เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Pattamaporn Chandrabhaya ซึ่งเป็นคุณแม่รายหนึ่งได้ออกมาโพสต์แชร์อุทาหรณ์ หลังลูกสาวกิน ขนมผสมกัญชา ที่ซื้อมาจากตลาด จนต้อง admitted ห้อง ICU เมื่อวันที่ 12 พ.ค. โดยคุณแม่ได้เล่าว่า วันนั้นใช้ชีวิตปกติกันมาก อัณณา (ลูกสาว) เรียนภาษากับคุณครูเหมือนทุก ๆ วัน หลังเรียนเสร็จก็จะไปส่งคุณครูที่ตลาดบางใหญ่ และในทุก ๆ ครั้งจะแวะซื้ออาหาร ขนม ไปกินกันต่อที่บ้านคุณยาย นี่คือกิจวัตรที่ทำกันประจำ ใครจะคิดว่าครั้งนี้เกือบเป็นครั้งสุดท้ายที่เราจะมีกัน 4 คนพร้อมหน้า
ซึ่งคุณแม่ได้แชร์เรื่องราวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ลูกสาวได้กินขนมโตเกียวไปเมื่อประมาณ 2 ทุ่ม และเข้านอนช่วงเกือบ 5 ทุ่ม แต่คืนนั้นจู่ ๆ น้องอัณณาก็กอดคุณแม่แน่นแล้วพูดว่า “หม่ามี๊จ๋าหนูคิดว่าหนูไม่ไหว” ในตอนแรกคุณแม่คิดว่าน้องอึดอัดจากการที่คุณแม่ให้ดื่มนมก่อนนอนเยอะเกินไป ตนจึงนำลูกสาวขึ้นมานั่งกอดเพื่อให้ย่อยได้เร็วขึ้น สักพักลูกสาวก็ได้ถามหาคุณพ่อ ซึ่งคุณแม่เริ่มเอะใจแล้ว เพราะในทุกครั้งที่ลูกสาวรู้สึกไม่ปลอดภัยน้องจะชอบเรียกหาพ่อ จากนั้นกี่นาทีถัดมา น้องอัณณาพูดว่า “I have to go to hospital now” เมื่อแม่สังเกตอาการก็พอเดาได้แล้วว่าลูกสาวน่าจะไม่ไหวจริง ๆ เพราะปกติน้องกลัวหมอมาก พอเดินทางไปถึงโรงพยาบาล คุณหมอก็เห็นชีพจรของน้องอ่อนลงจึงได้ admitted ห้อง ICU
ในวันถัดมา คุณหมอให้ความเห็นว่าน้องเป็นอาการช็อกฉับพลันจากแพ้อาหาร แต่ไม่มีผื่นแพ้ให้เห็น หรืออาจเกิดจากสารพิษ ซึ่งทาง รพ. ได้ส่งไปที่สถาบันพิษวิทยาก็ไม่พบสารพิษ จึงสันนิษฐานว่าเกิดจากขนมผสมกัญชา เพื่อให้ลูกค้าติดใจ โดยไม่ได้แจ้งว่าเป็นขนมเฉพาะ เพราะอาการของน้องคล้ายคนเสพยาเกินขนาด มีอาการต่อระบบหายใจ และหัวใจโดยตรง ซึ่งทางคุณพ่อเองก็ให้น้ำหนักไปทางสารเสพติด เพราะของกินอย่างเดียวที่อัณณากินไม่เหมือนคนอื่นก็คือ ขนมโตเกียว คุณหมอแจ้งได้แจ้งกับทางครอบครัวว่า ถ้าจะตรวจสารเสพติดต้องภายใน 4 ชม. หลังได้รับสาร เราจึงได้แค่สงสัยไม่อาจมีหลักฐานไปเอาผิดกับร้านได้
คุณแม่จึงได้มาบอกเล่าแชร์เป็นอุทาหรณ์ฝากแม่ ๆ ทุกบ้าน ให้ระวังเรื่องอาหารการกินของเด็ก ๆ ให้ดี บางบ้านอาจจะต้องดูด้วยว่าลูกแพ้อะไรไหม เราต้องระวังให้ลึกไปอีกถึงว่า ร้านจะใส่สารเสพติดในอาหารด้วยหรือเปล่า แม้จะใส่ในปริมาณน้อยก็ต้องระวัง เพราะร่างกายของเด็ก ๆ ยังไม่สามารถรับฤทธิ์จากสารเหล่านี้ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้ก่อนปลอดภัยก่อน!! อาหารจากกัญชา ให้โทษหรือมีประโยชน์กันแน่
เงื่อนไขที่ร้านค้าควรทำเมื่อขาย ขนมผสมกัญชา
- ควรจัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชาให้ชัดเจน
- แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมดให้ผู้บริโภคทราบ
- แสดงปริมาณการใช้ใบกัญชา เป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหาร
- แสดงข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในการบริโภคอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ
- บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา อย่างเช่น ขนม อาหาร และเครื่องดื่มต่าง ๆ
- สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตรไม่ควรรับประทานอาหารที่มาจากกัญชา
- หากทานแล้วมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที
- สำหรับผู้ที่แพ้หรือไวต่อสาร THC หรือ CBD ไม่ควรรับประทาน
- การทานอาหารที่มีส่วนผสมจากกัญชา อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
คำแนะนำก่อนบริโภคกัญชา
ปัญหาการรับสาร THC เกินขนาดจากการกินอาหารหรือขนมที่มีส่วนผสมของกัญชา โดยทั่วไปฤทธิ์ของผู้บริโภคก็คือ ต้องการรู้สึกถึงอาการเคลิ้ม ๆ เมา ๆ ซึ่งถ้ามันมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการเห็นภาพหลอน ทำให้รู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิด ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รู้ตัว หรือบางรายอาจมีอาการใจสั่น มึนหัว คลื่นไส้ได้
ฤทธิ์ที่เจอบ่อย ๆ ก็คือ ชีพจรเต้นเร็ว ปกติคนเราชีพจร 60-100 แต่เมื่อได้รับ THC เกินขนาด ชีพจรจะเร็วเกือบสองเท่าของพื้นฐาน คือ 150-180 ครั้งต่อนาที ยิ่งกับกลุ่มที่มีโรคหัวใจเดิมอยู่แล้ว จะไม่สามารถทนกับอัตราขนาดนี้ได้ อีกกลุ่มอาการที่พบก็คือ ความดันแกว่ง ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อของตัวเองได้ ทำให้ไม่สามารถทรงตัวได้ และมีอาการล้มหมดสติ หากเริ่มมีอาการผิดปกติเหล่านี้ ไม่แนะนำให้รอ ให้รีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะฤทธิ์กัญชาจากการบริโภคมีฤทธิ์นาน ต่างจากการสูบที่เพียง 1-2 ชม. ฤทธิ์จะหมดแล้ว
สำหรับคำแนะนำก่อนบริโภค สำหรับผู้ต้องการลองใช้ทาง ผศ.นพ.สหภูมิ แนะนำให้ตรวจสอบร้านที่ได้มาตรฐาน มีน่าเชื่อถือ และให้สั่งเมนูมาตรฐาน เพราะได้รับอนุญาตมาให้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้แล้ว ไม่ใช้ช่อดอก ส่วนการบริโภคขนม ต้องทราบที่มาและปริมาณของกัญชาที่ใส่ให้ชัดเจนก่อนกินด้วยค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เด็กพี้กัญชา เด็กน้อยจับกลุ่มพี้กัญชา ริมหาดพัทยา มีครบทั้งบ้องทั้งไฟแช็ก
น่าเป็นห่วงไหม เมื่อแม่ท้องใช้กัญชาเยอะขึ้น
กัญชง คืออะไร ดีต่อผิวอย่างไร กัญชงแตกต่างกับกัญชาอย่างไร ??
ที่มา :
mgronline.com
bbc.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!