้งไว้เพียงภาพแห่งความทรงจำ ของอาการหาค่อนข้างยาก ซึ่งก็น่าจะกลับมาเป็นหัวข้อสนทนา ในโลกออนไลน์อยู่เรื่อย ๆ ไปอีกหลายปี

บทความที่เกี่ยวข้อง : อุทาหรณ์! ลูกรอดเพราะคาร์ซีท ประสบการณ์ตรงจากคุณแม่ ลูกไม่เป็นอะไรเพราะนั่งคาร์ซีท

 

กลุ่มอาการเบ็ควิท-ไวเดอมานน์

กลุ่มอาการเบ็ควิท-ไวเดอมานน์ (Beckwith–Wiedemann syndrome) เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่ปรากฏอาการให้เห็นตั้งแต่แรกเกิด ทำให้มีอวัยวะบางส่วนใหญ่ผิดปกติและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง แรกเริ่มแล้วมีการเสนอให้ใช้คำว่า exomphalos-macroglossia-gigantism syndrome หรือ กลุ่มอาการสะดือโป่ง-ลิ้นใหญ่ผิดปกติ-รูปร่างโตเหมือนยักษ์ เพื่อเรียกชื่อกลุ่มอาการที่ทำให้ผู้ป่วย มีอาการสามอย่างพร้อมกันข้างต้น

 

ต่อมาจึงถูกเรียกชื่อเป็นกลุ่มอาการเบ็ควิท-ไวเดอมานน์ หลังจากที่ได้มีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ด้วยการชันสูตรศพพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนหนึ่ง มีต่อมหมวกไตโตกว่าปกติมาก ลักษณะที่พบบ่อยในผู้ป่วย ได้แก่ ลิ้นใหญ่ผิดปกติ ทารกตัวใหญ่ผิดปกติ มีความบกพร่องของผนังหน้าท้องในแนวแกน เช่น สะดือจุ่น สะดือโป่ง กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนตัว หูผิดปกติ และมีน้ำตาลต่ำแรกเกิด

 

ทารกร่างกายบางส่วนใหญ่กว่าปกติ

 

โรคหายากในประเทศไทย

โรคหายาก หรือ Rare Disease คืออาการเจ็บป่วยอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เราไม่ค่อยคุ้นเคย ซึ่งมีอาการใกล้เคียงกับโรคทั่วไป แพทย์จึงทำการรักษาตามอาการ แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ยังไม่สามารถรักษาให้หายได้สักที จนมาพบความจริงว่าเป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีอุบัติการณ์ และจำนวนผู้ป่วยไม่เยอะ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร กลุ่มคุณหมอที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนี้ก็ยังมีไม่มาก ทำให้การศึกษาเกี่ยวโรคเหล่านี้มีน้อย บางโรคแทบไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน อย่างโรคปัสสาวะกลิ่นเมเปิ้ลไซรัป (MSUD) โรคแฟเบรย์ โรคโกเช่ร์ โรคพีเคยู

 

ตัวอย่างโรคหายาก 8 โรค

1. โรคแอลเอสดี

แรกเกิดปกติต่อมาหน้าตาเปลี่ยน ตับม้ามหัวใจโตปวดกระดูก ซีด พัฒนาการที่เคยปกติถดถอยลง อาการหลากหลายขึ้นกับโรค ซึ่งมีหลายชนิดบางชนิดมียารักษาที่ได้ผลดี

 

2. โรคมีกรดในเลือด

ในทารกและเด็กเล็ก อาการซึม กินไม่ได้ น้ำตาลในเลือดต่ำ มีกรดในเลือด ไม่รู้ตัว หากรักษาไม่ทันจะเสียชีวิต สมองพิการถาวร การรักษาต้องใช้นมและยาพิเศษ

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ

 

3. โรคพราเดอร์-วิลลี่

ในวัยทารกหลับมาก ไม่ค่อยกิน น้ำหนักไม่ขึ้น ต่อมาที่อายุ 6-9 เดือนเริ่มตื่นมากขึ้น กินมาก ไม่รู้จักอิ่ม ร่างกายอ้วนมาก พัฒนาการช้า

 

4. โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน

เด็กชายที่อายุ 3-5 ปี เริ่มมีอาการเดินขาปัด ล้มง่ายทั้ง ๆ ที่เคยวิ่งเล่นปกติ ลุกจากพื้นลำบาก น่องโตอาการรุนแรงมากขึ้นจนเดินไม่ได้ ปัญหาหัวใจโต และกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจอ่อนแรง

 

5. โรคมาแฟน

รูปร่างสูง ผอม นิ้วยาว ข้อกระดูกบิดงอง่าย กระดูกหน้าอกบุ๋ม/โป่ง กระดูกสันหลังคด สายตาสั้นมาก เลนส์ตาเคลื่อนหลุด ที่อันตรายคือความยืดหยุ่นของเส้นเลือดหัวใจผิดปกติ

 

ทารกร่างกายบางส่วนใหญ่กว่าปกติ

 

6. โรคโครโมโซมผิดปกติ

มีความพิการแต่กำเนิดหลายอย่าง เช่น หน้าตาดูแปลก หัวใจพิการ ลำไส้อุดตัน ไตผิดปกติ การมองเห็นและการได้ยินผิดปกติ พัฒนาการทางสมองล่าช้า

 

7. โรคสมองน้อยเสื่อมจากพันธุกรรม หรือโรคเดินเซ

อาการเริ่มในวัยผู้ใหญ่ เดินเซ เวลาก้าวเดิน ไม่มั่นคง ต้องกางขาเพื่อช่วยการทรงตัว เสียงพูดเปลี่ยนไป การใช้กล้ามเนื้อนิ้วและมือไม่สัมพันธ์กัน อาการดำเนินไปอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นปี ๆ

 

8. โรคเอสเอ็มเอหรือเซลล์ประสาทไขสันหลังเสื่อม

ชนิดรุนแรงอาการสังเกตได้ตอนอายุ 3-6 เดือน คอไม่แข็ง ไม่ค่อยยกแขนขา ลิ้นสั่นพริ้ว ตามมาด้วยการหายใจล้มเหลว ติดเชื้อในปอด บางชนิดเริ่มมีอาการไม่มีแรงในวัยเด็กโต

 

สำหรับเคสของหนูน้อย Paisley ที่เกิดมาพร้อมกับอาการ เบ็ควิท-ไวเดอมานน์ (Beckwith-Wiedemann) นับเป็นการเจ็บป่วยที่อยู่ในกลุ่มหายากเช่นกัน ทั้งยังโชคดีที่มีการรักษาได้ ทำให้เธอสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ถึงแม้ว่ายังเฝ้าระวังอยู่ แต่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในความโชคดีค่ะ!

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แม่เสียดายนม ไม่ยอมทิ้งนมตัวเอง กระดกดื่มเกือบ 5 ลิตร!

ยายป้อนน้ำส้มคั้นให้หลานทารก ตกดึกแหวะนมต้องแอดมิท อันตรายที่ต้องระวัง!

อาการมือเท้าเย็น ช่วยเตือน! อาจเสี่ยงโลหิตจาง-เส้นเลือดตีบ

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • ทารกร่างกายบางส่วนใหญ่กว่าปกติ ไวรัลออนไลน์ที่เกิดกับทารก 1 ใน 13,700 คน!
แชร์ :
  • เลขเด็ด 1/2/66 รวมเลขเด็ดเลขดัง หวยออก พรุ่งนี้

    เลขเด็ด 1/2/66 รวมเลขเด็ดเลขดัง หวยออก พรุ่งนี้

  • แนะนำ! 10 เก้าอี้อเนกประสงค์ ยี่ห้อไหนดี? พกพาง่าย เหมาะสำหรับปิกนิก

    แนะนำ! 10 เก้าอี้อเนกประสงค์ ยี่ห้อไหนดี? พกพาง่าย เหมาะสำหรับปิกนิก

  • ลูกสาว ป.1 ถูกรุ่นพี่ ป.3 ขืนใจ แม่ช็อกหนักหลังรู้ว่า ทำที่โรงเรียนไม่สำเร็จ จับลากไปบ้าน

    ลูกสาว ป.1 ถูกรุ่นพี่ ป.3 ขืนใจ แม่ช็อกหนักหลังรู้ว่า ทำที่โรงเรียนไม่สำเร็จ จับลากไปบ้าน

  • เลขเด็ด 1/2/66 รวมเลขเด็ดเลขดัง หวยออก พรุ่งนี้

    เลขเด็ด 1/2/66 รวมเลขเด็ดเลขดัง หวยออก พรุ่งนี้

  • แนะนำ! 10 เก้าอี้อเนกประสงค์ ยี่ห้อไหนดี? พกพาง่าย เหมาะสำหรับปิกนิก

    แนะนำ! 10 เก้าอี้อเนกประสงค์ ยี่ห้อไหนดี? พกพาง่าย เหมาะสำหรับปิกนิก

  • ลูกสาว ป.1 ถูกรุ่นพี่ ป.3 ขืนใจ แม่ช็อกหนักหลังรู้ว่า ทำที่โรงเรียนไม่สำเร็จ จับลากไปบ้าน

    ลูกสาว ป.1 ถูกรุ่นพี่ ป.3 ขืนใจ แม่ช็อกหนักหลังรู้ว่า ทำที่โรงเรียนไม่สำเร็จ จับลากไปบ้าน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ