TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อุทาหรณ์ พ่อสูญเสียลูกชาย จากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ย้ำให้รร.มีเครื่อง AED

11 Jan, 2024
อุทาหรณ์ พ่อสูญเสียลูกชาย จากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ย้ำให้รร.มีเครื่อง AED

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็ก คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจไม่คิดว่าโรคหัวใจสามารถเกิดขึ้นกับเด็กได้ด้วย แต่จริง ๆ แล้วภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นกับคนอายุน้อย ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายจนถึงขั้นเสียชีวิต เหมือนกับกรณีนี้ พ่อสูญเสียลูกชาย จากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งได้ออกมาโพสต์แชร์อุทาหรณ์ พร้อมเน้นย้ำให้รัฐบาลและโรงเรียนต่าง ๆ สนับสนุนการสอน CPR และมีเครื่อง AED

 

อุทาหรณ์ พ่อสูญเสียลูกชาย จากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 เพจเฟซบุ๊กชื่อดัง “Drama-addict” ได้ออกมาโพสต์อุทาหรณ์ของคุณพ่อท่านหนึ่ง ที่ได้ออกมาแชร์ว่าลูกชายตัวเองเสียชีวิตจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยในโพสต์ดังกล่าวได้ระบุว่า “สวัสดีครับจ่า ผมพึ่งสูญเสียลูกชายคนเดียว ในวัย 17 ปีไป จากการซ้อมกีฬาในโรงเรียน เนื่องจากหัวใจล้มเหลวกะทันหัน ผมเสียใจมาก ๆ ครับ

 

ผมอยากให้รัฐบาล รวมทั้งโรงเรียนต่าง ๆ สนับสนุนให้มีการเรียน CPR และรวมถึงให้รัฐบาลให้งบ หรือมีเครื่อง AED และออกซิเจน ประจำโรงเรียนจริง ๆ ครับ ถ้าวันนั้นที่โรงเรียนมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ลูกผมคงอาจจะมีโอกาสรอด ไม่ต้องรอรถพยาบาลตั้งครึ่งชั่วโมง สุดท้ายมันก็ไม่ทันการณ์จริง ๆ แต่ทางครู และโรงเรียนให้การช่วยเหลือผมดีมาก ๆ ครับ รวมถึงเพื่อนฝูงก็รักใคร่สามัคคีกันมากจริง ๆ

น้องเป็นเคสแรกของ รร.ตั้งแต่เปิดมา 15 ปี แกเสียตั้งแต่ในสนาม กว่าเจ้าหน้าที่จะมาก็ปั๊มไม่ขึ้นแล้วครับ ผมไม่โทษ รร.เลยนะครับ มันเป็นอุบัติเหตุ แต่แค่อยากให้รัฐบาลใส่ใจกับหาวิธีป้องกัน

 

ก็ฝากโรงเรียนต่าง ๆ ช่วยกันติดตั้ง AED ด้วยนะครับ มันจำเป็นมาก เพราะปกติเวลามีเคสแบบนี้ ถ้าเป็นการ CPR ปกติ เราจะมีโอกาสช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นตามปกติได้แถว ๆ 10-20% แต่ถ้ามี AED โอกาสช่วยชีวิตได้จะพุ่งไปถึง 50% ยิ่งเข้าถึงเครื่อง AED ได้ไว ยิ่งมีโอกาสรอดชีวิตสูง และสามารถเกิดเหตุแบบนี้ได้กับทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงคนสูงอายุ”

 

โดยในโพสต์ดังกล่าว ได้มีชาวเน็ตจำนวนมากเข้ามาแสดงความเสียใจและแสดงความคิดเห็นถึงกรณีนี้ พร้อมให้ความเห็นร่วมกันว่ารัฐบาลควรใส่ใจเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ เช่น “ฝากผู้มีอำนาจในบ้านเมือง ช่วยส่งเสริมผลักดันเรื่องนี้ด้วยนะคะ มันสำคัญและช่วยชีวิตคนได้จริง ๆ ค่ะ, แนะนำมาแทนวิชาลูกเสือเนตรนารีเลยครับ เอาเวลามาเรียนการช่วยชีวิตขั้นต้น, ตัวเองใช้เครื่องนี้ รักษาชีวิตให้รอดมามากกว่า 9 ครั้ง เครื่องนี้สำคัญมากจริง ๆ แค่ครั้งเดียว ช่วยชีวิตได้ คุ้มแล้วค่ะ” เป็นต้น

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ โรคที่มีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น หัวใจเต้นช้าผิดปกติในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ หรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติที่สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ และอีกชนิดที่พบ คือ กลุ่มที่มีอาการหัวใจเต้นสะดุด ซึ่งเกิดจากการที่ตำแหน่งบางตำแหน่งของหัวใจ มีการปล่อยสัญญาณไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติออกมา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นสะดุด

 

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในคนอายุน้อย

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกช่วงอายุ แต่สำหรับการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในคนอายุน้อย ๆ นั้น ส่วนมากมักเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเป็นความผิดปกติตั้งแต่เกิด อาจแสดงอาการในเวลาที่ต่างกัน ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการตั้งแต่เด็ก แต่อาจไม่เป็นบ่อยและไม่ทันสังเกต ซึ่งพออายุมากก็อาจเริ่มแสดงอาการออกมาจนเริ่มสังเกตได้และตรวจพบได้

นอกจากนี้ โรคหัวใจเต้นผิดปกติบางครั้งอาจไม่แสดงอาการออกมา ทำให้ผู้ป่วยหลายคนมีอาการ พอไปตรวจตามสถานพยาบาลแล้วไม่พบความผิดปกติ เพราะเวลาที่ไปตรวจความผิดปกตินั้นหายไปแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

พ่อสูญเสียลูกชาย

 

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับวิธีการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะให้กลับมาเต้นเป็นปกติ จะทำการรักษาด้วยยา ด้วยไฟฟ้า หรือใช้คลื่นวิทยุ ซึ่งการรักษาด้วยยานั้นจะคุมไม่ให้หัวใจเต้นเร็วจนเกินไป บางรายอาจต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือดร่วมด้วย ทั้งนี้ การรักษาผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามร่างกาย ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการรักษาอีกที อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป ทางที่ดีผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ความเครียด ยาบางชนิด กาแฟ และแอลกอฮอล์ เป็นต้น

 

รู้จักเครื่อง AED ทางเลือกเพื่อรอด

เครื่อง AED หรือ Automated External Defibrillator เป็นเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ โดยเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ โดยสามารถใช้รักษาด้วยการช็อกไฟฟ้า กระตุกหัวใจโดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบของการเต้นหัวใจที่ผิดจังหวะ เพิ่มโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่แบบปกติ

สำหรับวิธีการรักษานั้น เริ่มแรกผู้ช่วยเหลือต้องเปิดฝาเครื่อง AED และฉีกซองบรรจุอิเล็กโทรด โดยแผ่นอิเล็กโทรดจะมีอยู่ 2 ชิ้น ชิ้นแรกจะนำไปติดบนอกของผู้ป่วย ส่วนแผ่นที่สองติดกับอกตอนล่างของผู้ป่วย จากนั้นเครื่อง AED จะทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นหัวใจ ซึ่งขั้นตอนนี้ผู้ช่วยเหลือห้ามสัมผัสกับผู้ป่วยเด็ดขาด เมื่อเครื่องวินิจฉัยเสร็จแล้ว จะทำการช็อกไฟฟ้า ผู้ช่วยเหลือต้องกดที่ปุ่มช็อกตามสัญญาณที่ปรากฏบนเครื่อง และสลับกับการทำ CPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมา

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีปั๊มหัวใจ ทำ CPR ผายปอดที่ถูกต้อง เมื่อทารกหมดสติ ลูกหยุดหายใจ

 

พ่อสูญเสียลูกชาย

 

วิธีการทำ CPR เบื้องต้นเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต

การทำ CPR เป็นการช่วยเหลือผู้ที่หัวใจกำลังจะหยุดเต้นให้กลับมาเป็นปกติ ความสำคัญของการทำ CPR นั้นอยู่ที่การปั๊มหัวใจ ผู้ช่วยเหลือต้องทำให้ถูกต้องและทันเวลา เพราะหากสมองขาดออกซิเจนเกิน 4 นาที ก็อาจทำให้สมองเสียหายได้ ซึ่งวิธีการทำ CPR เบื้องต้น มีดังนี้

  1. ตรวจความปลอดภัยบริเวณรอบ ๆ ผู้ป่วย เช่น ของมีคม กระแสไฟฟ้า มีไฟ หรือสิ่งอันตรายอื่น ๆ ถ้าไม่ปลอดภัย ควรรอเจ้าหน้าที่กู้ภัยมาช่วยเหลือ
  2. หากสถานที่รอบผู้ป่วยปลอดภัยแล้ว และผู้ป่วยหมดสติ ให้ทำการตีไหล่แล้วเรียกด้วยเสียงดัง ๆ ประมาณ 4-5 ครั้ง หากผู้ป่วยรู้สึกตัวและหายใจเอาได้ ให้จับนอนตะแคง ไม่ควรทำ CPR ขณะผู้ป่วยยังมีสติอยู่
  3. หากผู้ป่วยไม่ได้สติจริง ๆ ให้รีบโทรแจ้ง 1669 และเจ้าหน้าที่กู้ภัย เพื่อแจ้งว่าผู้ป่วยหมดสติ หยุดหายใจ และนำเครื่อง AED มาด้วย
  4. เริ่มทำการกดหน้าอก จับผู้ป่วยนอนหงาย แล้ววางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก อีกมือหนึ่งประสานกันไว้ แล้วเริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ประมาณ 100-120 ครั้งต่อนาที
  5. ทำ CPR เรื่อย ๆ จนกว่าทีมแพทย์จะมา หากไม่เคยทำ CPR มาก่อน ให้กดหน้าอกเพียงอย่างเดียวไปเรื่อย ๆ หากเคยทำ CPR มาแล้ว อาจกดหน้าอกสลับกับการผายปอดช่วยหายใจ โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง

 

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจดูความผิดปกติของลูกอยู่เสมอ หากลูกมีอาการผิดปกติบริเวณหัวใจ ให้รีบพาไปตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ถ้าหากลูกมีอาการหมดสติจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คุณพ่อคุณแม่ควรทำ CPR ทันที และให้รีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่กู้ภัยโดยเร็วที่สุด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคหัวใจโตในเด็ก และโรคหัวใจในผู้ใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม

การทำบอลลูนหัวใจ ทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคหัวใจ ทำอย่างไร?

หัวใจวายมีอาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาหรือไม่ รวมความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจวาย

ที่มา : Drama-addict, sukumvithospital.com, paolohospital.com, bangpakok3.com, bangkokpattayahospital.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sittikorn Klanarong

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • อุทาหรณ์ พ่อสูญเสียลูกชาย จากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ย้ำให้รร.มีเครื่อง AED
แชร์ :
  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

  • ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

    ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

powered by
  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

  • ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

    ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ล่าสุด Philips Future Health Index 2025 พบความล่าช้าและการเสียโอกาสในการรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเร่งปรับใช้เทคโนโลยี AI

  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว