หลายวันมานี้เราอาจได้เคยผ่าน ๆ ตากับ อาหารจากกัญชา หรืออาหารที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม ถูกแชร์ต่อ ๆ กันอยู่จำนวนมากในโลกโซเชียล แต่ก่อนจะไปลองชิม มาศึกษาข้อมูลจากคุณหมอก่อนว่า อาหารจากกัญชา ให้คุณหรือมีโทษกันแน่
เมื่อรัฐบาลประกาศ ให้กัญชาซึ่งในสมัยก่อนถือว่าเป็นพืชที่ให้โทษ และผิดกฎหมาย แต่เนื่องจากตัวของกัญชา มีสรรพคุณให้ให้ผลดี มากกว่าให้โทษ ทั่วทั้งโลกจึงเริ่มรณรงค์ ให้พืชชน ดนี้กลับมาถูกกฎหมาย และเมื่อสิ่งที่เึคยผิดกฎหมาย นำมาเปลี่ยนให้ถูกกฎหมาย จึงมีผู้คนเริ่มคิดนำกัญชามาเป็นส่วนผสม ในอาหาร ซึ่ีงแท้ที่จริงแล้ว าสรรพคุณของกัญชานั้น ให้คุณหรือให้โทษกันแน่ หากนำมาเป็นส่วนประกอบอาหาร วันนี้มีคุณหมอมาแนะนำ
Hemp food in1
ดร.ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทย และสมุนไพร ให้ข้อมูล ถึงกระแสที่เริ่มมีร้านอาหารนำ กัญชา มาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ซึ่งคุณหมอบอกว่า กัญชา ณ วันนี้ ส่วนที่ปลดออกจากรายการยาเสพติด มีใบ ราก ลำต้น ซึ่ง รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ศึกษา และเก็บรวบรวมความรู้ เรื่องของการใช้สมุนไพรของคนในท้องถิ่นอยู่แล้ว และพบว่าส่วนที่นำมาใช้ปรุงอาหาร ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นส่วนของใบเพียงอย่างเดียว และยังในใช้ปริมาณที่ไม่มาก
จากที่สืบค้น และเก็บข้อมูลจากหมอพื้นบ้าน โดยเฉพาะพื้นที่ที่ห่างไกล ในสมัยก่อน กัญชา เป็นพืชที่ขึ้นง่าย ปลูกง่าย และสามารถได้ทั่วไปในประเทศ เวลาจะใช้เพื่อนำไปปรุงอาหาร มักจะใช้ในส่วนของยอดอ่อน และจะใช้ประมาณ 1-3 ยอด เท่านั้น ไม่เกินนี้ ใส่ลงไปเป็นส่วนประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็น อาหารจำพวกแกง เพื่อทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น ผู้ทานจะมีความเจริญอาหารมากกว่าปกติ แลฃะยังทำให้่นอนหลับได้ดี อีกด้วย
การใช้สรรพคุณของกัญชาในลักษณะนี้ เป็นส่วนหนึ่งขอวิธีการใช้รักษาผู้ป่วย ในหมอพื้นบ้านอีกด้วย แต่ลักษณะของการใช้รักษาผู้ป่วย ของหมอพื้นบ้าน จะเน้นในแบบขององค์รวมมากกว่า คือ นอกเหนือจากการให้ยา หมอพื้นบ้าน ก็จะดูด้วยว่าคนไข้สาามารถทานรอาหารได้หรือ นอนหลับได้เป็นปกติหรือไม่ ซึ่งการกินอิ่ม และนอนหลับ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่บางครั้งหากผู้ป่วย ไม่ค่อยเจริญอาหาร ก็จะมีการจ้่ายยา ซึ่งมีส่วนผสมของใบกัญชาอยู่เล็กน้อย หรือแนะนำให้คนไข้ทานอาหาร ที่ใส่กัญชาลงไปเป็นส่วนผสมเล็กน้อย เพื่อให้ผู้ป่วยความอยากอาหารเพิ่มขึ้น พอคนไข้กินข้าวได้ นอนหลับดี ผลการรักษาก็จะดีตามไปด้วย
2Hemp food
ใครบ้างที่สามารถกินอาหารที่มีส่วนผสมของใบกัญชาได้หรือควรหลีกเลี่ยง?
ดร.ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เสริมเพิ่มเติมว่าหลังจากที่ได้ ทราบข้อมูลจากทางหมอพื้นบ้านแล้ว ทางเรา.ซึ่งได้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่แล้ว ก็ได้นำขจ้อมูลทีร่ได้ในปัจจุบัน ซึ่งระบุว่า กัญชา ที่เป็นส่วนของใบ ก็มีแร่ธาตุเหมือนกับพืชทั่ว ๆไป แต่อาจจะมีโซเดียมในปริมาณที่เยอะกว่า เพราะฉะนั้นเวลาทานอาหารที่มีใบของกัญชาเป็นส่วนประกอบ มักทำผู้บริโภคหลายคนมีอาการข้างเคียงคือ หิวน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง และยังพบว่าในใบกัญชามี glutamate acid
และจากการศึกษายังพบว่าในใบกัญชามีสาร glutamate acid เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารนี้ก็คือส่วนประกอบ ที่ช่วยทำให้เกิดรสกลมกล่อม ในผงชูรสนั่นเอง นับๆได้ว่า นี่เป้นความฉลาดของคนไทยในการดัดแปลงในเรื่องการาประกอบอาหาร
ในส่วนของเรื่องของการนำใบกัญชา มาใช้เป้นส่วนหนรึ่งในการดูแลสุขภาพ หลังจากการศึกษายังพบอีกว่าในกัญชา มีสารสองชนิดคือ THC คือสารเมา และ CBD สารไม่เมา ซึ่งทั้งสองชนิดนี้หากร่างกายได้รับในปริมาณสูง จะสามารถใช้เป็นยาได้เลย แต่หากใช้ปริมาณน้อย จะทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น อีกทั้งก็จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความกระฉับกระเฉง
ในบางประเทศ ที่ได้รับการอนุญาต ให้นำสารสกัดต่าง ๆ จากกัญชา มาเป้นส่วนยประกอบในอาหารได้ ก็จะมีการนำสารนั้น ไปเป็นนส่วนประกอบของ ช็อกโกแลตบ้าง น้ำผึ้งบ้าง หรืออะไรก็ตาม ที่ทานง่าย เนื่องจาก คนที่เพิ่งเริ่มทานใหม่ ๆ จะต้องทานปริมาณที่น้อยมาก ๆ ดังนั้น จึงอยากจะเตือนผู้บริโภค เนื่องวจากในต่างประเทศ ไม่ได้มีการใช้ใบกัญชาเ้ป็นส่วนประกอบ แต่ทำไมในบ้านเรา จึงมีการใช้ใบเป็นส่วนผสม
ที่ รพ.อภัยภูเบศร มีการเพาะฟาร์ม กัญชา ซึ่งปลูกเพื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาผู้ป่วย และอีกส่วนก็จะเป็นการวิเคราะห์สารที่อยู่ในใบกัญชา ซึ่งพบว่าใน 1 ใบกัญชา มีสาร THC อยู่ประมาณ 0.5 – 1 % หรืออย่างมากก็ราว ๆ 1.2 มิลลิกรัม เท่านั้น ซึ่งหากนำไปเทียบกับของแคนาดา หรือเนเธอร์แลนด์ กลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มใช้กัญชามาเป็นส่วนประกอบในอาหาร จะมีการใช้ในปริมาณ 1 มิลลิกรัม หรือ ประมาณ 1-2 ใบ
3Hemp food
โดยปกติแล้ว ในแคนาดาจะมีการกำหนดไว้ว่า ถ้าวเอาสารสกัดมาใส่ในอาหาร เช่น ขนม หรือของกินเล่น ก็จะให้ใส่ได้ประมาณไม่เกิน 10 มิลลิกรัม หรือประมาณ 5 – 10 ใบ
โดยข้อมูลที่ได้นี้ ไปใกล้เคียงกับโบราณที่บอกว่า ในหนึ่งวัน ควรจะบริโภคไม่เกิน 5- 8 ใบ และไม่จำเป็นต้องบริโภคทุกวัน เนื่องจากไม่ได้มีผลต่อการรักษาโรคนั้น ๆ เนื่องจากปริมาณที่ใช้ ไม่ได้มีความเข้มข้นสูงมาก
แต่หากจะมองในเรื่องของสารที่อาจจะเป็นอันตราย หรือให้โทษต่อร่างกายนั้น ผลจากการวิจัย ไม่ได้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าใน 1 วัน การบริโภคเท่าไร จึงจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และร่างวกาย หรือทำให้เกิดภาวะเสพติด เพราะฉะนั้นในวขณะที่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอนี้ จึงไม่แนะนำให้เยาวชนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี บริโภค เนื่องจากสมองยังมีการพัฒนาไม่เต็มที่
มีการศึกษาที่บอกว่า THC อาจทำให้การ ไปยับยั้ง หรือชะลอการพัฒนาการของสมอง แต่ในส่วนแม่ที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ณ ตอนนี้ ยังไม่มีข้อมูลว่า มันสารต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบจากกัญชานั้น สามารถซึมผ่านรก หรือว่าผ่านน้ำนมออกมาได้หรือไม่
ส่วนกลุ่มที่เป็นผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับ ไต และหัวใจที่ไม่ปกติ หากบุคคลในกลุ่มนี้ได้บริโภคกัญชา เข้าไป สารประกอบในสกัญชาจะมีการปลี่ยนแปลง เป็นสารอีกตัวอื่นที่ตับ ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกดี่ยวกับตับร่วมอยู่ด้วยแล้ว จะทำให้ ตับเกิดการทำงานหนักขึ้น หรืออาสจจจะต้องผ่านการกรองที่ไต ซึ่งในปัจจุบัน ข้อมูลในส่วนนี้ยังมีน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อการนำมาเป้นข้อยืนยันได้ว่า สารประกอบในกัญชา จะเป็นยารักษาได้นั่นเอง รวมทั้ง THC ถ้าใช้ในคนไข้ที่มีภาวะหัวใจการทำงานไม่คง มีการใบช้ THC ในประมาณมทก ก็มีโอกาสเสื่องจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ และกลุ่มสุดท้าย คือกลุ่มคนไข้ ที่ทานยาที่มีผลต่อสมอง ในกลุ่มนี้ทางแพทย์ แนะว่าเป็นกลุ่มที่ไม่แนะนำ หรือว่าควรหลีกเลี่ยงในการบริโภคกัญชาส หรือยาที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบในตัวยา
สุดท้าย ดร.ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว ฝากประชาสัมพันธ์ ถึงผู้ประกอบการหรือร้านค้า ร้านอาหารที่ขจะนำใบกัญชา มาเป็นส่วนประกอบว่า ในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ ทาง รพ.อภัยภูเบศร ซึ่วงมองถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค้เป็นหลักนั้น ยังไม่แนะนำให้มีการใช้กัญชา มาเป้นส่วนประกอบในอาหาร หรือแม้เแต่เป็นยารักษาโรค เนื่องจากข้อมูลบที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอ และอาจจะมีคนบางกลุ่มที่บริโภคกัญชาเข้าไปแล้วอาจเกิด อาการแพ้รุนแรง ซึ่งจะส่งผลให้พิการ หรือเสียชีวิตได้
4Hemp food
แต่หากบุคคลมีการใช้อยู่ก่อนหน้าแล้วประมาณ ไม่ตำ่กว่้า 3-5 ปี ร่างกายจะยอมรับ และวจะปลอดภัยมากกว่าผู้บริโภคใหม่
ดังนั้น ในการนำกัญชามมมารักษาโรค หรือแม้แต่ประกอบอาหาร จึงควรค่อยเป็น ค่อยไป รอให้มีกาสรวิจัออกมาให้แน่ว่าปลอดภัยชัดก่อนจะดีกว่า
อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้มีการบังคับร้านค้า หรือร้าานอาหาร ที่จะนำกัญชามาเป็นส่วนผสมของอาหาร แต่หากผู้ใดมีความประสงค์ที่จะนำกัญชามาเป็นส่วนประกอบ จะต้องได้รับการอบรมหรือให้ความรู้ จากทางกระทรวงสาธารณสุขก่อนจะดีที่สุด การศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจะช่วยให้เราทราบถึงวข้อดี และข้อเสียของกัญชาต่อไป
และหากท่านใดที่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมทาง รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ก็ได้ทีการร่วมมอื กับสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จะจัดอบรมให้ในงานมหกรรม กัญชา และ กัญชง 360 องศา ที่ จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 5-7 มี.ค. 64 นี้ โดยท่านใดที่สนใจสามารถมาอบรมได้ แต่หากไม่สะดวกที่จะเดินทางไปร่วมอบรม ทาง รพ.อภัยภูเบศร ก็ได้มีการจัดทำ คู่มือแบบออนไลน์ไว้ให้ สามารถดาวน์โหลดเพื่อศึกษาเองได้
รู้แบบนี้แล้ว ใครที่สนใจอาหารทีี่มีส่วนผสมของ กัญชา ควรศึกษาข้อมูลให้ดี และที่สำคัญ กัญชา ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ปลูกได้อย่างเสรี ตามท่ี่ทราบตามข่าว โดยผู้ที่จะปลูกได้นั้นต้องมีการขออนุญาตปลูกในรทางการแพทย์ และเพื่อประโยชน์เท่านั้น และจะต้องมีการลงทะเบียนต้นกัญชา ในทุกๆ ต้น อีกด้วย ดังนั้น ใครที่ว่าจะหากัญชามาปลูกนั้น ควรพักโปรเจคเอาไว้ก่อนจะดีกว่า ซึ่งกมารปลูกในลักษณะดังกล่าวนั้น ยังถือว่าผิดกฎหมายอยู่
ที่มา : www.ejan.co
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
ภาวะ โภชนาการของมารดา ที่ให้นมบุตร / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 61
บำรุงน้ำนมก่อนคลอด ด้วยเครื่องดื่มสมุนไพรทำเอง ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน
คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง อาหารที่คนท้องห้ามกิน กินแล้วอันตรายต่อลูก!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!