X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่ท้องกินกัญชาได้ไหม แม่ให้นมลูกกินกัญชาได้ไหม จะส่งผลต่อลูกน้อยหรือไม่ ?

บทความ 5 นาที
แม่ท้องกินกัญชาได้ไหม แม่ให้นมลูกกินกัญชาได้ไหม จะส่งผลต่อลูกน้อยหรือไม่ ?

ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 มีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เรื่องปลดล็อกพืชกัญชาพ้นบัญชียาเสพติด นอกจากนี้กฎหมายยังระบุว่า ห้ามจำหน่ายให้สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หลังประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ กัญชาจะไม่มีสถานะเป็นพืชเสพติดอีกต่อไป ความผิดฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออก มีไว้ในครอบครอง จำหน่าย มีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ หรือเสพพืชกัญชา ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ต้องยกเลิก การใช้กัญชา รวมถึงการสูบก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายยาเสพติด ผู้ที่ต้องการปลูกกัญชา กัญชง สามารถปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าแล้วแบบนี้ แม่ท้องกินกัญชาได้ไหม จะเป็นอันตรายหรือไม่ จะส่งผลเสียหรือผลดีต่อลูกน้อยมากกว่ากัน เราหาข้อมูลมาให้แล้วค่ะ

 

แม่ท้องกับกัญชา แม่ท้องกินกัญชาได้ไหม

การใช้กัญชาระหว่างตั้งครรภ์อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกได้ เพราะสารเคมีในกัญชา (โดยเฉพาะ tetrahydrocannabinol หรือ THC) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ผู้ใช้กัญชารู้สึกเคลิบเคลิ้ม มึนเมา จะส่งผ่านระบบในร่างกายของคุณแม่ไปยังทารก และอาจเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของทารก แม้ว่ายังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจว่ากัญชาจะส่งผลต่อคุณและทารกในระหว่างตั้งครรภ์อย่างไร แต่ขอแนะนำว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรใช้กัญชาในทุกกรณีค่ะ

งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การใช้กัญชาในขณะตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในทารกแรกเกิด รวมถึงน้ำหนักแรกเกิดที่ลดลง และพัฒนาการทางระบบประสาทที่ผิดปกติ นอกจากนี้การหายใจรับควันกัญชาก็อาจส่งผลเสียต่อคุณแม่และลูกน้อยได้เช่นกัน ควันกัญชามือสองประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นพิษ และก่อให้เกิดมะเร็งหลายชนิดที่พบในควันบุหรี่ (THC) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางจิตซึ่งอาจส่งผ่านไปยังทารกผ่านการสูบบุหรี่มือสองได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้ก่อนปลอดภัยก่อน!! อาหารจากกัญชา ให้โทษหรือมีประโยชน์กันแน่

 

วิดีโอจาก : CH7HD News

 

ใช้กัญชาระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลต่อพัฒนาการทารกหลังคลอดหรือไม่ ?

แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ยังคงศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของกัญชาต่อพัฒนาการของสมอง แต่การศึกษาแนะนำว่าการใช้กัญชาโดยคุณแม่ตั้งครรภ์อาจเชื่อมโยงกับปัญหาด้านความสนใจ ความจำ ทักษะการแก้ปัญหา และพฤติกรรมของเด็ก ๆ ได้ในภายหลัง

 

ผลกระทบของกัญชาต่อทารกในครรภ์

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ทารกน้ำหนักน้อย
  • อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะตายคลอด
  • พัฒนาการทางระบบประสาท และสมองไม่สมบูรณ์

 

ผลกระทบต่อแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

  • ปอดจะไม่แข็งแรงเพราะควันจากกัญชา
  • คุณแม่อาจจะเวียนหัว จนลื่นล้ม เกิดอุบัติเหตุได้
  • ระดับออกซิเจนลดลง

 

การใช้กัญชาระหว่างให้นมลูก

แม้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กัญชาระหว่างให้นมบุตร รายงานจากรัฐโคโลราโด (สหรัฐอเมริกา) เปิดเผยว่า 4% ของมารดาที่อายุน้อยกว่าหรือแก่กว่า 30 ปีเป็นผู้ใช้กัญชา จากประชากรกลุ่มนี้ 18% ใช้กัญชาระหว่างให้นมลูก เนื่องจากการออกกฎหมายการใช้กัญชาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และทางการแพทย์ สัดส่วนของผู้หญิงที่ให้นมบุตรที่ใช้กัญชาจึงเพิ่มขึ้นอย่างกังวลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าผู้หญิงบริโภคกัญชาแบบเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการวินิจฉัยโรคการใช้กัญชา (CUD) ที่ไม่ลดลงในระหว่างการให้นม

สาร THC จึงส่งผ่านไปยังน้ำนมแม่ได้อย่างง่ายดาย รายงานการมีอยู่ของสาร THC ในนมแม่เผยแพร่โดย Pérez-Reyes et al  ซึ่งตรวจพบความเข้มข้นของสาร THC ของนมในสตรีที่สูบกัญชาระหว่างให้นมลูก สูงถึง 7.5 เท่าของความเข้มข้นของ THC ในพลาสมา

 

แม่ท้องกินกัญชาได้ไหม 10

 

การใช้กัญชามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ ?

ผลกระทบด้านสุขภาพจากการใช้กัญชาของผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สารเคมีจากกัญชาสามารถส่งผ่านไปยังทารกได้ทางน้ำนมแม่ สาร THC ถูกเก็บไว้ในไขมันในร่างกาย และถูกปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ เมื่อเวลาผ่านไป หมายความว่า ทารกยังคงได้รับสาร THC ถึงแม้จะหยุดใช้กัญชาแล้วก็ตาม ดังนั้น บุคคลที่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงการใช้กัญชาทั้งหมด

การใช้สารเสพติดเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของทั้งแม่และเด็ก แต่อย่างไรก็ตาม กัญชายังสามารถใช้ในการบำบัดได้อีกด้วย ที่จริงแล้ว กัญชาทางการแพทย์สามารถใช้ได้กับการลดอาการปวดหลังผ่าตัด จนถึงตอนนี้ การใช้กัญชาทางการแพทย์นี้ถูกกฎหมายในบางประเทศเท่านั้น เช่น แคนาดา เบลเยียม ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ สเปน และบางรัฐของอเมริกาเหนือ การใช้งานนี้ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์

ยังมีรายงานอีกว่า กัญชาอาจส่งผลต่อคุณภาพ และปริมาณน้ำนมแม่ จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่ากัญชาสามารถยับยั้งการหลั่งน้ำนมได้ โดยการยับยั้งการผลิตโปรแลคติน และส่งผลโดยตรงต่อต่อมน้ำนมแม่ ซึ่งมีความเสี่ยงในการผลิตน้ำนม

 

ผลข้างเคียงของกัญชาต่อทารก

ผลกระทบของการบริโภคกัญชาระหว่างให้นมบุตรต่อสุขภาพ และพัฒนาการของทารก สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าทารกแรกเกิดอาจได้รับกัญชาในระหว่างตั้งครรภ์ด้วย ดังนั้นผลกระทบที่สังเกตพบในทารกระหว่างให้นมลูกจะเป็นผลรวมมาตั้งแต่ในครรภ์ ยิ่งไปกว่านั้น กัญชามักถูกผสมกับยาสูบ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาสูบต่อทารกด้วย

สาร THC สามารถสะสมในน้ำนมแม่ได้ในระดับความเข้มข้นสูง และทารกที่ได้รับกัญชาผ่านทางน้ำนมแม่จะขับสาร THC ออกทางปัสสาวะในช่วง 2 ถึง 3 สัปดาห์ กัญชาสามารถทำให้ทารกเจริญเติบโตช้า

การใช้กัญชาโดยมารดาที่ให้นมบุตรต่อพัฒนาการของลูก ในการศึกษาครั้งแรก ไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญในแง่ของการหย่านม การเจริญเติบโต และการพัฒนาจิตใจหรือการเคลื่อนไหวตามอายุ แต่การศึกษาครั้งที่สองพบว่าการได้รับกัญชาผ่านน้ำนมของแม่ในช่วงเดือนแรกหลังคลอด มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของการเคลื่อนไหวในทารกที่ลดลงเมื่ออายุได้ 1 ขวบ ทารกที่ได้รับกัญชานานกว่าครึ่งวันในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์หรือเดือนแรกของการให้นมบุตรมีคะแนนดัชนีพัฒนาการทางจิตเฉลี่ยต่ำกว่าทารกที่ไม่ได้รับกัญชา

 

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการใช้กัญชาอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากสามารถเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ ทารกหลังคลอด และตัวคุณแม่เองด้วยนะคะ หากต้องการใช้กัญชาจริง ๆ เนื่องจากต้องการรักษาทางการแพทย์ควรปรึกษาคุณหมอก่อนจะดีที่สุดนะคะ เพราะการใช้กัญชาในคุณแม่ท้อง และคุณแม่ที่ให้นมลูกนั้นส่งผลเสียต่อเด็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงแท้ง ควันบุหรี่อาจทำร้ายลูกน้อยของคุณ !

ลูกหลอดลม ปอดติดเชื้อ จากควันบุหรี่ สารเคมีอันตรายตกค้างจากบุหรี่ ติดที่เสื้อ ติดตัวพ่อ บุหรี่มือสาม อันตราย

น่าเป็นห่วงไหม เมื่อแม่ท้องใช้กัญชาเยอะขึ้น

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Patteenan

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • แม่ท้องกินกัญชาได้ไหม แม่ให้นมลูกกินกัญชาได้ไหม จะส่งผลต่อลูกน้อยหรือไม่ ?
แชร์ :
  • โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

    โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

  • ขนาดท้องคนท้อง บ่งบอกอะไรได้บ้าง ทำไมคนท้องแต่ละคนมีขนาดท้องไม่เท่ากัน

    ขนาดท้องคนท้อง บ่งบอกอะไรได้บ้าง ทำไมคนท้องแต่ละคนมีขนาดท้องไม่เท่ากัน

  • คนท้องกินข้าวโพดอบเนยได้ไหม ข้าวโพดคลุกเนย กินไม่พอดีเสี่ยงหลายอย่าง

    คนท้องกินข้าวโพดอบเนยได้ไหม ข้าวโพดคลุกเนย กินไม่พอดีเสี่ยงหลายอย่าง

  • โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

    โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

  • ขนาดท้องคนท้อง บ่งบอกอะไรได้บ้าง ทำไมคนท้องแต่ละคนมีขนาดท้องไม่เท่ากัน

    ขนาดท้องคนท้อง บ่งบอกอะไรได้บ้าง ทำไมคนท้องแต่ละคนมีขนาดท้องไม่เท่ากัน

  • คนท้องกินข้าวโพดอบเนยได้ไหม ข้าวโพดคลุกเนย กินไม่พอดีเสี่ยงหลายอย่าง

    คนท้องกินข้าวโพดอบเนยได้ไหม ข้าวโพดคลุกเนย กินไม่พอดีเสี่ยงหลายอย่าง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ